เสาเข็ม กับ การสร้างบ้าน

เสาเข็ม

“บ้านที่มั่นคง ต้องมีฐานรากที่แข็งแรง” คำกล่าวนี้ไม่ได้เป็นจริงแต่ในแง่นามธรรมเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงฐานของบ้านอย่าง เสาเข็ม (กับ การสร้างบ้าน) นั้น ถือว่าสำคัญมากในการสร้างบ้านใหม่”

เสาเข็ม คือ

เสาเข็ม คือ ส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวบ้าน และกระจายน้ำหนักไปยังชั้นดินใต้อาคาร โดยใช้แรงพยุงตัวที่เกิดจากแรงเสียดทานของดิน กับพื้นที่ผิวรอบเสาเข็ม หรือใช้การถ่ายตรงลงสู่ชั้นดินหรือหินแข็งโดยตรง เพื่อไม่ให้บ้านหรืออาคารทรุดจมลงไปในดิน

เสาเข็มอาจเป็นไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กรูปพรรณ ถ้าเป็นอาคารเล็กก็ใช้เข็มสั้นและจำนวนไม่มาก แต่ถ้าเป็นอาคารใหญ่ ก็จะต้องเสาเข็มจำนวนมากขึ้น หรือใช้เสาเข็มยาวขึ้นเพื่อถ่ายน้ำหนักลงไปยังชั้นดินได้ลึกขึ้น เพื่อรับน้ำหนักได้มากกว่า

เนื่องจากดินชั้นบนมักจะมีความหนาแน่นน้อย จึงสร้างแรงเสียดทานให้กับเสาเข็มได้น้อยกว่าชั้นดินที่อยู่ลึกลงไป และหากเสาเข็มยาวจนถึงระดับชั้นดินหรือหินแข็ง เสาเข็มจะรับน้ำหนักจากอาคารและถ่ายลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง

เสาเข็ม เป็นส่วนที่ถือว่าสำคัญที่สุดของอาคาร ทำหน้าที่ในการค้ำยันอาคาร ถ่ายน้ำหนักของตัวบ้านลงสู่พื้นดิน ลักษณะของการรับน้ำหนักเสาเข็มมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ การรับน้ำหนักจากตัวเสาเข็ม และการรับน้ำหนักจากชั้นดิน ซึ่งการรับน้ำหนักจากชั้นดินเป็นการใช้แรงเสียดทานของดินในการรับน้ำหนัก (Skin Friction) ร่วมกับการใช้ปลายของเสาเข็มในการรับแรงกดดันของดิน (End Bearing)

โดยลักษณะของการตอกเสาเข็มเราจะตอกลงไปถึงชั้นทราย เนื่องจากเป็นชั้นที่สามารถรับน้ำหนักได้ดีที่สุด ถ้าหากตอกไม่ถึงชั้นทรายในระยะยาวจะทำให้อาคารทรุดได้ แต่ละจังหวัดก็จะมีความลึกของชั้นทรายไม่เท่ากัน อีกทั้งระยะห่างของเสาเข็มสำคัญเช่นกัน ปกติแล้วต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดความกว้างเสาเข็ม เพื่อไม่ให้แรงระหว่างดินกับเสาเข็มถูกรบกวน เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม

 

จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน

 

ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน

กด >> รับสร้างบ้าน

 

สารบัญ

 

 

ประเภทของเสาเข็ม

ประเภทของเสาเข็ม  แบ่งออกได้ 7 ประเภท ดังนี้

1. เสาเข็มไม้ (Timber Pile)

เสาเข็มไม้

เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และขนส่งสะดวก แต่มีความสามารถรับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องตอกเป็นกลุ่ม ส่งผลให้มีฐานรากมีขนาดใหญ่ ควรตอกให้ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และเห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้สน และยูคาลิปตัส ตามท้องตลาดจะระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้วและความยาวเป็นเมตร เหมาะกับการนำไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดเล็ก

2. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Pile)

เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก

เป็นเสาเข็มหล่อในโรงงาน ที่ต้องออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงพอ เพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และการตอก ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงนิยมใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน

3. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง จึงทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ซึ่งช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของเสาเข็มได้ดีกว่าแบบอื่นๆ

โดยรูปแบบเสาเข็มประเภทนี้ที่นิยมนำไปใช้งานมากก็คือ เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดพิเศษที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความทนทานสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวงมักใช้เป็นเสาเข็มเจาะเสียบ (Auger press pile)

4. เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place Concrete Pile)

เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงจากการสั่นสะเทือนน้อยที่สุด สามารถทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก และสามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่า แต่มีราคาสูงกว่าในกรณีรับน้ำหนักเท่ากัน

5. เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)

เสาเข็มเหล็ก

เป็นเสาเข็มที่ทำจากเหล็กทั้งท่อน มีความสามารถในการรับน้าหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีตและไม้ แต่มีราคาแพง ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเคลือบกันสนิมที่ซึมลงไปในเนื้อเหล็ก ติดตั้งได้เร็ว ไม่มีผลกระทบทางเสียง แรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถถอน และเคลื่อนย้ายได้ง่าย นิยมใช้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้ำหนักมากแต่ต้องทำการรื้อถอนในภายหลัง

6. เสาเข็มประกอบ (Composite Pile)

เสาเข็มประกอบ

เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน เช่น ไม้กับคอนกรีต หรือเหล็กกับคอนกรีต จุดสำคัญของเสาเข็มชนิดนี้คือรอยต่อต้องแข็งแรง ทนทาน และสามารถถ่ายน้ำหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี

7. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์ (Micro pile)

เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์

เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 25 เซนติเมตรเสาเข็มขนิดนี้แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มักจะมีราคาแพงเนื่องจากใช้เทคนิคที่พิเศษกว่าแบบอื่น ๆใช้มากในงานซ่อมแซมอาคาร หรือต่อเติมบริเวณที่มีพื้นที่ในการทำงานน้อย ๆ

คุณสมบัติเด่นของเสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์(SPUN MICRO PILE)

1. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นสามารถทำงานในพื้นที่คับแคบได้เนื่องจากใช้หน้างานขนาดเล็กไม่ใหญ่มากนัก

2. การใช้วิธีการเจาะเสาเข็มแบบการใช้เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง, สะดวกในการเจาะเสาเข็ม, หน้างานสะอาดเนื่องจากไม่มีดินโคลนที่ขุดขึ้นมา อีกทั้งยังแข็งแรงและทนทานอีกด้วย

3. การเจาะเสาเข็มกดนั้นสามารถตอกได้ลึกตามความเป็นจริงเนื่องจากเสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์นั้นใช้เทคโนโลยีการเจาะเสาเข็มระดับสูง

4. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์มีมาตรฐานรองรับทำให้สามารถคำนวนโครงสร้างรากฐานเพื่อออกแบบให้รับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้

5. เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์สามารถตอกชิดกำแพง ผนังบ้านได้เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าเสาเข็มปกติทั่วไป

เสาเข็มถือเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของอาคาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยถ่ายน้ำหนักจากหลังคา ,พื้น ,คาน,เสา,ตอม่อและฐานราก ลงไปสู่ชั้นดินตามลำดับ

การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ 

1. เสาเข็มสั้น

เสาเข็มเล็ก

เสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน เช่น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดินโดยใช้แรงเสียดทานในการช่วยรับน้ำหนัก ใช้สำหรับงานหรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือฐานแบบตอกปูพรม เช่น รั้ว บ่อปลา เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกัน

2. เสาเข็มยาว

เสาเข็มบ้าน

คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคาร ผ่านชั้นดินอ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง

 

สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต

กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน

 

 

ประเภทของเสาเข็มแบ่งตามวิธีการทำงาน

1. เสาเข็มตอก

เสาเข็มตอก

มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า

เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น เสาเข็มประเภทนี้จะเป็นเสาเข็มที่ทำงานได้ง่ายที่สุด ทำงานเร็วที่สุด มีราคาถูกที่สุด และมีแรงสั่นสะเทือนมากที่สุดด้วย ดังนั้นควรพิจารณาปัจจัยต่างๆประกอบด้วย

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่ เสาเข็มรูปตัวไอ, เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน, เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง, เสาเข็มรูปตัวที เป็นต้น

ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอ ส่วนขนาดและ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว

วิธีการตอกเสาเข็ม

ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ

ข้อดีเสาเข็มตอก

1. มีราคาถูก เนื่องจากเสาเข็มที่ใช้เป็นเสาเข็มสำเร็จรูป จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเหมือนเสาเข็มแบบเจาะและสามารถกำหนดขนาดของเสาเข็มได้ตามต้องการ

ข้อเสียเสาเข็มตอก

1. รับน้ำหนักได้น้อย

2. ความลึกไม่ได้ตามที่ต้องการ

3. เสาเข็มอาจหักระหว่างตอก

4. เสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน

5. มีดินทำให้หน้างานสกปรก

6. เข้าพื้นที่แคบๆ ไม่ได้

2. เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะ

คือ เสาเข็มที่เจาะลงไปยังพื้นใต้ดิน และเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะขึ้นรูปเป็นเสาเข็มรูปเสา เมื่อปูนก่อตัวแห้ง มีหน้าที่แบกรับนํ้าหนักเป็นฐานรากของอาคารตึกรามบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งขนาดและจำนวนแล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและความต้องการของเจ้าของงาน

เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)

เสาเข็มขนาด

แบบใช้สามขาหยั่ง ลักษณะของเสาเข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขั้นมาจนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้วใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุ่มที่เจาะไว้แล้วถอดปลอกออก

2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวส่วน)

การรับน้ำหนักเสาเข็มแต่ละประเภท

มีลักษณะเหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากมากกว่า คือโดยมากจะต้องให้มะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือ การอดน้ำ

3. เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)

เข็มเจาะเสียบ

จะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกิดระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป

2.1 เสาเข็มเจาะระบบแห้ง

เสาเข็มเจาะระบบแห้ง

เป็นเสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 20–30 เมตร

เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นเสาเข็มหล่อในที่ ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 25 เมตร ในกรุงเทพมหานคร และไม่เกิน 20 เมตร ในต่างจังหวัด (ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามผลเจาะสำรวจชั้นดินประกอบด้วย เพราะดินแต่ละพื้นที่แตกต่างไปตามธรรมชาติ ) ส่วนเรื่องการรับน้ำหนักต่อต้นนั้น

เสาเข็มเจาะประเภทนี้จะพิจารณาจากแรงฟืดและ แรงต้านที่ปลายเสาเข็มเป็นหลัก ซึ่งค่าที่ได้มาจากการคำนวณพื้นที่หน้าตัด พื้นที่รอบวง และค่าความฝืดหรือความแข็งที่ได้มากจากชั้นดินในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใน กทม จะรับโหลดได้ ไม่เกิน 120 ตัน (หารค่าปลอดภัย 2.5เท่าแล้ว)

วิธีการทำเสาเข็มเจาะแบบแห้ง

วิธีการทำงานของเสาเข็มประเภทนี้ก็คือ การตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง เพื่อป้องกันตอนเจาะไม่ให้ดินพังลงมาในหลุมเจาะได้ และค่อยๆ ใช้ตัวตักดิน ตักดินขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงระดับที่ต้องการ โดยทั่วไปในกทมจะอยู่ที่ 21 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน

หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ

เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นจะใส่เหล็กข้ออ้อยที่ผูกเตรียมไว้หย่อนลงไปในหลุมเจาะ แล้วเทคอนกรีตลงไปในหลุมเจาะ จนเต็มแล้วค่อยถอนปลอกเหล็กจนหมด เป็นอันเสร็จสิ้นกรรมวิธี

เสาเข็มเจาะแบบแห้งนี้จะมีขั้นตอนการทำงานที่ละเอียดกว่าเสาเข็มตอก จึงทำให้ มีราคาสูงกว่าระบบเข็มตอก แต่จะมีมลภาวะน้อยกว่ามาก ไม่ว่าจะเรื่องเสียง การเคลื่อนตัวของชั้นดิน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่พื้นที่ ที่มีอาคารอยู่มาก
มีข้อดีคือเข้าทำงานในที่แคบ ๆ ได้ แต่ข้อเสียคือรับน้ำหนักได้ค่อนข้างน้อย

2.2 เสาเข็มเจาะระบบเปียก

เสาเข็มเจาะระบบเปียก

เป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร มีกรรมวิธีทำเหมือนการทำเสาเข็มเจาะแห้ง

แต่เวลาการเจาะดินจนถึงชั้นทรายหรือชั้นดินที่เริ่มมีน้ำไหลเข้าหลุมเจาะเรา จะต้องใช้ละลาย Bentonite ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้ เพื่อป้องกันและเคลือบผิวดินในหลุมเจาะ

ทำหน้าที่เป็นตัวยึดและประสานเนื้อดิน ตลอดจน ดันผนังดินไม่ให้พังทลายลงในหลุมเจาะ ซึ่งเสาเข็มประเภทนี้ จะสามารถเจาะได้ลึกที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเสาเข็มทุกประเภทที่มีอยู่ เช่นเสาเข็มเจาะขนาด 300 เซนติเมตร และเจาะลึกได้ถึง 100+เมตร และเสาเข็มเจาะแบบเปียก นั้นจะสามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด และเกิดมลภาวะน้อยสุด และราคาสูง

ข้อดีของ เสาเข็มเจาะ

1. สามารถลดแรงสั่นสะเทือน และเสียงรบกวนเนื่องจากการตอกเสาเข็ม

2. สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่ หรือที่ที่มีความสูงจำกัดได้

3. สามารถเลือกความยาวได้ตามต้องการ เพื่อให้เมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก

4. ไม่จำเป็นต้องออกแบบรับแรงดัดเนื่องจากการขนย้าย หรือรับแรงกระแทกเนื่องจากการตอก

5. สามารถตรวจสอบชั้นดินที่ปลายเข็มได้แน่นอนกว่า อยู่ในชั้นดินแข็ง

6. เสาเข็มไม่แตกร้าวขณะทำการก่อสร้าง

ข้อเสียของ เสาเข็มเจาะ

1. ราคาแพงกว่าเสาเข็มตอก

2. ไม่สามารถหล่อเสาเข็มให้พ้นระดับพื้นดินขึ้นมาได้

3. ไม่สามารถตรวจสอบคอนกรีตที่เทลงในหลุมเจาะได้โดยทั่วถึง ซึ่งหาผู้ปฏิบัติขาดความชำนาญ อาจะเกิดปัญหาดินพังทลาย ทำให้เสาเข็มมีลักษณะเป็นคอคอดได้

4. จำเป็นต้องมีการลำเลียง ขนส่งดินออกจากสถานที่ก่อสร้าง

2.3 เสาเข็มสปันกลม

เสาเข็มสปันกลม

เจาะแล้วตอก มักเจาะแบบไมโครไพล์ก่อน เป็นเสาเข็มที่สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มตอกแบบแรกข้างต้น เพราะกรรมวิธีในการทำนั้น ละเอียดกว่าและใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็จะมากตามไปด้วย โดยวิธีการผลิตคือ จะใส่คอนกรีตและเหล็กเข้าไปในแบบทรงกระบอก แล้วปั่นหมุนคอนกรีตด้วยความเร็วสูง

ทำให้คอนกรีตเกิดแรงเหวี่ยงในแบบทรงกระบอก ทำให้เกิดการควบแน่น ดังนั้น เมื่อปั่นถึงเวลาที่กำหนด ก็จะถอดแบบออกมาใช้งาน และเสาเข็มพวกนี้จะมีความหนาแน่นมาก แข็งแรงมากกว่า

เวลาติดตั้งเสาเข็มสปันนั้น ส่วนใหญ่ จะเจาะด้วยสว่านก่อน แล้วกดเสาเข็มลงไป อาจจะใช้ตุ้มไฮโดรลิค หรือลูกตุ้มปั้นจั่น หรือแม้นกระทั้ง ใช้ไฮโดรลิคกดเลยก็ได้ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ ส่วนของเนื้อเสาเข็มที่ตอกลงไปนั้น เข้าไปแทนที่ในเนื้อดินน้อยลง (เพราะเนื้อดินจะถูกขุดออกมาบางส่วนแล้วแต่ยังคงมีเนื้อดินอยู่จำนวนหนึ่ง ) ส่งผลให้แรงเคลื่อนตัวของดิน ถูกถ่ายไป อาคารข้างเคียงได้น้อยลง

เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความ ยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่ง จะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว

ข้อดีของเสาเข็มสปัน

1. สามารถรับแรงมากๆได้

2. เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ

3. ลดการเกิดมลภาวะทางเสียง และ ลดความสกปรกของเศษดิน

4. เข้าในพื้นที่แคบๆได้

ข้อเสียของเสาเข็มสปัน

1. ราคาค่อนข้างสูง แต่คุ้มค่า

 

บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER

บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE

  1. บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
  2. บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
  3. บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
  4. บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)

 

 

การพิจารณาเลือกใช้เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ

เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก

1. เส้นทางขนส่งเพื่อนำเสาเข็มตอกเข้าหน่วยงานก่อสร้างนั้นทำได้สะดวกหรือไม่ถ้าไม่สะดวกก็เลือกใช้เข็มเจาะ

2. มีพื้นทีเพียงพอที่จะตั้งปั้นจั่นเพื่อตอกเสาเข็มหรือไม่ และการตอกเสาเข็มจะมีผลต่อการสั่นสะเทือนและการเคลื่อนตัวของดินกับอาคารข้างเคียงอย่างไร

3. กรณีใช้เสาเข็มตอกต้องพิจารณาว่าจะต้องตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินแข็งหรือทรายแน่นมี่มีความหนามาก ๆ หรือไม่ เพราะสภาพดินเช่นนั้นอาจมีความจำเป็นต้องใช้สว่านเจาะนำ

4. กรณีใช้เสาเข็มตอกต้องมีการตอกเสาเข็มควรพิจารณาลอยต่อนั้นอยู่ในชั้นดินอ่อนที่มีค่าความชื้นใกล้เคียงขีดจำกัดเหลวหรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้รอยต่ออยู่ในชั้นดินดังกล่าว เพราะสภาพดินจะเคลื่อนไหลได้ง่ายทางที่ดีควรใช้เสาเข็มเจาะเสริมเหล็กรับแรงดันด้านข้างหรือใช้เสาเข็มตอกยาวท่อนเดียว

อ่านเพิ่มเติม ปูนซีเมนต์

 

ข้อมูลดินกับการเลือกใช้เสาเข็ม

ราคาเสาเข็ม

1. ดินทรายเป็นดินที่ไม่มีการยึดเกาะของเม็ดดิน ดังนั้นเม็ดดินแต่ละเม็ดจะเคลื่อนหลุดจากกันได้ง่ายและน้ำไหลผ่านได้สะดวกแต่ในสภาวะถูกจำกัดขอบเขตไม่สามารถเคลื่อนไถลไปทางใดได้ดินทรายจะรับแรงแบกทานได้ดีทั้งนี้ต้องคำนึงว่ากระบวนการทำเสาเข็มนั้น ๆ จะไม่ทำให้ทรายเคลื่อนไหลกลายเป็นสภาพหลวมกว่าเดิม

2. ดินเหนียวมีแรงยึดเกาะเม็ดดินดีกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวจะขึ้นอยู่กับบริเวณความชื้นในดินยิ่งความชื้นในดินมีมากเท่าใดกำลังของดินจะยิ่งลดต่ำลง

3. ควรกำหนดให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินชนิดเดียวกันทั้งอาคารไม่ใช่กำหนดให้เสาเข็มยาวเท่ากันเพราะการที่เสาเข็มยาวเท่ากันปลายเสาเข็มอาจอยู่ในดินต่างชนิดดันได้ เช่น ปลายเสาเข็มบางส่วนของอาคารอยู่ในดินอ่อนในขณะปลายเสาเข็มส่วนอื่นของอาคารอยู่ในดินแข็งหรือทรายแน่น ลักษณะนี้ทำให้การทรุดตัวไม่เท่ากัน

4. ควรให้น้ำหนักบรรทุกที่กดลงเสาแต่ละต้น (Load/Pile) มีค่าใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้ความเค้นในดินมีความแตกต่างกัน

 

สรุป เสาเข็ม

เสาเข็มจัดเป็นฐานรากที่สำคัญที่สุดของบ้านหรืออาคาร ถ้าใช้เสาเข็มที่ไม่ได้คุณภาพตัวบ้านก็จะเกิดปัญหาในภายหลังที่เราเคยได้เห็นข่าวกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นทรุด บ้างเอียง เป็นต้น ฉะนั้น เสาเข็มที่ได้ขนาดหยั่งไปในดินอย่างมั่นคง ฐานรากของบ้านก็จะแข็งแรงในการรองรับส่วนอื่นๆของบ้านต่อไป นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทราบถึงประเภทของเสาเข็ม

1.ประเภทเสาเข็มตามลักษณะการรับกำลัง

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

a. เสาเข็มแรงต้านทานส่วนปลาย เป็นเสาเข็มที่ตอกลงถึงชั้นดินทราบหรือชั้นดินแข็ง ถ้าลงถึงชั้นดินแข็งจะช่วยลดการทรุดตัว โดยเสาเข็มควรจมอยู่ในชั้นดินแข็ง 1-3เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสา

b. เสาเข็มแรงฝืด เป็นเสาเข็มที่ไม่มีชั้นดินแข็งรองรับ อาศัยการเกิดแรงฝืดระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบเสาเข็ม

2. ประเภทของเสาเข็มตามชนิดวัสดุ

a. เสาเข็มไม้ มีน้ำหนักเบา ราคาถูก รองรับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ นิยมใช้เสาเข็มไม้สนและยูคาลิปตัส

b. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่นิยมมากนัก

c. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง

d. เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ สามารถทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก และควบคุมต่ำแหน่งได้ดีกว่า ถือว่ามีราคาสูงกว่า

e. เสาเข็มเหล็ก ทำจากเหล็กทั้งท่อน รับน้ำหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีตและเสาเข็มไม้ แต่ราคาแพง และเป็นสนิมได้ง่าย

f. เสาเข็มประกอบ จุดสำคัญของเสาเข็ม คือรอยต่อต้องแข็งแรง สามารถถ่ายน้ำหนักได้อย่างดี

3.ประเภทของเสาเข็มตามรูปแบบการก่อสร้าง

a. เสาเข็มตอก เป็นการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่ต้องการ วิธีนี้นิยมใช้มากที่สุด

b. เสาเข็มเจาะหล่อในที่ เสาเข็มที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้

c. เสาเข็มเจาะแบบเปียก , เสาเข็มเจาแบบแห้ง, เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์

เพิ่มเติม

เสาเข็มสปัน (เจาะแล้วตอก) (มักเจาะแบบไมโครไพล์ก่อน) การใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ติดตั้งโดยการเจาะดินให้เป็นรูปขนาดเล็กกว่าเสาเข็มเล็กน้อย แล้วทำการกดเสาเข็มลงไปในรู แก้ไขปัญหาพื้นสั้นสะเทือน

อ่านเพิ่มเติม ปูนสร้างบ้าน

 

โครงสร้างแบบไหนต้องใช้เสาเข็ม

เสาเข็มหกเหลี่ยม

นอกเหนือไปจากตัวบ้านแล้ว โครงสร้างบ้านส่วนที่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม คือส่วนที่ไม่ต้องการให้ทรุดตัวเร็วเกินไป เช่น พื้นคอนกรีตรอบบ้าน ลานซักล้าง ลานจอดรถ ฯลฯ

ถ้าอยากให้ทรุดตัวช้า ต้องให้วิศวกรออกแบบ ให้ตอกเสาเข็มสั้น รองรับไว้เพื่อให้ทรุดตัว ในระดับใกล้เคียงกันกับตัวบ้าน แต่หากยอมให้พื้นที่นั้นทรุดตัวพร้อมกับดินได้ ก็ไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็มได้

กรณี ที่จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณออกแบบเสาเข็มรองรับไว้ คือพื้นที่ในส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ เช่น บริเวณที่วางแทงค์น้ำบนดิน, สระว่ายน้ำ หากไม่ลงเสาเข็มรองรับไว้น้ำหนักจำนวนมหาศาล จะส่งผลให้พื้นที่นั้นทรุดลงเร็วกว่าปกติ

 

สร้างบ้านใหม่ต้องใช้เสาเข็มแบบไหน

ตอก เสาเข็ม

ถ้าเป็นบ้านสร้างใหม่ไม่เกิน 2 ชั้น มักจะใช้เสาเข็มคอนกรีตแบบเข็มตอก เพราะประหยัดที่สุด มักใช้เป็นแบบเสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ (I) ความยาวปานกลาง ระหว่าง 12 – 16 เมตร ซึ่งเข็มระดับนี้ ส่วนใหญ่จะยังคงอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวรองรับน้ำหนักอยู่  ถ้าเป็น อาคารใหญ่มากขึ้น จะต้องใช้เสาเข็มยาวขึ้น ตั้งแต่ 18 – 24 เมตร ให้ถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง

แต่ถ้าเป็นพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ ที่ดินมีความหนาแน่นสูง หรือมีชั้นดินแข็งที่อยู่ตื้นมาก วิศวกรอาจจะออกแบบให้เสาเข็ม ตอกลงไปเพียง 6 – 8 เมตร ก็สามารถถ่ายน้ำหนักสู่ชั้นดินแข็งได้เลย

เสาเข็มอีกประเภทที่ใช้ใน บ้านพักอาศัย ทั้งสร้างบ้านใหม่ และงานต่อเติมบ้าน คือ เข็มเจาะ ซึ่งจะเป็นเข็มเจาะระบบเล็กสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องมือเข้าไปทำงานในพื้นที่แคบๆ ทำงานเจาะดิน หล่อเข็มได้โดยไม่สร้างแรงกระเทือน กับโครงสร้างอาคาร/ฐานรากใต้ดิน ของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง (เทศบัญญัติในบางพื้นที่กำหนดให้ใช้ระบบเข็มเจาะกรณีที่อาคารที่สร้างใหม่ห่างจากอาคารเดิม/เพื่อนบ้านน้อยกว่า 30 เมตร) สามารถ ทำเข็มสำหรับอาคารต่อเติมให้รองรับน้ำหนักได้ใกล้เคียงกับอาคารเดิม

เข็มที่หล่อจากระบบนี้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร ส่วนความยาวเจาะได้ลึกถึงระดับ 24 เมตร เลยทีเดียว

 

ราคาของเสาเข็ม

เสาเข็ม ราคาถูก

เข็มตอกจะมีราคาประหยัดกว่าเข็มเจาะถึง 2 – 3 เท่า เช่น ถ้าเข็มตอกราคา 8,000 บาท/ต้น เข็มเจาะจะราคาสูงถึง 20,000 – 25,000 บาท/ต้น เพื่อรับน้ำหนักได้ในระดับเดียวกัน

แต่การเลือกใช้เข็มตอก หรือเข็มเจาะ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ วิศวกรที่จะประสานงาน กับสถาปนิกผู้ออกแบบ ซึ่งจะร่วมกันเป็นผู้กำหนด เพราะอาจมีหลายๆ ปัจจัย เช่น อาจติดปัญหาเพื่อนบ้านใกล้เคียง หากใช้เข็มเจาะแล้วไปกระเทือนโครงสร้างเพื่อนบ้าน หรือปัญหา ถนน ซอย แคบมากจนไม่สามารถใช้เข็มตอกได้

ดังนั้นการสร้างบ้านใหม่ หรือการต่อเติมบ้าน เรื่องของเสาเข็ม จึงเป็นอีกเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นเดียวกัน เพราะจะส่งผลถึงความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม เสาเข็ม มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติเด่น และวิธีการนำไปใช้งานอย่างไร

 

การตอกเสาเข็ม 

ปั้นจั่น ตอก เสาเข็ม

ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มประเภทไหนอย่างไรถึงเหมาะสม เรามีข้อควรพิจารณาปัจจัยต่างๆในการประกอบการตัดสินใจดังต่อไปนี้

1. เราควรพิจารณาชั้นดินก่อนเป็นอันดับแรก โดยควรทำการเจาะสำรวจชั้นดินก่อนการออกแบบ และรอผลเจาะสำรวจชั้นดินมาพิจารณาเป็นข้อแรก ว่าเราควรใช้เสาเข็มประเภทไหน และ รับน้ำหนักได้เท่าไร เหมาะสมกับอาคารที่จะก่อสร้างหรือไม่

2. พิจารณาถึง อาคารข้างเคียง ทางเข้าออก ว่ามีอาคารข้างเคียง ในรัศมี 30 เมตรจากพื้นที่ก่อสร้างหรือไม่ ถ้ามีอาคารอยู่ จะอยู่ภายในพรบ.(ในกทม.) ที่ต้องใช้เสาเข็มที่ต้องเจาะดินออก

3. ค่าใช้จ่าย คงมีคำถามถามว่าทำไมถึงไม่พิจารณาเรื่องราคาค่าใช้จ่ายในข้อแรก แน่นอนว่าทุกท่านอยากประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง นั่นหมายความว่า ต้องใช้เสาเข็มตอกเท่านั้น เพราะมีราคาถูกที่สุด แต่ถ้าท่านเลือกใช้เสาเข็มตอกก่อน ท่านต้องวางมัดจำในการหล่อเสาเข็ม จนกระทั่ง ค่าขนส่งที่นำเสาเข็มตอกเอามาส่ง พอมาส่งแล้ว

ถ้าทางเข้าออก มีปัญหา ไม่สามารถขนเสาเข็มเข้ามาได้ หรือพอเสาเข็มเข้ามาได้แต่ ข้างบ้านไม่ยอมให้ตอก หรือ ตอกได้แต่อาคารข้างเคียงแตกร้าว ปัญหาเหล่านี้จะตามมาทันที ต้องฟ้องร้องเสียเวลาเสียเงินทองในการแก้ไขปัญหา

4. ระยะเวลาในการทำงาน แน่นอนว่าเสาเข็มตอกจะใช้เวลาน้อยที่สุด แต่ถ้าตอกแล้วโดนสั่งระงับการก่อสร้าง เพราะผิด พรบ จะคุ้มกันไหม ดังนั้น ถ้าพิจารณา 3 ข้อข้างต้นแล้ว จึงต้องเข้าใจว่า เสาเข็มเจาะจะใช้เวลามากกว่าเพราะขั้นตอนการทำงานนั้นจะยุ่งยากกว่า ละเอียดกว่า จึงทำให้ต้องเผื่อเวลาในการทำงานเสาเข็มเจาะให้มากกว่าเสาเข็มตอก

งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร

หาผู้รับเหมา หาช่างก่อสร้าง รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน รับทำ BOQ ถอดแบบประมาณราคา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!