การสร้างบ้านในปัจจุบัน เกือบทุกหลังจะใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความสำคัญและให้ความแข็งแรง เช่น โครงสร้างของอาคารที่ใช้ในการรับน้ำหนัก อย่างพื้นคอนกรีต คาน เสาของอาคาร ฐานราก เสาเข็ม หรือ ปูนซีเมนต์ที่ใช้ก่อฉาบตกแต่ง ซึ่งต้องการความแข็งแรงและเนื้องานที่ไม่เหมือนกัน ประเภทปูนสร้างบ้าน ที่ใช้ในแต่ละส่วนของบ้านจึงต้องใช้ต่างชนิดกันตามลักษณะงาน เช่น ก่อ หล่อ เท ฉาบ เพื่อให้ได้คุณภาพงานตามต้องการ
สารบัญ
- การแบ่ง ประเภท ปูนสร้างบ้าน โครงสร้าง ก่อ ฉาบ
- ชนิดของปูนซีเมนต์สำหรับงานตกแต่ง
- ประเภทของปูนซีเมนต์โครงสร้าง
- การแบ่งประเภทย่อยของปูนสร้างบ้าน
- การเก็บและดูแลรักษาปูนซีเมนต์
- ช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรฉาบปูน?
การแบ่ง ประเภท ปูนสร้างบ้าน โครงสร้าง ก่อ ฉาบ
บทความนี้จะไล่เรียง ประเภทของปูนโครงสร้าง ก่อ และฉาบ แบบละเอียด โดยเริ่มจาก ประเภทของปูนก่อสร้าง ดังนี้
ประเภทของปูนซีเมนต์โครงสร้าง
ซีเมนต์ตามมาตรฐาน ASTMC.150 ของอเมริกา และตามมาตรฐานอังกฤษ British Standard : B.S. ซึ่งได้นำมาใช้ในประเทศไทย โดยกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. เช่นเดียวกัน มีทั้งหมด 5 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดธรรมดา Ordinary Portland Cement
เหมาะสำหรับใช้กับงานก่อสร้างพื้นฐานทั่วไป (Infrastructure) เทคอนกรีต เสา ถนน คาน สะพาน พื้น ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ข้อเสียของซีเมนต์ชนิดนี้คือ ไม่ทนต่อสารที่เป็นด่างจากดิน หรือน้ำ และสารเคมี
ประเภทที่ 2 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดดัดแปลง Modified Portland Cement
เป็นประเภทที่ทนต่อเกลือซัลเฟตได้ปานกลาง มีความทนทานต่อความเป็นด่างพอสมควร เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดปานกลาง หรือใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับดินหรือน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่มีน้ำเค็มไม่มาก เช่น งานตอม่อขนาดใหญ่ ท่าเทียบเรือ งานฐานราก หรือกำแพงกันดินที่มีความหนามากๆ
ประเภทที่ 3 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดให้กำลังอัดสูง แข็งตัวเร็ว High-Early Portland Cement
เนื้อค่อนข้างละเอียดเป็นพิเศษ แข็งตัวและรับแรงได้เร็ว เหมาะใช้กับงานที่ต้องเร่งเวลา ต้องการความคล่องตัว หรืองานที่ต้องเสร็จภายในเวลารวดเร็ว เช่น งานจราจร งานเสาเข็ม พื้นถนน แข็งตัวรวดเร็วในเวลาสั้น หลังจากเทซีเมนต์แล้วสามารถใช้ งานได้ ภายในเวลาเร่งด่วน
ประเภทที่ 4 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดเกิดความร้อนต่ำ Low-Heat Portland Cement
มีอัตราความร้อนต่ำ การให้กำลังจะเพิ่มขึ้นช้า ๆ ทำให้เกิดการขยายตัวทีละน้อย ทำให้ควบคุมความร้อนของปฏิกิริยาในขณะที่กำลังแข็งตัวไม่ให้ร้อนมากเกินไป เพื่อช่วยลดการแตกร้าว เหมาะกับงานที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ งานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน ควรใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดการแตกร้าวขึ้นเนื่องจากความร้อนในการทำปฏิกิริยาของคอนกรีต
ประเภทที่ 5 ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดทนเกลือซัลเฟตสูง Sulfate-Resistant Portland Cement
สามารถต้านซัลเฟตได้สูง เหมาะกับงานก่อสร้างบริเวณที่มีดินเค็มหรืออยู่ใกล้ทะเล เพื่อช่วยต้านทานและทำลายซัลเฟต ที่จะสร้างปัญหาให้กับเนื้อซีเมนต์
จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน
ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน
กด >> รับสร้างบ้าน
ชนิดของปูนซีเมนต์สำหรับงานตกแต่ง
นอกจากปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการพัฒนาปูนซีเมนต์สำหรับใช้ในงานตกแต่งภายในและภายนอกขึ้นมา เพื่อเพิ่มความสะดวกและความสวยงามให้กับอาคารบ้านเรือน นั่นคือ
1. ปูนซีเมนต์ผสม
คือ ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ที่ผสมด้วยวัสดุเฉื่อยลงไป เพื่อให้ปูนมีความเหนี่ยวยึดเกาะผนังได้ดี แห้งช้า จึงเหมาะกับงานฉาบหรืองานตกแต่งที่ต้องใช้ความประณีตและเวลาในการทำงาน แต่ว่าปูนชนิดนี้ไม่รองรับน้ำหนักได้น้อยจึงไม่เหมาะกับงานโครงสร้างหรืองานฐานราก
2. ปูนซีเมนต์ขาว
คือ ปูนที่ผลิตมาเพื่อใช้ในงานตกแต่งเพื่อความสวยงามเป็นหลัก มีลักษณะเป็นสีขาว แข็งตัวช้า ยึดเกาะดี ความทนทานและรองรับน้ำหนักได้น้อย ไม่เหมาะกับงานโครงสร้างและงานฐานราก จะเห็นว่าปูนซีเมนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายชนิด
ซึ่งแต่ละชนิดล้วนมีคุณสมบัติที่ต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสม เพื่อที่ตัวงานจะมีความแข็งแรงทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น
ซีเมนต์ตามมาตรฐาน European EN-197 มีทั้งหมด 5 แบบเช่นกัน คือ Portland Cement, Portland-Composite Cement , Blastfurnance Cement, Pozzolanic Cement และ Composite Cement
ซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ มีการพัฒนาการผลิตออกมา เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น ซีเมนต์ผสมพิเศษ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการใช้งานก่อและฉาบ ซีเมนต์ขาว เหมาะสำหรับงานตกแต่ง งานปูกระเบื้อง รวมถึงซีเมนต์พิเศษชนิดอื่น ๆ
อ่านเพิ่มเติม ปูนซีเมนต์
ประเภทของปูนซีเมนต์โครงสร้าง
ประเภทของปูนซีเมนต์โครงสร้าง แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ปูนทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ประเภท ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)
สำหรับงานก่อ ฉาบ เท ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวลื่น ยึดเกาะอิฐและผนังได้ดี แห้งตัวพอเหมาะ ไม่ยืดหรือหดตัวมาก ช่วยลดการแตกร้าวที่ผิวผนังได้ และให้กำลังอัดต่ำกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา จึงไม่เหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักอาคารในส่วนต่างๆ เหมาะสำหรับงานก่ออิฐ ฉาบปูน เทปรับระดับพื้นก่อนติดตั้งวัสดุปิดผิว งานเทคอนกรีตโครงสร้างขนาดเล็ก (เช่น ตอม่อ เสา คาน พื้น ของบ้านชั้นเดียว, ลานวัด เป็นต้น) รวมถึงงานปูนปั้น เช่น งานปั้นบัว อ่างซีเมนต์ชนิดต่างๆ เป็นต้น
สำหรับ งานก่อ จะใช้ “ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)” ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวลื่น ยึดเกาะอิฐและผนังได้ดี แห้งตัวพอเหมาะ ไม่ยืดหดตัวมาก
ส่วน งานฉาบ นั้นจะใช้ “ปูนซีเมนต์ Masonry (Masonry Cement)” เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีความเรียบเนียนสูง เนื้อละเอียด เหนียวลื่น ยึดเกาะได้ดี ฉาบง่าย อุ้มน้ำได้ดีจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำของผนังอิฐ และลดการแตกร้าว
การนำปูนประเภทนี้ไปใช้งาน จะต้องผสมกับทราย และ น้ำ ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทงานก่อนนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น
งานก่ออิฐ จะมีปูนซีเมนต์ และ ทรายหยาบ (ทรายหยาบตามคุณภาพมาตรฐาน มอก. 598) ผสมกันในอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ทราย ประมาณ 1 : 2.5 ถึง 1 : 3
งานฉาบปูน จะใช้ปูนซีเมนต์ และ ทรายละเอียด (เม็ดทรายขนาด 0.5 – 1.5 มม. คุณภาพมาตรฐาน มอก. 1776)
ปูนฉาบขั้นแรก จะนิยมใช้อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ทราย ประมาณ 1 : 2.5 ถึง 1 : 3 ซึ่งช่างปูนนิยมเรียกว่า “ปูนเค็ม” เพราะมีสัดส่วนของปูนซีเมนต์อยู่มาก ทำให้ยึดเกาะกับผนังได้ดี แต่ก็จะหดตัวได้มากและแต่งผิวยากเช่นกัน
ปูนฉาบชั้นที่สองหรือชั้นสุดท้าย จะนิยมใช้อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ทราย ประมาณ 1 : 3 ถึง 1 : 4 เรียกว่า “ปูนจืด” เนื่องจากปูนจืดมีทรายมากกว่า จึงหดตัวน้อย และแต่งผิวง่ายกว่าปูนเค็ม จึงเหมาะกับการฉาบผิวหน้าเพราะไม่ค่อยแตกร้าวหรือแตกลายงา
เพิ่มเติม
ปูนก่อมี 2 ประเภทใหญ่ คือ ปูนก่อทั่วไป และปูนก่อสำเร็จพร้อมใช้ ส่วนผสมโดยทั่วไปของปูนก่อคือ ปูนซีเมนต์ ทราย และ หินบด โดยแตกต่างกันไปตามแต่ละสูตรของผลิตภัณฑ์แต่ละบริษัท หน้าที่ของปูนก่อคือใช้สำหรับก่อผนังอิฐบล๊อค อิฐมอญแดง หรือ อิฐมวลเบา
ส่วนผสมที่ใช้กันในปัจจุบันของปูนก่อมีดังนี้ งานก่อผนัง ปูนก่อ 1 ส่วน : น้ำ 3 ส่วน : ทราย 1 ส่วน ตวงผสมให้เข้ากันแล้ว ใส่น้ำให้ มีความข้นเหลวพอเหมาะที่จะทำงานได้ เพื่อการยึดเกาะอิฐที่ดี นุ่ม เบามือ มีระยะแห้งตัว ที่พอเหมาะ จัดแนวก่อได้ง่าย ได้ผนังที่แข็งแรง ทนทาน ขนาดบรรจุโดยทั่วไปคือ 50 กก./ถุง
โดยทั่วไปแล้วปูนก่อโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักที่ถุงละ 50 กก.มาผสมทรายกับน้ำแล้วก่อ ที่ความหนาประมาณ 1.5 ซม ก่ออิฐมอญแดงประมาณ 2 ตรม ถ้าก่ออิฐปล๊อคได้ประมาณ 4.5 ตรม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ความหนาของปูนที่ใช้ก่อด้วย
ส่วนปูนก่อสำเร็จ แบบผสมน้ำแล้วใช้ได้เลย 1 ถุง สามารถก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นได้พื้นที่ประมาณ 1.3 – 1.5 ตร.ม. และ ก่ออิฐบล็อกได้พื้นที่ประมาณ 2.5 – 2.8 ตร.ม. ปูนก่อมีหลายหลายชนิด หลายยี่ห้อแล้วแต่ความชอบ ความถนัด และ ความคุ้นเคยของช่างฝีมือแต่ละคน
เพิ่มเติม ปูนก่อ
ปูนก่อยังแบ่งออกเป็นประเภทได้อีก ดังนี้
a. ปูนก่อแบบผสม
เป็นปูนสำหรับก่ออิฐบล๊อค หรือ อิฐมอญ ที่ต้องนำไปผสมกับทราย หรือ ส่วนผสมอื่นๆก่อนที่จะใช้งาน ตัวอย่างเช่น ปูนดอกบัวเขียว ปูนดอกบัวซุปเปอร์ ปูนทีพีไอเขียว ปูนทีพีไอเขียวซุปเปอร์ เป็นต้น
b. ปูนก่อสำเร็จรูปทั่วไป หรือ ปูนมอร์ตาร์ก่อทั่วไป
เป็นปูนที่มีส่วนผสมทุกอย่างลงตัวมาแล้ว ผสมน้ำ พร้อมใช้ ง่าย สะดวก ตัวอย่างเช่น ปูนเสือมอร์ตาร์ก่อสำเร็จรูปทั่วไป ปูนที่พีไอก่อสำเร็จรูป เป็นต้น
c. ปูนก่ออิฐมวลเบา
คือปูนที่ใช้สำหรับก่ออิฐมวลเบาโดยเฉพาะ โดยทั่วไปแล้วปูนก่ออิฐมวลเบาจะเป็นปูนสำเร็จรูปหรือปูนมอร์ตาร์ ตัวอย่างเช่น ปูนเสือมอร์ตาร์ก่ออิฐมวลเบา ปูนทีพีไอก่ออิฐมวลเบา เป็นตัน
สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต
กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน
เพิ่มเติม ปูนฉาบ
ชนิดของปูนฉาบ
ปูนฉาบมีหลายแบบ ที่ควรรู้ไว้มีอยู่ 3 ชนิด
a. ฉาบทั่วไป
ปูนฉาบสำเร็จชนิดนี้ เหมาะสำหรับฉาบผนังที่ไม่ต้อง การความละเอียดเรียบเนียนมากนัก แต่ก็ได้ผนังที่เรียบเนียนกว่าผนังปูนฉาบที่ช่างไม่ร่อนปูน ไม่ร่อนทราย
b. ฉาบละเอียด
ทำให้ได้ผนังที่ละเอียดเรียบเนียนกว่าปูนฉาบสำเร็จแบบทั่วไป เพราะผสมทรายที่มีขนาดเล็กกว่า แต่จะฉาบให้ได้ผนังเรียบเนียนและติดทน การฉาบชั้นแรกต้องฉาบด้วยปูนฉาบสำเร็จรูปแบบทั่วไปก่อน ฉาบชั้นที่ 2 ถึงจะเอาปูนฉาบสำเร็จรูปชนิดละเอียดฉาบทับลงไป (ปกติการฉาบปูนต้องฉาบ 2 ชั้น) ถ้าใช้ปูนฉาบละเอียดฉาบทั้ง 2 ชั้น ผนังจะเกิดรอยแตกร้าวแบบลายงา
c. ฉาบผิวคอนกรีต
เป็นปูนฉาบสำเร็จรูปเหมาะสำหรับฉาบบนผิวคอนกรีตเช่น เสา คาน เป็นต้น ฉาบได้โดยไม่ต้องสกัด หรือสลัดดอกให้ผิวคอนกรีตขรุขระ เพราะเป็นปูนฉาบมีส่วนผสมของกาวช่วยยึดเกาะผิวคอนกรีตที่ เรียบมันได้มีคุณสมบัติยึดเกาะจับผนังได้เหนียวแน่นกว่าปูนฉาบชนิดอื่น จะเอามาฉาบผนังอิฐก็ได้แต่ราคาจะแพงกว่า ปูนฉาบทั่วไป 2 เท่า ได้ปูนฉาบที่ดีแล้ว ผนังจะไม่เกิดการแตกร้าว
ก่อนลงมือฉาบต้องฉีดน้ำรดผนังเพื่อบ่มและล้างอิฐ ฉาบเสร็จแล้ว ปูนแห้ง สนิท อย่าลืมรดน้ำบ่มเลี้ยงผนังไปสัก 7 วันด้วยเพราะไม่ว่าอะไรก็ตาม ทำจากปูนซีเมนต์ ต้องบ่มน้ำทั้งนั้น ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาแตกร้าวตามมา
2. ปูนสำเร็จรูป หรือ ปูนมอร์ตาร์สำเร็จรูป
จะเป็นปูนที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารพิเศษ โดยมีการควบคุมสัดส่วนการผสมและคุณภาพของวัตถุดิบให้มีความสม่ำเสมอและสะดวกต่อการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทรายหรือสารเคมีเพิ่มเติม ซึ่งปูนแต่ละถุงจะแยกประเภทการใช้งานเลย ไม่ว่าจะเป็น ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปสำหรับงานก่อทั่วไป งานฉาบทั่วไป งานฉาบละเอียด งานเทปรับพื้น งานซ่อมอเนกประสงค์ เป็นต้น
แต่มีข้อจำกัดคือ ปูนแต่ละถุงจะใช้ได้เฉพาะสำหรับงานนั้นๆ ไม่สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อทั่วไปจะใช้สำหรับงานก่อผนังอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาฉาบผนังได้ เป็นต้น
ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อ
ปูนสำเร็จรูปชนิดนี้มีคุณสมบัติรับน้ำหนักได้ดีกว่าปูนสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ และมีน้ำหนักในตัว ใช้สำหรับงานก่อผนังอิฐ เช่น อิฐมอญ อิฐบล็อค คอนกรีตบล็อก
ปูนฉาบสำเร็จรูป
การฉาบจำเป็นต้องฉาบ 2 ชั้น ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบจึงแตกต่างกันในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็นปูนสำหรับงานฉาบหยาบและงานฉาบละเอียด
1. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบหยาบ
เหมาะสำหรับนำมาฉาบปกปิดวัสดุก่อต่างๆ เป็นขั้นแรก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดของเนื้อปูนมาก
2. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบละเอียด
เรียกอีกอย่างว่า “Skim Coat” เป็นปูนสำหรับฉาบรอบที่ 2 ซึ่งมีส่วนผสมของทรายที่ละเอียดมากกว่า และแพงกว่าปูนฉาบหยาบ จึงเหมาะที่นำมาฉาบให้พื้นผิวเรียบเนียนเสมอกัน
ปูนเทพื้นสำเร็จรูป
ปูนสำเร็จรูปชนิดนี้ทำให้พื้นมีผิวหน้าเรียบเสมอกัน ใช้ในการเทพื้นได้ทั้งภายในบ้าน หรือว่าโรงจอดรถ และปรับพื้นสำหรับปูวัสดุปูพื้น เช่น กระเบื้อง ปาร์เกต์
ปูนสำเร็จรูปสำหรับซ่อมแซมโครงสร้าง
มีความพิเศษที่เนื้อปูนผสมเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในการยึดเกาะที่ดี และมีการรับแรงอัดสูงกว่าปูนสำเร็จรูปทั่วไป เหมาะสำหรับซ่อมผนังร้าว แตก แยก ได้ดี
ข้อควรรู้ : อิฐมวลเบา จำเป็นต้องมีปูนสำเร็จรูปสำหรับฉาบและก่อโดยเฉพาะ เพราะอิฐมวลเบามีคุณสมบัติการซึมน้ำไม่ดีเท่าอิฐบล็อคทั่วไป การยึดเกาะจึงน้อยกว่าอีกด้วย ถ้าหากใช้ปูนสำเร็จรูปทั่วไปในการฉาบหรือก่อ จะทำให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปูนเฉพาะทางสำหรับอิฐมวลเบาที่มีส่วนผสมของกาวทำให้ยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น
ข้อควรคำนึงสำหรับการเลือกใช้ปูนทั่วไปหรือปูนซีเมนต์
จะมีเรื่องส่วนผสมที่ต้องควบคุมให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและมีสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งเรื่องขนาดเม็ดทราย ความสะอาดของทรายที่จะนำมาผสม ไม่ควรมีส่วนผุกร่อนหรือวัชพืชปะปน ไม่มีสารอินทรีย์ (เมล็ดพืช ซากพืช ซากสัตว์) ไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่มีสภาพเป็นกรด ด่าง หรือเกลือปนอยู่ และน้ำที่นำมาผสมต้องสะอาด
สรุป
ปูนทั้งสองแบบเป็นปูนทรายที่สามารถใช้งานทั้งก่อ ฉาบ เทได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ปูนทั่วไป จะสามารถนำมาผสมเพื่อการใช้งานที่หลากหลายได้ แต่ต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในเรื่องสัดส่วนและมาตรฐานของส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้งานที่ได้มีคุณภาพ ส่วนปูนสำเร็จรูป ช่วยลดขั้นตอนการทำงานของช่างลง ทำงานง่าย
อีกทั้งช่วยลดปัญหาปูนทรายไม่ได้มาตรฐาน ทั้งเรื่องของคุณภาพและขนาดเม็ดทรายที่ไม่เหมาะสม มีสารเคมีหรือสิ่งอื่นเจือปนอยู่ รวมถึงเรื่องการผสมที่ไม่ได้สัดส่วน (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างแต่ละคนที่ใช้สัดส่วนการผสมไม่เหมือนกัน) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อคุณภาพของงานได้ทั้งสิ้น
อ่านเพิ่มเติม เสาเข็ม
การแบ่งประเภทย่อยของ ปูนสร้างบ้าน
ปูนสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ตามการใช้งานได้อีกหลายแบบ แบ่งเป็น 5 แบบ ดังนี้
- ปูนฉาบผิวบาง เป็นปูนสำหรับใช้ซ่อมแซมผิวคอนกรีตที่เสียหาย หรือใช้ฉาบแต่งผนังคอนกรีตสำเร็จรูป
- ปูนฉาบละเอียด เป็นปูนที่มีเอาฉาบแต่งหน้า มีเนื้อปูนที่เนียนเป็นพิเศษ ใช้แต่งหน้าเพื่อเก็บรายละเอียดของงานทำให้งานออกมาสวยงามมากขึ้น
- ปูนกาว หรือ กาวซีเมนต์ เป็นปูนสำหรับใช้ยึดติดกระเบื้องกับผนังหรือพื้น มีความเหนียวและยึดเกาะสูง
- ปูนเกร๊าท์ จริงปูนชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทเคมีภัณฑ์มากกว่า แต่ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นปูน นิยมใช้ในงานการซ่อมแซม
- ปูนซ่อมเอนกประสงค์ เป็นปูนที่จัดอยู่ในประเภทใช้ซ่อมแซม ใช้สำหรับซ่อมรอยแตกร้าวของผนัง คาน เสา หรือแม้แต่พื้นก็สามารถใช้งาน ใช้สะดวกมากเพียงผสมน้ำก็ใช้งานได้แล้ว
บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER
บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE
- บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
- บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
- บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
- บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)
การเก็บและดูแลรักษาปูนซีเมนต์
ซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างจำกัด ต้องมีการดูแลและเก็บรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ที่อาจทำให้ซีเมนต์เกิดการแข็งตัวหรือเสื่อมคุณภาพ การเก็บรักษาอย่างถูกวิธีทำได้ดังนี้
1. การวางซีเมนต์ ควรวางบนแผ่นไม้ หรือวัสดุสำหรับรอง หากยังไม่ได้ใช้งาน ควรวางและยกให้สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อช่วยป้องกันความชื้นและน้ำ การกองซีเมนต์ควรกองซ้อนกัน 5 ชั้น และวางสลับแบบขวางอีก 5 ชั้น และควรกองซีเมนต์แยกตามประเภท แยกกอง ถุงไหนมาก่อนควรนำไปใช้งานก่อน และควรให้ห่างจากฝาผนังประมาณไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตรด้วยเช่นกัน
2. เก็บในพื้นที่มีหลังคาและควรมีฝาผนังทั้ง 4 ด้าน การเก็บให้มิดชิด เป็นการช่วยป้องกันความชื้นจากอากาศที่สามารถทำปฏิกิริยากับซีเมนต์ จนอาจทำให้เกิดการแข็งตัวได้
ช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรฉาบปูน?
งานฉาบปูน ฉาบผนังอิฐแดง เป็นงานที่ค่อนข้างละเอียด ผนังจะออกมาเรียบเนียน และแข็งแรงแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ฝีมือของช่างเพียงอย่างเเดียว แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่จะส่งผลกระทบต่องานฉาบ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ที่เลือกใช้ สภาพอากาศ หรือแม้แต่การเลือกช่วงเวลาในการฉาบปูนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
ถ้าอย่างนั้นแล้วเวลาไหนกันล่ะที่ไม่ควรฉาบปูน นั่นก็คือ ช่วงเวลาที่มีแสงแดดแรง อย่างเวลาประมาณบ่าย 2 โมง การฉาบในช่วงเวลานี้ หรือฉาบในช่วงที่มีแสงแดดจ้า จะทำให้ปูนฉาบระเหยเร็วเกินไป อาจทำให้ผนังเกิดการแตกร้าวได้ จึงควรไล่ฉาบด้านที่มีร่มเงาก่อน เช่น ช่วงเช้าควรฉาบผนังด้านทิศตะวันตก และช่วงบ่ายควรฉาบด้านทิศตะวันออก
แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาจใช้การบังแดดด้วยการขึงผ้าใบช่วย หรือทำการบ่มผนังด้วยการลดน้ำบนผิวผนังอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง ไป 3 – 7 วัน ก็จะช่วยให้ผนังไม่เสียน้ำเร็วเกินไป
อ่านเพิ่มเติม 12 แบบบ้านปูนเปลือย ดีไซน์ดิบ ๆ สุดเท่ไม่ต้องทาสีก็สวยล้ำ
งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร