นอกจากบ้านที่ได้รับการออกแบบมาอย่างสวยงามแล้ว แสงสว่างก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้บ้านของเราสวยงามน่าอยู่มากขึ้น วิธีเลือก ไฟแต่งห้อง ในบ้าน มีวิธีใช้หลายรูปแบบและยังช่วยปรับอารมณ์ให้ห้องแต่ละห้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน และสิ่งสำคัญ “แสงสว่าง” จะทำให้เรามองเห็นทุกอย่างได้ชัดเจน ป้องกันการสะดุด หกล้ม เตะตู้ หรือแม้แต่ช่วยให้เราแต่งหน้าได้ไม่พลาดหากเลือกใช้หลอดไฟถูกประเภท
สารบัญ
โทนสีของหลอดไฟ
1. แสง Warm White
Warm White มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 – 3,300 เคลวิน ให้แสงในโทนส้ม ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น ผ่อนคลาย เป็นกันเอง โดยการเลือกหลอดไฟชนิดนี้เหมาะนำไปใช้ในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ เพราะจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับห้อง ข้อควรระวังคือ การเลือกหลอดไฟที่ให้แสง Warm White จะทำให้สีที่สะท้อนกลับมาผิดไปไม่ตรงตามความจริงได้ เช่น เห็นเสื้อสีขาวเป็นสีนวล หรือทำให้การแต่งหน้ามีสีที่ผิดเพี้ยนไปได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการนำไปติดตั้งในบริเวณสำหรับกิจกรรมที่ต้องการเห็นค่าสีของวัตถุที่ถูกต้อง
– แสงโทนสีแดงอมส้ม เป็น ไฟแต่งห้อง ที่นิยมใช้สร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย
– แสง Warm White เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ทำให้สีของวัตถุผิดเพี้ยน
– นิยมใช้ในห้องนั่งเล่น ห้องนอนให้ความรู้สึกนุ่มนวล อบอุ่น ชวนพักผ่อน
2. แสง Cool White
Cool White มีอุณหภูมิสี 4,000 เคลวิน อยู่ระหว่างแบบ Warm White และ Daylight White แสงที่ได้จะเป็นสีค่อนข้างขาว และเป็นสีโทนเย็น ซึ่งมองแล้วให้ความสบายตา หลอดไฟประเภทนี้นิยมใช้กันในร้านค้า เพื่อช่วยให้สีสันของสินค้าดูสดใสกว่าความเป็นจริง
– แสงโทนสีขาวอยู่ระหว่างแสง Daylight กับแสง Warm White
– เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ให้ความรู้สึกทันสมัย สว่าง สะอาด
– ใช้กับห้องที่ต้องการความสดใส เช่น ห้องทำงาน
3. แสง Daylight
Daylight White มีอุณหภูมิสี 6,000 – 6,500 เคลวิน โทนสีนี้ถือเป็นสีมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้สีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ จึงไม่ทำให้สีของวัตถุที่สะท้อนกลับมาผิดเพี้ยน แสง Daylight White ยังสามารถใช้ได้กับทุกที่ที่ต้องการความสว่างสดใส ถ้าหากเลือกไปใช้เป็นหลอดไฟในบ้าน ความสว่างสดในของโทนแสงจะสามารถช่วยกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้มากยิ่งขึ้น
– แสงโทนสีขาวอมฟ้า เป็น ไฟแต่งห้อง ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด
– คล้ายแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน จึงได้ค่าสีไม่เพี้ยน
– ใช้กับบริเวณที่ต้องการเห็นรายละเอียดชัดเจน เช่น โต๊ะแต่งหน้า โต๊ะทำงานฝีมือ
4. เนเชอรัลไวท์ (Natural white)
เป็น ไฟแต่งห้อง โทนสีธรรมชาติกลางๆ โทนแสงช่วงเดียวกับแสงในเวลากลางวัน และยังมีความอุ่นอยู่แต่สีจะเริ่มออกมาทางสีขาว ค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับ warm white แต่มองเห็นสิ่งรอบตัวชัดเจนกว่าสามารถใช้งานได้ทั่วไป เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่ายทุกห้อง เช่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องแต่งตัว และห้องนอน
จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน
ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน
กด >> รับสร้างบ้าน
รูปแบบไฟ
1. Ambient Light/ไฟบริเวณ : เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ให้แสงสว่างพื้นที่โดยรวมของห้องนั้น ๆ เช่น ไฟซาลาเปา ไฟแขวนกลางห้อง
2. Accent Light/ไฟส่องเน้น : เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ช่วยส่งเสริมความสวยงามของพื้นที่ให้เป็นจุดสนใจ เช่น ไฟส่องภาพแขวนผนังหรืองานศิลปะ
3. Task Light/ไฟเฉพาะจุด : เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ให้แสงสว่างเฉพาะจุด เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ไฟแขวนเหนือโต๊ะกินข้าว ไฟหัวเตียง
4. Concealed Light/ไฟหลืบ : เป็น ไฟแต่งห้อง ที่ติดตั้งในตำแหน่งที่เราไม่สามารถมองเห็นหลอดไฟ เห็นเพียงแต่แสงสว่างเท่านั้น เช่น ไฟหลืบในผนัง ไฟใต้ตู้ในครัว
แสงไฟกับห้องแบบต่างๆ
1. แสงไฟกับห้องนั่งเล่น
ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรม พักผ่อน และรับแขกซึ่งถือเป็นพื้นที่ส่วนกลางของบ้านที่ใช้สอยแบบอเนกประสงค์ แสงไฟที่ใช้จึงควรปรับเปลี่ยนได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้งาน และกิจกรรมนั้นๆ
เลือกใช้หลอดไฟที่สามารถปรับเปลี่ยนโทนสีของแสงหรือความเข้มของแสงได้เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของการใช้งานแต่ละกิจกรรม จะเป็นแบบไฟฝังฝ้าเพดานหรือแบบไฟซ่อนหลืบก็ได้ และเสริมด้วย Direct light โดยเลือกใช้แสง Warm White ให้แสงสว่างเฉพาะจุดที่อยากเน้น เช่น ตู้โชว์ รูปภาพ เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับมุมรับแขก
2. ห้องรับประทานอาหาร
ห้องรับประทานอาหาร คือห้องที่สมาชิกในครอบครัวต่างพร้อมหน้าร่วมกันรับประทานอาหาร พูดคุยกัน เราจึงควรใช้หลอดไฟที่ให้แสงสว่างแบบอ่อนโยน ช่วยสร้างการบรรยากาศความอบอุ่น รู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ นั่นก็คือ หลอดไฟ Warm White และ Cool White ที่เป็นแสงโทนอุ่นยัง จะช่วยให้อาหารดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
3. แสงไฟกับห้องครัว
โดยปกติการออกแบบห้องครัวจะมีหน้าต่างเพื่อระบายอากาศและให้แสงธรรมชาติเข้ามาเพื่อลดความอับชื้นและช่วยฆ่าเชื้อโรคเช่นเดียวกับห้องน้ำอยู่แล้ว แต่จะต่างตรงที่ห้องครัวสามารถออกแบบให้ช่องแสงหรือหน้าต่างใหญ่กว่าห้องน้ำ ดังนั้น ในเวลากลางวันเราอาจจะไม่ต้องเปิดไฟเลยก็ได้ ส่วนในเวลากลางคืนที่ต้องการความชัดเจนของแสงก็สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแสง Daylight และ Cool White
การตกแต่งไฟเฉพาะจุด เช่น ไฟเหนือเคาน์เตอร์ครัว เหนือโต๊ะอาหาร ด้วยการใช้แสงไฟ Warm White เป็นการเสริมบรรยากาศ ทำให้ละมุนตาและทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ส่วนบริเวณที่ทำอาหารถ้าต้องการแสงที่ค่อนข้างชัดเจนแต่ไม่จ้าเกินไปก็สามารถเลือกใช้แสง Cool White ได้
4. แสงไฟกับห้องทำงาน
เชื่อว่าหลายๆ บ้านในปัจจุบัน ต้องมีการจัดสรรให้มีห้องทำงานภายในบ้านอย่างแน่นอน เนื่องจากการต้อง Work From Home หรือทำงานที่บ้านมากขึ้น ซึ่งห้องทำงานนอกจากใช้ทำงานแล้ว บางคนยังใช้สำหรับการประชุมออนไลน์อีกด้วย ดังนั้น ห้องทำงานก็เป็นอีกห้องที่ต้องสร้างบรรยากาศให้สวยดูดี มีความสงบ เพื่อให้มีสมาธิ พร้อมสำหรับทั้งการทำงานและการประชุม
แนะนำให้ใช้ไฟ Daylight เพื่อให้แสงสีที่ได้มีความถูกต้อง ชัดเจน โดยเลือกใช้เป็นไฟ Downlight ติดฝ้าเพดานและโคมไฟตั้งโต๊ะเพื่อเพิ่มแสงสว่าง ช่วยลดอาการปวดกระบอกตาในเวลาที่เราทำงานและต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเลตเป็นเวลานานๆ ส่วนถ้าใครอยากเพิ่มมิติให้ห้องทำงาน ให้ใช้ไฟแสง Warm White เป็นไฟซ่อนบริเวณชั้นวางหนังสือหรือตู้โชว์ จะช่วยทำให้บรรยากาศของห้องทำงานดูนุ่มนวลสบายตามากขึ้น
5. แสงไฟกับห้องน้ำ
โดยปกติการออกแบบห้องน้ำ จะต้องมีช่องสำหรับระบายอากาศและเพื่อให้แสงธรรมชาติในเวลากลางวันเข้ามาสู่ตัวห้องน้ำเพื่อลดความอับชื้นอยู่แล้ว แต่สาวๆ หนุ่มๆ หลายคนอาจจะใช้พื้นที่ห้องน้ำเป็นพื้นที่แต่งหน้า ทาครีม โกนหนวดด้วย ดังนั้น แสงไฟที่ใช้ควรให้โทนสีของแสงมีความชัดเจน ถูกต้อง
แนะนำให้ใช้แสงไฟ Cool White หรือ Daylight ที่ให้แสงไฟที่มีความสว่างชัดเจน และแนะนำให้ติดตั้งแบบฝังฝ้าเพดาน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นจนเกิดอันตราย ส่วนถ้าอยากทำให้ห้องน้ำมีลูกเล่นมากขึ้น อาจจะใช้ไฟเส้น LED แสง Warm White ซ่อนหลังกระจก ใต้อ่างล้างหน้า หรือชั้นวางของในห้องน้ำ ก็จะช่วยให้ห้องน้ำมีมิติและบรรยากาศดีมากยิ่งขึ้น
6.แสงไฟกับห้องนอน
ห้องนอนเป็นพื้นที่แห่งการพักผ่อนในยามนอนหลับ เป็นพื้นที่ที่เราใช้ผ่อนคลายจากสิ่งต่างๆ ถือเป็นห้องที่เราใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดห้องหนึ่งในบ้าน ดังนั้น การสร้างบรรยากาศห้องนอนให้มีความสงบ อบอุ่น พร้อมแก่การนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการใช้แสงไฟที่จะส่องเป็นแสงตรง
เลี่ยงแสงรบกวนโดยวิธีการตกแต่งไฟแบบ Indirect Lighting หรือ ไฟซ่อน สามารถใช้ทั้งแบบซ่อนฝ้าเพดานหรือซ่อนบริเวณหัวเตียง โดยเลือกใช้แสงไฟ Warm White เนื่องจากเป็นแสงที่สบายตา ไม่จ้าจนเกินไป เป็นแสงที่พร้อมสำหรับการนอนหลับพักผ่อน นอกจากนั้น การใช้โคมไฟลอยตัวอย่างโคมไฟหัวเตียงหรือโคมไฟตั้งโต๊ะข้างเตียง ก็เป็นอีกหนึ่งพร๊อบที่นิยมใช้เพิ่มบรรยากาศสุนทรีย์ให้กับห้องนอนอีกด้วย
7.แสงไฟหน้าบ้านและประตูทางเข้า
บริเวณหน้าบ้านและบริเวณประตูทางเข้าถือเป็นจุดแรกของบ้านที่สามารถสร้างความประทับใจให้ทั้งกับคนอยู่เองและแขกที่มาเยือน ดังนั้น การใช้แสงไฟเสริมบรรยากาศ จะทำให้บ้านน่าอยู่และเพิ่มเสน่ห์ให้กับตัวบ้านมากยิ่งขึ้น แนะนำให้มีโคมไฟติดผนังหรือโคมแขวนบริเวณประตูทางเข้าของบ้านเพื่อเน้นทางเข้าหลัก โดยใช้แสงไฟ Warm White เพื่อสร้างบรรยากาศ
เพิ่มมิติมุมมองให้กับตัวบ้าน และติดตั้งโคมไฟบริเวณกำแพงบ้านเป็นระยะๆ หรือใช้ไฟ Downlight ติดตั้งใต้ชายคาของบ้าน เพื่อให้เห็นรอบบ้านชัดเจน และให้ความรู้สึกที่ปลอดภัย ซึ่งไฟรอบบ้านจะใช้แสงไฟ Warm White หรือ Cool White เพื่อทำให้แสงละมุนตา ไม่จ้าจนเกินไป
8.แสงไฟทางเดินภายในบ้าน
ควรให้ความสว่างพอสมควร เพื่อให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ถูกวางไว้ในระหว่างเส้นทาง ซึ่งอาจใช้เป็นไฟสีขาวสว่างหรือจะเป็นสีเหลืองนวล แต่มีระยะต่อเนื่องกัน เพื่อให้ความนุ่มนวล แต่ยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน
9.แสงไฟรอบบ้าน
ไม่ใช่แค่การตกแต่งไฟภายในบ้านเพียงอย่างเดียว บริเวณรอบๆ บ้านก็ช่วยเติมมิติให้บ้านดูน่าอยู่และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากผู้ไม่หวังดี ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่มีพิษไม่ให้เข้ามาใกล้ ระยะการติดตั้งโคมไฟส่วนใหญ่ จะเน้นเป็นเสาสูง เป็นโคมไฟตั้งพื้นหากมีพื้นที่หน้าบ้าน ระยะห่างของไฟแต่ละต้นควรอยู่ที่ 3-4 เมตร ตามผนังด้านนอกก็เลือกเป็นโคมไฟแบบติดผนังและโคมไฟตั้งพื้นสั้นๆ ตกแต่งพุ่มไม้สีเขียวในยามค่ำคืนให้ดูน่ามอง
อ่านเพิ่มเติม สีทาบ้าน
ลักษณะของการส่องสว่าง
เราจำเป็นต้องเลือกลักษณะของการส่องสว่าง ให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละส่วนของบ้าน ซึ่งเราอาจแบ่งลักษณะของการใช้แสงไฟในบ้านได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. แสงพื้นฐาน (BackgroundLighting)
แสงชนิดนี้เป็นแสงที่จำเป็นสำหรับการทดแทนแสงธรรมชาติ โดยทั่วไปมักจะเป็นไฟที่ติดบนเพดานหรือโคมไฟห้อยจากเพดาน (Pendant) หรือตัวเลือกอย่างอื่น เช่นไฟกำแพง ไฟที่ส่องขึ้นข้างบน (Uplight) หรือโคมไฟตั้งโต๊ะ ซึ่งทั้งหมดนี้จะให้แสงที่น่าสนใจมากกว่าการใช้แสงไฟสว่าง ๆ ดวงเดียวเหนือหัว ซึ่งจะดูน่าเบื่อและไม่ดึงดูดใจ
2. แสงไฟสำหรับการทำงาน (TaskLight)
ในบริเวณเช่นครัว เคาน์เตอร์ ห้องทำงาน หรือที่ใดก็ตามที่มีการทำงานเฉพาะอย่างเกิดขึ้น ต้องการระดับแสงที่สว่างเป็นพิเศษ ซึ่งควรจะติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่ทำให้เงาตกลงบนงานที่กำลังทำอยู่ แสงไฟที่กำหนดทิศทางได้ เช่น ดาวน์ไลท์ โคมไฟสำหรับโต๊ะทำงานที่ปรับมุมได้ หรือสปอตไลท์ เป็นไฟ ที่เหมาะสมสำหรับบริเวณเช่นนี้ หรืออาจใช้ไฟที่สว่างเป็นพิเศษ ซึ่งปกติมักจะใช้ในจุดที่มืดและอาจเป็นอันตรายได้ง่าย เช่น บันได หรือทางเดินภายนอกบ้าน มาใช้ในส่วนทำงานก็ได้
3. ไฟสำหรับเน้นส่วนสำคัญ (AccentLight)
สำหรับการขับเน้นของตกแต่งที่จัดวางเอาไว้ แสงไฟเฉพาะจุด เช่น สปอตไลท์ จะเป็นแบบที่ได้ผลดีเป็นพิเศษ เพราะมันสามารถปรับมุมองศาสำหรับส่องสว่างได้ นอกจากนี้ ก็อาจใช้ไฟลักษณะอื่นก็ได้ เช่น ไฟส่องรูปภาพ (Picture Light) ไฟที่ซ่อนอยู่ในชั้นวางของ หรือโคมไฟตั้งพื้นที่ส่องแสงขึ้นข้างบน Floor-standing Uplight)
การเลือกขั้วหลอดไฟให้เหมาะสม
ขั้วของหลอดไฟนั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของหลอดไฟนั้นๆ เมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลอดไฟ การตรวจดูประเภทของขั้วหลอดไฟจึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ เพราะการเลือกหลอดไฟที่มีขั้วไม่สอดคล้องกับโคมไฟ หรือรางหลอดไฟที่บ้าน อาจทำให้จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อหลอดใหม่ได้ ข้อที่ 3 การเลือกหลอดไฟจากประเภทของหลอดไฟ
ประเภทของหลอดไฟนั้นสัมพันธ์กับการใช้งานพื้นที่ต่างๆของบ้าน หลอดไฟที่ดีควรช่วยประหยัดไฟ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับประเภทหลอดไฟที่นิยมใช้ในบ้านทุกวันนี้มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. หลอดไส้
หลอดไส้เป็นหลอดไฟประเภทที่ใช้หลักการปล่อยพลังงานไฟฟ้าผ่านขดลวดแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนจัดจนเปล่งแสงออกมา ปัจจุบันมีพัฒนาการโดยบรรจุสารตระกูลฮาโลเจนเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน หรือที่รู้จักกันในนามหลอดทังสเตนฮาโลเจน หลอดชนิดนี้นิยมใช้เพื่อเน้นบรรยากาศในห้อง หรือบริเวณที่ต้องการความสว่างเป็นพิเศษ เช่น ใช้ในตู้โชว์ หรือส่องรูปภาพบนผนังให้โดดเด่น เป็นต้น
2. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
หรือที่รู้จักกันในนามหลอดตะเกียบ หลอดไฟประเภทนี้ใช้การส่งผ่านประจุอิเล็คตรอนจากขั้วลบผ่านสารเรืองแสงที่ใช้เคลือบหลอดไฟไปยังขั้วบวกเพื่อทำให้เกิดแสงสว่าง เป็นหลอดที่นิยมใช้งานเนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน ให้แสงสว่างสูง และประหยัดไฟได้ 75% – 80% ของหลอดไส้ ซึ่งหลอดไฟในบ้านชนิดนี้สามารถติดตั้งให้แสงสว่างทั่วไปทั้งภายใน และภายนอกอาคาร รวมถึงบริเวณที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นานๆ เช่น ประตูรั้วหน้าบ้าน
3. หลอดไฟLED ในบ้าน(Light Emitting Diodes)
หลอดประเภทนี้เป็นแสงประดิษฐ์ที่กำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นหลอดไฟขนาดเล็กที่สุดแต่ให้แสงสว่างได้ดี แถมยังไม่แผ่ความร้อนจึงช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น หลอดไฟในบ้านประเภท LED นี้สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้งโดยไม่เสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์
นอกจากนี้หลอดไฟ LED ยังไม่มีการปล่อยรังสียูวี ที่สามารถทำร้ายผิว และสายตาของเรา รวมถึงทำให้เฟอร์นิเจอร์บางประเภทมีอายุการใช้งานสั้นกว่ากำหนด อีกทั้งหลอดไฟประเภทนี้ยังไม่ปล่อยก๊าซอันตรายอีกด้วย โดยเราสามารถใช้หลอดไฟ LED ได้ในทุกๆ จุดของบ้าน ทั้งในรูปแบบของการให้แสงสว่างทั่วไป และ Lighting Design เพื่อทำให้บ้านมีมิติไม่จำเจ ด้านความคุ้มค่า
นอกจากอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไฟแบบอื่นๆแล้ว ในปัจจุบันหลอดไฟแอลอีดี (LED) ที่ใช้ในบ้านยังมีราคาถูกลง จับต้องได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER
บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE
- บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
- บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
- บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
- บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)
การเลือกหลอดไฟที่ให้ระดับความสว่างเหมาะกับพื้นที่
ความสว่างที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะทำให้ mood and tone ของบ้านไม่เป็นไปดั่งใจเราแล้ว ยังอาจส่งผลเสียที่ใหญ่กว่านั้น เช่น การอ่านหนังสือในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอนั้นสามารถทำร้านสายตาของเราได้ หรือแสงสว่างที่มากเกินไปก็จะทำให้ห้องที่มีไว้สำหรับพักผ่อนดูแข็งกระด้าง เป็นต้น นอกจากจะเลือกหลอดไฟจากโทนสีของแสงที่ต้องการแล้ว ระดับความสว่างที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรคำนึงถึง
การเลือกรูปทรงของหลอดไฟในบ้าน
หลอดไฟนั้นเป็นส่วนประกอบนึงที่ไม่สามารถขาดไปจากห้องได้ รูปทรงของหลอดไฟจึงเหมือนเป็นองค์ประกอบอีกหนึ่งอย่างที่สามารถตกแต่งห้องให้น่าสนใจขึ้นได้ อีกทั้งรูปทรงของหลอดไฟยังผลต่อการใช้งานด้วย การเลือกรูปทรงหลอดไฟที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แสงกระจายได้ไม่เพียงพอ และส่งผลเสียต่อพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างที่สม่ำเสมอ เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน เราจึงควรเลือกรูปทรงของหลอดไฟที่สามารถกระจายแสงในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงด้วย
การเลือกหลอดไฟที่ปรับการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น หรี่ไฟ ปรับโทนสี
การเลือกหลอดไฟที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย เช่น สามารถปรับระดังความสว่างของไฟ หรือสามารถปรับโทนสีของแสงได้ ย่อมให้ความคุ้มค่าสูงสุด เพราะห้องๆนึงสามารถเป็นได้ทั้งห้องสำหรับพักผ่อน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้เมื่อต้องการ ทำให้เราสามารถใช้งานห้องนั้นๆได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย
หลอดไฟที่สามารถประหยัดไฟได้มากที่สุดคือหลอดไฟแบบ LED เนื่องจากหลอดไฟเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และในบ้านนั้นก็ไม่ได้มีหลอดไฟเพียงจุดเดียว การพิจารณาถึงกำลังในการกินไฟ หรือจำนวนวัตต์ (Watt หรือ W – หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกอัตราการกินไฟของหลอดไฟ) ให้เหมาะสมจึงเป็นอีกข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง หลอดไฟที่ต่างประเภทนั้นมีค่าพลังงาน (วัตต์) ที่ต่างกันทำให้กินไฟไม่เท่ากัน
การเลือกหลอดไฟในบ้านและจํานวนวัตต์ที่เหมาะสม
หลอดไฟบ้านกี่วัตต์ เป็นคำถามที่คำตอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และลักษณะของพื้นที่นั้นๆ เช่น ห้องทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงาน มีความสูง 2.5 เมตร (ประมาณ 15 ตร.ม.) เหมาะกับหลอดไฟ LED 4-5 วัตต์ จำนวน 10 หลอด แต่หากใช้หลอดไฟ LED 7-7.5 วัตต์ จำนวนเพียง 6 หลอดก็เพียงพอ เป็นต้น
การเลือกหลอดไฟในบ้านจากจำนวนวัตต์ให้เหมาะสมนั้น จึงต้องนำทั้งศาสตร์ความรู้เรื่องแสง และเรื่องหลอดไฟ ผสมผสานกับศิลปะในการออกแบบที่มากด้วยจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศของบ้านให้น่าอยู่อาศัยยิ่งขึ้น ซึ่งบ้านเนอวานาได้ดีไซน์ทั้งแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ไว้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ทุกคนสัมผัสถึงสุนทรีย์แห่งแสง และเงา พร้อมทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อเติมเต็มความสุขของทุกชีวิตในบ้าน
สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต
กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน
ประเภทของหลอดไฟและการใช้งาน
1. หลอดไส้ (Incandescent Lamp)
เป็นหลอดไฟที่มีการใช้งานมานานมาก มีอีกชื่อที่เรียกคือ “หลอดดวงเทียน” เพราะมีแสงแดงๆคล้ายแสงเทียน หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับหลอดชนิดนี้กันเป็นอย่างดี มีทั้งชนิดแบบแก้ว และฝ้า ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนให้ความร้อนสูง
หลักการทำงานคือกระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน เมื่อไส้หลอดร้อนจะเปล่งแสงออกมา หลอดไส้นั้นมีข้อเสียคือเมื่อมีความร้อนสะสมมากๆ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้นลง โดยกินไฟมากเนื่องจากสูญเสียไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube)
Fluorescent หรือหลอดเรืองแสง ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7-8 เท่าตัว โดยตัวหลอดมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ของหลอด ผิวภายในฉาบด้วยสารเรืองแสง โดยมีการใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย
หลักการทำงานคือเมื่อกระแสไฟฟ้าใหลผ่านปรอทจะคายพลังงานในรูปแบบรังสีอัลตราไวโอเลตเมื่อกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้หลอดก็จะเปล่งแสงออกมา อายุการใช้งานมีตั้งแต่ 6000 ถึง 20000 ชั่วโมง
3.หลอดฮาโลเจน (Halogen)
พัฒนามาจากหลอดไส้ที่ใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุภายในทำให้ทนทานกว่าหลอดไส้ปกติให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มักใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่นพื้นที่งานแสดงสินค้า มุมอับของบ้านห้องทำงาน อายุการใช้งาน 1500-3000 ชั่วโมง
4. หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide)
เป็นหลอดที่จัดอยู่ในกลุ่มให้ความเข้มแสงสูง หลักการทำงานคือ Arc ไฟฟ้าวิ่งผ่านก๊าซในโคมไฟ หลอด arc ที่มีขนาดเล็กจะผสมกับแรงดันสูงของอาร์กอน ปรอทและความหลากหลายของโลหะผสมกัน ทำให้เกิดสีสันต่างๆ
ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของปรอทและไอโลหะที่ผลิตไฟนี้จะทำให้ อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น หลอดเมทัลฮาไลด์จึงทำงานภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ส่วนใหญ่จะใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา ใช้เป็นไฟสาดอาคารเพื่อเน้นความสวยงาม โดยมีอายุการใช้งานถึง 24000 ชั่วโมง
5. หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท
หลอดประเภทนี้ทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูงหลักการทำงานคือใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ภายในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ ให้แสงสีขาวค่อนข้างเข้ม แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับ โรงงาน โกดังสินค้า สนามกีฬา
6. หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ
มีการทำงานคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาก็คือ”หลอดตะเกียบ” ซึ่งมีแบบที่บัลลาสต์ในตัว และแบบอยู่ภายนอก มีรูปร่างที่หลากหลาย เช่นแบบเกลียว แบบหลอด แบบหลอดสี่แถวเป็นต้น โดยจะมีอายุการใช้งานที่มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
7. หลอด LED
โดยหลอดไฟ LED ถือว่าได้รับการพัฒนามาจากเทคโนโลยีในยุคใหม่ๆ หลักการทำงานจะต่างจากหลอดทั่วๆไป โดยแสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำหลอด LED ลดจุดด้อยต่างๆ ของหลอดไฟที่ผ่านมา เช่น เรื่องความร้อนเนื่องจากไม่มีการเผาไส้หลอด มีอายุการใช้งานที่นาน 50000 ชั่วโมง ใช้ Watt น้อยแต่ให้แสงสว่างมากกว่า ถนอมสายตา
เนื่องจากมีการกระพริบของหลอดน้อยมาก ไม่มีสาร UV ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีการใช้สารปรอท Infinite LED มีมาตรฐาน จะเห็นลักษณะการทำงาน และข้อดีข้อเสียคร่าวๆของหลอดต่างๆ แทบจะสู้ หลอดไฟ LED ไม่ได้
ลักษณะแสงไฟเพื่อใช้งานทั่วๆ ไป
Downlight
จะมีลักษณะเป็นกระบอกกลมๆ มีหลอดไฟอยู่ข้างใน ซึ่งหลอดไฟที่อยู่ข้างในท่านสามารถเลือกใช้เป็นหลอดแบบมีไส้ทั่วๆ ไป หรือหลอดตะเกียบประหยัดไฟก็ได้ หลอดดาวน์ไลท์จะบังคับแสงไม่ให้กระจายออกข้าง แต่จะส่องลงมาที่พื้น ทำให้พื้นทางเดินสว่าง
ดังนั้นบนเพดานจะมองไม่เห็นแสงจากดวงโคมมากนัก แสงที่ได้จะสว่างนุ่มนวลตา ทั่วไปจะมี 2 สี คือ แสงขาว Day light และแสงเหลือง (แสงอบอุ่น) Worm light นิยมใช้ให้แสงสว่างภายในบ้านกันแพร่หลาย เพราะให้แสงที่สวย ทำให้บรรยากาศของบ้านดูอบอุ่น แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้จำนวนหลอดต่อห้องมาก ไม่อย่างนั้นห้องจะมืด
Lighting Showcase
การเลือกใช้แสงไฟให้เหมาะกับการใช้งานนั้นไม่มีข้อจำกัดตายตัว เนื่องจากแต่ละห้องมีกิจกรรมหรือลักษณะการใช้งานที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเจ้าของบ้านมากกว่าว่าแสงไฟสามารถตอบสนองกับกิจกรรมนั้นได้มากน้อยเพียงใด
Dynamic Lighting
การเลือกใช้แสงไฟที่ปรับเปลี่ยนสีได้ในห้องนั่งเล่น แม้ภายในห้องๆ เดียวแต่สามารถสร้างบรรยากาศ อารมณ์ ความรู้สึกให้เกิดความแตกต่างได้
Uplight
ลักษณะไฟแบบ Uplight แสงไฟส่องสะท้อนขึ้นด้านบน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นหลักด้วยเช่นกัน อาจจะนำไปใช้สำหรับการตกแต่งทั้งภายในและภายนอก เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ เนื่องจากการติดตั้งไฟประเภทนี้ไม่ทำให้เกิดการรบกวนทางสายตา
อ่านเพิ่มเติม รีวิว ไฟตกแต่งห้อง
ไฟเพดาน
ไฟที่ติดตายอยู่เหนือศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟกิ่งไฟช่อ หรือไฟติดเพดาน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการให้กำเนิดแสง โดยทั่วไปสำหรับบ้าน อย่างไรก็ตามการใช้แสงชนิดนี้เพียงอย่างเดียว ดูจะขาดเสน่ห์ไปสักหน่อย และให้ความรู้สึกอันแห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา ควรมีการเพิ่มแสงไฟชนิดอื่น เช่น ดาวน์ไลท์ หรือสปอตไลท์ และติดตั้งดิมเมอร์เพื่อจะได้ปรับสภาพแสงได้ตามต้องการ
1. ไฟที่ห้อยจากเพดาน(pendant)
รูปแบบของโคมไฟห้อยเพดานนั้นมีแตกต่างกันมากมาย ทั้งราคาและคุณภาพแสง โป๊ะแก้วหรือเซรามิค จะทำให้แสงกระจายออกไปเท่ากันในทุกทิศทาง แต่ถ้ามีโคม (Shades) คลุมไม่ว่าจะเป็นกระดาษ โลหะหรือผ้า จะทำให้แสงส่องลงไปข้างล่างตรง ๆ แชนเดอเลียร์ (Chandeliers) เป็นไฟเพดานที่ให้ความสว่างมากประเภทหนึ่ง เพราะมันรวมเอาหลอดไฟเล็ก ๆ มากมายไว้ด้วยกัน แต่ส่วนมากมักจะมีราคาแพง
2. ไฟติดเพดาน(Ceiling-mountedLight)
โดยทั่วไปค่อนข้างจะเรียบ และถือเอาประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ส่วนมากจะไม่มีโคมคลุม แต่อาจมีที่ครอบเป็นแก้วหรือพลาสติกคลุมให้แสงที่ส่องกระจายไปเท่ากันในทุกทิศทาง
3.ไฟดาวน์ไลท์ (Downlight)
เป็นไฟเพดานที่ทำได้ทั้งแบบทำเป็นช่องเจาะลึกเข้าไปภายใน หรือติดอยู่บนผิวหน้าของเพดาน ให้ประโยชน์ใช้สอยที่ดี และดูมีเสน่ห์กว่าธรรมดา ให้ทิศทางของแสงที่ส่องลงมาข้างล่าง และให้ได้ทั้งลำแสงแคบหรือกว้าง สามารถหันทิศทางให้ส่องไปยังกำแพงหรือพื้นผิวอื่น ๆ ได้ ดาวน์ไลท์มีประโยชน์มาก และเป็นการให้แสงที่น่าสนใจสำหรับส่วนทำงานบางส่วน เช่น เคาน์เตอร์ในครัว หรือจะใช้เป็นไฟแบ็คกราวนด์ที่ดูน่าสนใจได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับสวิทช์ไฟ แบบดิมเมอร์
4.ไฟเพดานแบบอื่นๆ
สปอตไลท์สามารถใช้ติดตายบนเพดาน หรือติดบนราง และใช้เป็นไฟแบ็คกราวนด์ หรือส่องสว่างเน้นในจุดสำคัญบางจุดก็ได้ หลอดฟลูออเรสเซ้นต์แบบติดเพดาน เหมาะสำหรับส่วนใช้งานที่ต้องการประโยชน์ใช้สอยเต็มที่ เพื่อตัดแสงสะท้อนเข้าตา อย่าซื้อไฟโดยไม่ทดลองเปิดดูเสียก่อน
สปอตไลท์และไฟติดผนัง
สปอตไลท์
เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถยืดหยุ่นได้มากที่สุดในการให้แสง ไม่เพียงแต่ใช้ในจุดที่ต้องการเน้น หรือสำหรับการทำงานเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ในการให้แสงสว่างทั่ว ๆ ไปก็ได้ แม้ว่าโดยทั่วไปจะติดที่เพดาน แต่สปอตไลท์ก็สามารถนำมาติดกำแพงได้ด้วย จะใช้ดวงเดี่ยว ๆ หรือเรียงกันเป็นราวก็ได้ มีทั้งสปอตไลท์แบบติดกับขาตั้ง หรือสปอตไลท์พร้อมด้วยขาแบบหนีบ ที่เคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ
สปอตไลท์มีรูปแบบการดีไซน์มากมาย รวมทั้งขนาดด้วย มันให้ได้ตั้งแต่ลำแสงแบบกว้าง จนกระทั่งถึงลำแสงแบบแคบเล็ก และความได้เปรียบอย่างมากของสปอตไลท์ ก็คือง่ายที่จะวางตำแหน่ง และปรับทิศทางของมัน คุณสามารถตั้งองศาทิศทางของแสงไฟ ได้หลายทิศทาง ควรรวมกลุ่มสปอตไลท์ มากกว่าหนึ่งในแต่ละจุด โดยใช้ทำเป็นรางบนกำแพงหรือบนเพดานก็ได้
ไฟผนัง(WallLight)
แม้จะเป็นไฟที่ไม่ค่อยเด่นเหมือนดาวน์ไลท์หรือสปอตไลท์ แต่ก็มีให้เลือกหลายแบบเช่นกัน ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ แบบดั้งเดิม มักจะอยู่ในรูปของโป๊ะที่ยื่นออกมาจากผนัง ส่วนแบบสมัยใหม่มีหลายแบบส่วนมากมักจะติดเป็นคู่ การกระจายของแสงขึ้นอยู่กับรูปร่างของโคม และไฟผนังเหมาะที่สุด สำหรับโต๊ะแต่งตัว โดยติดรอบกรอบกระจกแบบห้องแต่งตัวในโรงละคร โดยไม่ต้องมีโคมคลุม เพราะจะให้แสงสว่าง โดยไม่เกิดเงาบนใบหน้า
สวิทช์ไฟ
นอกจากสวิทช์สีขาวแบบที่เห็นกันทั่วไปแล้ว ยังมีสวิทช์ไฟที่ออกแบบให้สวยงาม เหมาะสำหรับการตกแต่ง ให้เลือกหาเช่นกัน เช่น สวิทช์ทองเหลือง สวิทช์ไม้ เหล็ก หรือโครเมี่ยม ซึ่งคุณสามารถเลือกให้เข้ากับรูปแบบของการตกแต่งของคุณได้
ดิมเมอร์คอนโทรล
ไม่ว่าจะเป็นไฟชนิดไหนประเภทไหนก็ตาม จะได้ผลอย่างเต็มประสิทธิภาพขึ้น ถ้าคุณสามารถปรับระดับความเข้มของแสงได้ สวิทช์แบบดิมเมอร์ติดตั้งง่าย และมีประโยชน์มากเป็นพิเศษในห้องที่มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าหนึ่ง (Multi-purpose Room) เช่น ครัวกับห้องอาหาร ที่รวมกันอยู่ ซึ่งต้องการแสงสว่างมากในจุดหนึ่ง และต้องการแสงที่นุ่มนวลกว่าในอีกจุดหนึ่ง
โคมไฟเพื่อการใช้งาน
แสงไฟพวกนี้ ได้แก่ ไฟอ่านหนังสือ เช่น ไฟตั้งโต๊ะและไฟตั้งพื้น เพราะในบางจุดท่านจำเป็นต้องได้แสงสว่างให้เพียงพอแก่การใช้งาน เช่น การอ่านหนังสือ ไฟที่ใช้อ่านหนังสือ เราไม่ควรเลือกแสงสีขาว หรือสีเหลืองจนเกินไป เพราะแสงแบบนี้จะแยงตาไม่เหมาะกับการอ่านหนังสือ
ไฟตั้งโต๊ะและไฟตั้งพื้น เป็นทางเลือกที่เป็นที่นิยมกันมาก ทั้งสำหรับในส่วนทำงาน หรือเป็นไฟส่องสว่างทั่วไป และเป็นของแต่งบ้านได้ มีให้เลือกมากแบบทั้งสีสัน รูปทรง ดีไซน์ และขนาด ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะกับการตกแต่งได้ทุกแบบ
โคมไฟตั้งโต๊ะ (Table Lamps)
โคมไฟชนิดนี้ควรมีฐานที่หนักพอสมควร เพื่อจะตั้งได้อย่างมั่นคง และรับน้ำหนักของหลอดไฟและโคมได้ โคมไฟตั้งโต๊ะให้แสงที่นุ่มนวล การวาง โคมไฟตั้งโต๊ะ ไว้หลาย ๆ อันรอบห้อง จะให้แสงรวมกันเป็นการให้แสง เงา เฉพาะจุด เป็นการเลือกที่จะเน้นจุดเด่นในบางที่ ที่ให้ผลในการสร้างบรรยากาศ อย่างมาก
โคมไฟโต๊ะทำงาน (Desk Lamps)
จุดประสงค์ของมันก็คือการให้แสงสว่าง ตรงไปยังบริเวณที่ต้องการโดยเฉพาะ รูปแบบที่ถือว่าเหมาะที่สุดสำหรับไฟที่โต๊ะทำงาน คือไฟที่ปรับขาตั้งได้ ทำให้ได้ทิศทางของแสงตามที่ต้องการ
โคมไฟตั้งพื้น (Floor Lamps)
โคมไฟแบบลอยตัว สำหรับตั้งพื้นช่วยในการเพิ่มระดับของการส่องแสงที่สว่างพอสำหรับกิจกรรม ต่าง ๆ เช่น การอ่านหนังสือ ส่วนมากมักจะใช้ไฟฮาโลเจน เพราะให้แสงที่สว่างกว่า รูปแบบก็มีทั้งแบบ โคมไฟ ที่มีขาตั้งแบบเก่า แบบที่ไฟส่องขึ้นข้างบน แบบที่ปรับมุมได้ หรือบางทีก็ใช้สปอตไลท์ตั้งบนขาตั้ง
โคมไฟตั้งพื้น ไม่จำเป็นต้องสูงมาก แต่อาจจะเป็นไฟที่วางไว้บนพื้นในระดับต่ำ ๆ เพื่อส่องสว่างให้กับกลุ่มต้นไม้ที่ใช้ตกแต่งภายใน หรือ ของตกแต่ง ที่อยู่บนพื้น หรือเพียงแต่เพิ่มความรู้สึกให้กับแสง
หลังจากทราบรายละเอียดของไฟตั้งโต๊ะและไฟตั้งพื้นแล้ว ยังมีอีกข้อสังเกตุหนึ่งสำหรับโคมไฟ อ่านหนังสือทั่วๆ ไป จะใช้หลอดไส้ แต่ตัวหลอดจะออกสีฟ้าๆ ที่เป็นแบบนี้เพราะ หลอดไส้จะให้แสงสีเหลือง พอแสงตัดกับผิวหลอดที่เป็นสีฟ้า สีจะเปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อน
หลักการที่สำคัญในการตั้งโคมอ่านหนังสือ คือจะต้องวางอยู่มุมซ้ายของหัวโต๊ะ เพื่อที่จะไม่ให้แสงตกกระทบมาแยงสายตาและเป็นการลบเงาที่เกิดขึ้นระหว่าง อ่านหรือเขียนหนังสือด้วย
แสงไฟเฉพาะ
แสงไฟแบบนี้ใช้เพื่อการตกแต่ง โดยเฉพาะเน้นเพื่อสร้างมิติของแสงเงาให้เกิดขึ้นในจุดต่างๆ ที่ต้องการ เช่น ไฟส่องภาพ หรืองานศิลปะ แสงที่เกิดจากหลอดไฟเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้บ้านมีชีวิติชีวา ทำให้เพิ่มน้ำหนักของสีสันภายในบ้านอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างส่องที่รูปภาพ เพื่อเป็นการสร้างความสนใจมาที่ภาพที่ท่านแขวนอยู่ภายในบ้าน
ถ้าเน้นแสงสว่างด้วยหลอดฮาโลเจนจะเพิ่มความสวยงามของรูปภายมากขึ้น หลอดฮาโลเจนเป็นหลอดไฟที่ให้แสงเหลืองสว่างแรง ใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์มากที่สุด เมื่อเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่นๆ หรือบางท่านที่มีต้นไม้ตกแต่งอยู่ตามมุมต่างๆ ภายในบ้าน ท่านลองใส่ไฟกระบอกที่ฐานของกระถางต้นไม้ แล้วปรับมุมให้พอเหมาะจะทำให้ต้นไม้ท่านเกิดแสงเงาอย่างสวยงาม
วิธีพิจารณาความสว่างและประหยัด
การเลือกความสว่างของหลอดไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้น แม้ว่าหลอดไฟที่มีรูปทรงเหมือนกัน อาจให้แสงสว่างที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับค่าความสว่าง ซึ่งมีหน่วยเป็น Lumen (lm) เราสามารถดูค่าความสว่างของหลอดไฟได้จากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีระบุอยู่ข้างกล่อง ยิ่งค่า lumen มาก ความสว่างก็จะมากขึ้นเช่นกัน ส่วนจำนวนวัตต์ (Watt) จะเป็นการบอกถึงกำลังในการกินไฟนั่นเอง เช่น หลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ จะให้แสงสว่าง 600 ลูเมน แต่เมื่อเทียบกับหลอดไฟ LED
(Light Emitting Diode) ที่ได้มาตรฐานจะให้ความสว่างเท่ากัน แต่จะกินไฟเพียง 7 วัตต์ เป็นต้น ดังนั้นหลอดไฟจะประหยัดไฟมากน้อยเพียงใด เราคงไม่ได้ดูแค่กำลังวัตต์อย่างเดียว ควรต้องดูควบคู่ไปกับค่าความสว่าง ค่าประสิทธิผล รวมถึงอายุการใช้งานของหลอดไฟด้วยนะ
หลักการพิจารณาเลือกซื้อหลอดไฟ LED
LED หรือ Light Emitting Diode เป็นเทคโนโลยีของการส่องสว่างแบบใหม่ที่ทนทาน ให้ความสว่างสูง กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำ ซึ่งระดับความสว่างก็ต่างกันตาม Chip LED โดยสามารถดูค่าความสว่างหรือปริมาณแสง (ลูเมน : lm ) ที่จะบ่งบอกค่าความสว่าง เช่น หลอดไส้ขนาด 100 วัตต์ ให้แสงสว่าง 400 ลูเมน เมื่อเทียบกับ LED จะกินไฟเพียง 5 วัตต์เท่านั้น
ประโยชน์ของหลอดไฟ LED ที่หลายคนคงทราบกันแล้วว่า ความสว่างของหลอดไฟ LED นั้นให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟทั่วไป แล้วยังไม่มีรังสี UV มาทำร้ายผิวของเราอีกด้วย อายุการใช้งานหลอด LED ยาวนานกว่าหลอดทั่วไป ที่สำคัญคือ หลอดประหยัดไฟ LED สามารถช่วยคุณประหยัดไฟและเติมความสว่างไสวสวยงามให้แก่บ้าน ซึ่ง หลอดประหยัดไฟ LED นั้น ช่วยประหยัดไฟได้สูงสุดถึง 80% พูดได้เลยว่าทำให้บ้านหรืออาคารที่ติดตั้งคุ้มทุนกว่าเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนจึงหันมาให้ความสนใจเรื่อง การเลือกซื้อและใช้หลอด LED มากขึ้น
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาใน การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED
การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED นั้นมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ เพราะในปัจจุบัน ชนิดของหลอดไฟ LED มีให้เลือกซื้อมากมายหลายแบบ การเลือกซื้อและใช้หลอด LED จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งหลัก ๆ แล้วต้องพิจารณาตามแต่ละปัจจัยดังนี้
1. ขั้วหลอดต่างขนาด
ขั้วหลอดไฟ LED ที่ใช้กับโคมเป็นแบบไหนต้องไม่ลืมสังเกตให้แน่ใจว่าเป็นขั้วเกลียว ขั้วเกลียวเล็ก ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ หลอดขาวขุ่นหรือหลอดใส เราจะสังเกตได้ว่า หลอดไฟมีทั้งแบบหลอดใสและแบบขาวขุ่น ซึ่งผิวเคลือบของหลอดที่ต่างกันก็จะให้แสงที่ต่างกัน หลอดใส เหมาะใช้กับโคมไฟที่ออกแบบตัวโคมให้สร้างลวดลาย ก็จะต้องการการกระจายแสงที่มาก ส่วนหลอดขาวขุ่นจะให้แสงที่สม่ำเสมอเหมาะใช้กับพื้นที่ให้แสงแบบไม่ต้องมีตัวโคม
สวิตช์หรี่ไฟ dimmable การเลือกใช้หลอด LED สำหรับแต่ละที่ต้องดูด้วยว่าต้องการให้หรี่ไฟได้หรือไม่ หลอด LED บางรุ่นหรี่ไฟได้ บางรุ่นหรี่ไฟไม่ได้ สังเกตได้จากสัญลักษณ์ภาพ Dimmable / Not Dimmable
2. รูปทรงหลอดไฟ LED
หลอดจำปา ให้แสงคล้ายแสงเทียน เหมาะสำหรับโคมไฟประดับที่ต้องการเพียงแสงสลัวๆ
หลอดทรงกลม ให้แสงสว่างองศากว้าง เหมาะใช้โคมไฟและโป๊ะโคมที่สร้างลวดลายเวลาเปิดไฟ
หลอดทรงยาว ให้แสงคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน เหมาะสำหรับให้แสงสว่างทั่วไป
3. มุมกระจายของแสง
การให้แสงของหลอด LED จะเป็นแบบแสงพุ่งตรงเหมือนแสงจากไฟฉาย ดังนั้นในการเลือกหลอด LED จึงต้องดูเรื่องการกระจายแสง จากรีเฟลกเตอร์ของหลอดไฟแต่ละรุ่นประกอบด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนมาใช้หลอด LED จะให้ความประหยัดจริง ต้องดูที่ค่าประหยัดไฟของหลอดไฟ ที่มีตั้งแต่ระดับ A++ คือประหยัดสูงสุด ไปจนถึง E ซึ่งจะลดระดับความประหยัดลงมา
หลอดไฟ LED ในบ้านควรใช้กี่วัตต์
การเลือกกำลังวัตต์ของหลอดไฟ LED สำหรับใช้ในบ้านนั้น ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่ายิ่งวัตต์มาก แสงที่ได้ก็สว่างมาก และกินไฟมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งแต่ละจุดภายในบ้านมีความต้องการในการใช้งานแสงสว่างแตกต่างกัน การเลือกหลอดไฟและจำนวนวัตต์ให้เหมาะสมจึงต้องคำนึงถึงเรื่องของการใช้งานและความสวยงามด้วย เพื่อที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและช่วยประหยัดค่าไฟในอนาคต
การเลือกกำลังวัตต์ของหลอด LED ในเบื้องต้นต้องพิจารณาเรื่องแสงไฟที่เหมาะสมที่จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ที่ต้องการให้แสงสว่าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่และความสูงของห้องด้วย เช่น ห้องทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงาน มีความสูง 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 15 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอด LED 4-5 วัตต์ จำนวน 10 หลอด แต่ถ้าเป็นหลอด LED 7-7.5 วัตต์ ก็สามารถใช้เพียง 6 หลอดก็เพียงพอ เป็นต้น
หากเป็นห้องนอนที่ต้องการบรรยากาศผ่อนคลาย ความสูงประมาณ 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 25 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอดไฟ LED 7-7.5 วัตต์จำนวน 4 หลอด ซึ่งจะให้ความสว่างที่เหมาะกับการพักผ่อน ไม่สว่างและไม่มืดจนเกินไป ส่วนห้องนั่งเล่นที่ต้องการใช้ ประโยชน์ของหลอดไฟ LED ในการทำไฟหลืบสร้างลูกเล่นบริเวณเพดานหรือตามเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินต่างๆ หากเป็นห้องที่มีเพดานสูง 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 20 ตร.ม. สามารถเลือกใช้หลอดไฟ LED 9-9.5 วัตต์ ประมาณ 4 หลอดได้
งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร