สีทาบ้าน ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาเติมสีสันและเสริมบรรยากาศให้บ้านของเราดูสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งสีแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกโดยพิจารณาลักษณะการใช้งานเป็นหลัก การเลือกชนิดของสีให้เหมาะกับการใช้งาน มีข้อควรพิจารณาอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่
1. พื้นผิวที่ต้องการทา : ต้องรู้ก่อนว่าพื้นผิวที่ต้องการทาเป็นวัสดุชนิดใด เพราะสีแต่ละชนิดจะสามารถยึดเกาะได้ดีบนวัสดุที่แตกต่างกัน เมื่อเลือกชนิดของสีได้ตรงกับชนิดของพื้นผิว สีก็จะยึดเกาะได้ทนทานยิ่งขึ้น
2. พื้นที่ที่ต้องการทา : ดูว่าจะใช้ทาภายนอกหรือภายในอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปพื้นที่ภายนอกต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่รุนแรงกว่าภายใน หากเราจะทาสีภายนอกอาคารก็ควรเลือกชนิดที่มีความทนทานเป็นพิเศษ หรือหากจะใช้ทาภายในก็ควรเลือกสีที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในบ้าน
3. รูปลักษณ์ที่ชื่นชอบ : สีแต่ละชนิด เมื่อทาออกมาแล้วจะให้รูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องความทึบของสี ความสดของสี และความเงางาม นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมสีชนิดใหม่ที่สามารถสร้างผิวสัมผัสให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้อย่างอิสระตามใจเจ้าของบ้าน
สารบัญ
ส่วนผสมของ สีทาบ้าน
1. ผงสี
เฉดสีต่าง ๆ ที่เราเลือกนั้น เกิดจาก “ผงสี” ที่เป็นส่วนผสมทำให้เกิดสีมาปิดบังสีพื้นผิวเดิม ทำให้เรารู้ว่าสีนั้นเป้นสีอะไร และทำให้เกิดความสวยงามกับผนังบ้าน มักใช้ผงสีที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โมโนอะโซ พิกเม้นท์ (Monoazo Pigment) และส่วนผสมที่เป็นอนินทรีย์ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น
2. สารยึดเกาะ หรืออะคริลิก
เป็นส่วนประกอบสำคัญของสีทาบ้าน เพราะสารนี้จะทำหน้าที่ยึดประสานผงสีให้เข้ากับสารยึด เพื่อยึดเกาะให้ติดกับพื้นผิว พร้อมทำหน้าที่เคลือบพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้สีมีความเงางาม สารยึดที่เป็นองค์ประกอบหลักจะกระจายในรูปของ อิมัลชัน มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นคล้ายกาวหากยังไม่ผสมกับผงสี แต่เมื่อนำมาผสมกับผงสีจะได้เนื้อสีตามผงสี ซึ่งลักษณะที่ดีของสารยึดเกาะ คือ
- สามารถแห้งตัวได้เร็ว
- มีความยืดหยุ่น เหนียว ไม่เปราะง่ายเมื่อแห้งตัว
- ทนต่อสภาพอากาศ แสงแดด สิ่งแวดล้อมหรือกรดต่าง ๆ
3.ตัวทำลาย
ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ทำหน้าที่ไม่ให้สีจับตัวกันเป็นก้อน และช่วยให้สารยึดเกาะกับผงสีเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้มีความหนืดที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น น้ำ
4.สารเติมแต่ง
เป็นสารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้ในสีทาบ้าน อาจจะเติมลงไปเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สีทาบ้านมีคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ป้องกันการเกิดฟองของสี, ป้องกันการบูดเน่าของสี, เพิ่มการกระจายตัวของสี, เพิ่มแรงยึดเกาะให้สีทนทาน, เพิ่มความเรียบเนียน, เพิ่มความมันเงา, ป้องกันแสงแดด, ป้องกันความชื้น-เชื้อรา เป็นต้น
สารที่ใช้เติมบางชนิดมักมีโลหะเป็นส่วนผสม ซึ่งปัจจุบันอาจจะเลิกใช้หรือบางชนิดยังมีอยู่ในองค์ประกอบ เช่นปรอท ตะกั่ว โดย มอก. ประกาศกำหนดให้มีปริมาณปรอทเป็นส่วนประกอบไม่เกินร้อยละ 0.05 และตะกั่ว ไม่เกินร้อยละ 0.06 ดังนั้น ควรเลือกซื้อสีที่มีสารปรอทและตะกั่ว ให้น้อยหรือไม่มีเลยจะดีที่สุด
สีที่ใช้ในงานก่อสร้าง
สีที่ใช้หลักๆ ในงานก่อสร้างจะมีด้วยกัน 2 ประเภท แบ่งตามตัวทำละลายของสีเป็นหลัก
1. สีน้ำ
หรือเรียกกันว่าสีพลาสติก หรือสีอะคริลิกนั้นมีน้ำเป็นตัวทำละลาย ใช้สำหรับทาบนพื้นผิวปูนและคอนกรีต ซึ่งสีทาอาคาร 70% จะใช้เป็นสีชนิดนี้
2. สีน้ำมัน
ใช้สำหรับทาบนผิวไม้ และโลหะ ซึ่งมีทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
บริการของเรา
กดที่นี่!! >> บริษัทรับสร้างบ้าน
กดที่นี่!! >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน
ชนิดของ สีทาบ้าน และการใช้งาน
1. สีด้าน
สีชนิดนี้มีราคาถูกที่สุด ผิวจะมีความด้าน สวย ดูทันสมัย ดีไซน์เนอร์สมัยใหม่มักจะนิยมใช้สีชนิดนี้ มีข้อเสียคือจะทำความสะอาดยาก และสีด้านจะจับฝุ่น โดยช่างมักจะชอบทำงานกับสีชนิดนี้ที่สุดเพราะงานจะดูเนียนเวลาฉาบปูน สวยเรียบสบายตา ไม่มีเงาสะท้อนแสงเหมือนสีที่ให้ความเงา มีคุณสมบัติคือเรื่องของความสบายตา ราบเรียบเวลามอง ไม่มีการสะท้อนของแสง ทำให้ไฟจากหลอดไฟหรือแสงจากภายนอก ไม่สะท้อนมารบกวนสายตาให้รำคาญตาเวลาทำงาน เข้ากันได้ดีกับสีเฟอร์นิเจอร์แบบต่าง ๆ ไม่โดดเด่นจนเกินไป
ข้อดีของสีด้าน คือ ช่วยปกปิดร่องรอยต่าง ๆ บนกำแพงได้เป็นอย่างดี เพราะตัวสีจะกลบรอยขูดขีด ไม่ให้เห็นเด่นชัด จึงเหมาะกับการทาในห้องสำหรับใช้ในการพักผ่อน เช่น ห้องนั่งเล่นและห้องนอน เป็นต้น
ข้อสังเกตุ คือ เลอะง่ายกว่าสีประเภทเงาอย่างเห็นได้ชัดและทำความสะอาดยากกว่า จึงไม่เหมาะกับห้องน้ำ ห้องครัว และห้องเด็กที่เสี่ยงต่อการเลอะของผนัง
2. สีกึ่งเงา
สีชนิดนี้จะแพงกว่าสีด้าน มีคุณสมบัติสะท้อนเงาเล็กน้อย ช่วยให้อาคารสว่างขึ้น และที่สำคัญคือสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่าสีด้าน
3. สีเงา
เป็นสีที่มีความคงทนสูงที่สุด ทำความสะอาดง่ายที่สุด แต่มักจะไม่ค่อยใช้กันเนื่องจากการออกแบบจะทำได้ยาก ราคาจะแพงกว่าหรือเท่ากับสีกึ่งเงา
ข้อดีที่สำคัญ คือ เช็ดล้างทำความสะอาดง่าย ด้วยคุณสมบัติเรียบมันทำให้เหมือนมีฟิล์มชั้นหนึ่งป้องกันตัวสีไว้ สามารถเช็ดล้างออกได้ง่ายเมื่อเกิดการเลอะ เหมาะสำหรับใครที่มี แวนโก๊ะ ตัวน้อยอยู่ที่บ้านชอบทำจิตกรรมฝาผนัง สีประเภทนี้จึงเหมาะกับห้องที่มีโอกาศเลอะเช่น ห้องครัว ห้องเด็ก ที่ตอบโจทย์การใช้งานเป็นต้น
ข้อสังเกตุด้วยคุณสมบัติของความเงาทำให้การสะท้อนแสงทำให้อาจจะเกิดการรบกวนสายตาจากแสงสะท้อนรบกวนสายตาและการทำงานได้ ข้อสังเกตุที่สองคือ ถ้าผนังฉาบปูนไม่เรียบเวลาที่ผนังโดนแสงส่อง จะทำให้เห็นความไม่เรียบเนียนของผนังที่ฉาบไม่เรียบร้อยเป็นคลื่นได้ชัดเจน เรียกได้ว่านอกจากจะไม่สวยแล้วยังขัดตาขัดใจมากเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม ไฟแต่งห้อง
ชนิด สีทาบ้าน ที่ใช้กันทั่วไป
สีทาบ้านที่เราใช้กันทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. สีทาบ้านภายนอก
สีทาภายนอกนั้นจะมีราคาที่แพงกว่าสีภายใน เพราะมีส่วนผสมที่เพิ่มความคงทนให้สีติดได้ทนนาน กันเรื่องความชื้นและเชื้อรา รวมไปถึงความร้อนและแสงแดดได้เป็นอย่างดี ไม่หลุดลอกหรือซีดจางได้ง่าย โดยเราต้องเลือกสีภายนอกที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปกปิดรอยร้าวได้ดีเยี่ยม ทำความสะอาดรอยเลอะคราบสกปรกต่างๆ ได้ง่ายโดยไม่ทำให้เนื้อสีนั้นเสียหาย เป็นสีจริงที่ใช้ทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการ เมื่อต้องใช้ทาภายนอก
สีจึงถูกออกแบบมาให้ทนทานกว่าดีทาภายใน เพราะต้องเจอกับแดดและฝน จึงมีการเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนาน ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็สามารถใช้ทาภายในได้ด้วย
สีทาภายนอก ควรเลือกสีประเภท อะคริลิก (Pure Acrylic Paint ) โดยทำการทา 3 รอบ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสี เพราะกว่า 80% ของการวิบัติของสี เกิดมาจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดี ดังนั้น ก่อนการทาสีนั้นต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตก
หากมีต้องทำ การปิดรอยต่อก่อนให้เรียบร้อย ก่อนการทาสี โดยปกติการทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2-3 รอบและไม่ควรทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสีมีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
2. สีทาบ้านภายใน
มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสีภายนอก แต่จะเป็นเนื้อสีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีส่วนผสมของสารอื่น นอกจากบางยี่ห้อหรือสีภายในบางชนิดนั้นเพิ่มคุณสมบัติเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการช่วยเสริมให้บ้านดูมีสีสัน ทาทับจากสีรองพื้นแล้วเพิ่มโดดเด่นให้กับผนัง สามารถเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำ สิ่งสกปรกได้ง่าย เป็นสีที่ทาทับส่วนผนังภายใน เป็นสีที่ไม่ต้องเจอแสงแดด ฝน เท่าไหร่ แต่การทาสีภายในนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้นควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างง่าย ป้องกันเชื้อราได้ดี และไม่มีกลิ่นฉุน
สีที่จะทาส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่น ๆ ควรทา 2-3 รอบ ไม่ควรนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สีหลุดร่อนได้ง่าย ดังนั้น ผนังที่จะทาสีต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวมได้
3. สีทารองพื้น
เป็นสีที่ทารองพื้นหลังจากฉาบปูนเสร็จ ก่อนที่จะทาสีทับจริงภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดโทนสีที่ต้องการและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุที่ฉาบให้ดียิ่งขึ้น สีทารองพื้นนั้นเหมือนกับสีทาภายนอกและสีทาภายใน แตกต่างกันที่ชนิดของกาว และส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะที่ทนต่อสภาพความเป็นด่างที่ดี เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูนนั่นเอง สีทารองพื้น จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ สีทารองพื้นปูนใหม่ และ สีทารองพื้นปูนเก่า จะนำไปใช้ต่างกัน
- สีทารองพื้นปูนใหม่ มีเนื้อสีขาว สูตรน้ำ ไม่มีกลิ่นฉุน ทาง่ายและราคาถูก ใช้สำหรับ
ทาผนังฉาบปูนใหม่เท่านั้น เพื่อปกป้องรอยด่างที่จะเกิดขึ้นหลังจากทาสี เนื่องจากในช่วงแรกหลังจากการฉาบผนังใหม่ ปูนฉาบอาจจะมีการระบายความชื้นออกมา ส่วนผสมของสีรองพื้นปูนใหม่จะช่วยปกป้องการเกิดรอยด่างและช่วยเรื่องการยึดเกาะที่ดีกับผนังฉาบปูนและสีทาทับหน้า
- สีทารองพื้นปูนเก่า แบ่งเป็น 2 สูตรคือ สูตรน้ำ มีลักษณะเป็นสีขาว และสูตรน้ำมัน มี
ลักษณะเป็นสีใส และกลิ่นฉุนกว่าสูตรน้ำ แต่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะได้ดีกว่าสูตรน้ำ สีรองพื้นปูนเก่าเหมาะสำหรับการใช้ทางรองพื้นผนังฉาบปูนที่ผ่านการทาสีหรือใช้งานมานานแล้ว ซึ่งอาจมีการกัดกร่อนของสีทับหน้าเดิม มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำ โดยทำการขูดสีทับหน้าเดิม ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกก่อน รอให้แห้งสนิท แล้วจึงทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนที่จะทาสีทับหน้าตาม
ชนิดสีที่ใช้ในพื้นผิวต่างๆ
1. สีงานไม้
ใช้ทาตัวบ้านที่ทำจากไม้ พื้นไม้ รั้วไม้ ทาเฟอร์นิเจอร์ไม้ ส่วนที่เป็นไม้ภายในบ้านให้เป็นสีตามต้องการ สีทาไม้ที่แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ สีรองพื้น และสีทาไม้จริง โดยสีทาไม้นั้นไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงแค่การตบแต่งเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการรักษาเนื้อไม้อีกด้วย มีทั้งแบบที่ช่วยขับให้สีของเนื้อไม้ดูสดและเด่นชัดขึ้น และแบบที่เปลี่ยนสีไม้ให้กลายเป็นสีต่างๆ ตามที่ต้องการ โดยเฉพาะงานไม้ภายนอก ดังนั้นการเลือกสีที่เหมาะสมกับการใช้งาน และการดูแลทาสีใหม่เมื่อสีเดิมหมดอายุนั้นจะช่วยยืดอายุของโครงสร้างไม้ให้อยู่ได้นาน
2. สีน้ำมัน
เป็นสีที่ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย นิยมใช้กับงานทาไม้ ทาเหล็ก แต่ก็สามารถเอามาทาพื้นปู หรือคอนกรีตได้เหมือนกัน ลักษณะเด่นของสีน้ำมันก็คือ มันจะมีความเงางาม ทำความสะอาดง่าย แต่ข้อด้อยของมันก็คือมันมีราคาแพง และแห้งช้า (ประมาณ 6 ชั่วโมง)
3. สีหลังคา
บางครั้งเรียกกันว่าสีทากระเบื้องหลังคา เป็นสีอะคริลิกพอลิเมอร์ ที่ผสมสารที่ช่วยให้สามารถสะท้อนรังสียูวีซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้สีของหลังคาซีดจางลง นอกจากนี้ในสีบางรุ่นยังมีการผสมสารที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน เพื่อสะท้อนความร้อนออกจากหลังคาช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน
4. สีกันสนิม
ใช้ทาวัสดุเหล็กเพื่อกันสนิมขึ้น มักใช้ทาก่อนที่จะลงสีน้ำมันทับลงไปอีกที สีกันสนิมเป็นสีรองพื้นที่ใช้ทาลงบนวัสดุเพื่อให้สีเคลือบติดกับวัสดุนั้น มีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการกันสนิม สีกันสนิมที่ดีจะช่วยไม่ให้เหล็กเกิดสนิมหรือช่วยชะลอระยะเวลาการเกิดสนิทให้ยืดออกไป
5. สีกัลวาไนซ์
เป็นสีที่มีคุณสมบัติและรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ใช้กับเหล็กได้หลายประเภท ปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะทาง่ายไม่ต้องรองพื้น แห้งเร็วใน 1-2 ชม. ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้การทานี้สีกัลวาไนซ์ประหยัดกว่านี้น้ำมันแบบเดิม ทั้งค่าสี ค่าแรง และเวลา และที่สำคัญยังมีความสามารถในการยึดเกาะสูงกว่าสีน้ำมันทั่วไป
บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER
บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE
- บริการรับสร้างบ้าน (สนใจ กด >> บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน)
- บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
- บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
- บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)
เกรด สีทาบ้าน
เกรดของสีก็มีความสำคัญที่ควรเอามาพิจารณาว่า เราควรจะเลือกสีเกรดไหน กับบ้านส่วนไหนของเราบ้าง โดยเกรดสีนั้นจะแบ่งเป็น เกรด A , B , C , D และ E โดยความแตกต่างของสีแต่ละเกรดมีดังนี้
1. สีเกรด A
เป็นสีที่มีส่วนผสมของอะคริลิค 100% เป็นสีที่มาจากทางฝั่งยุโรป มีคุณภาพสูง อายุการใช้งานยาวนาน ตั้งแต่ 5-10 ปี
2. สีเกรด B
เป็นสีที่มีส่วนผสมของอะคริลิค 100% เช่นกัน เป็นสีที่มาจากแถบเอเชีย มีคุณภาพกลางๆ อายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี
3. สีเกรด C
เป็นสีที่มีส่วนผสมของอะคริลิค 70% และจะผสมสารอื่นๆเข้าไปอีก 30% คุณภาพพอใช้ อายุการใช้งานประมาณ 1-3 ปี
4. สีเกรด D
เป็นสีเกรดต่ำสุด จะมีสารอื่นๆผสมอยู่ในสีมากกว่า 30% ส่วนผสมของอะคริลิคก็จะน้อยลงตามลำดับ
เคล็ดลับการทาสีบ้านให้ติดทนนาน
ความจริงแล้วการทาสีบ้านให้ติดทนนาน ใช้งานได้ชั่วลูกชั่วหลานนั้นง่ายๆมาก แต่เราต้องใส่ใจรายละเอียดกันสักหน่อย ก่อนอื่นเริ่มจากการเลือกสีให้เหมาะสมกับการใช้งาน คือหากเป็นสีที่เราต้องการใช้ทาภายนอก เราก็ควรเลือกสีที่เป็นเกรด A หรือ B ไปเลย แพงหน่อยแต่ใช้งานได้นานเป็น 10 ปี
แต่หากเป็นสีที่ใช้ทาภายในเราก็อาจดร็อปลงมาได้ เพราะสีภายในบ้านไม่ต้องต้องเผชิญกับสภาวะสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่ก็ควรเลือกสีที่สามารถเช็ดและทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งเดี๋ยวนี้มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ
ส่วนการทาสีนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สีบ้านติดคงทนถาวรนั้นก็คือ การเตรียมพื้นผิวบริเวณที่เราทาสีให้ดี ให้เรียบ ไม่มีฝุ่นละอองยึดเกาะ ไม่มีไขมัน ไม่มีความชื้น หากมีรอยแตกก็ควรซ่อมแซมหาปูนมาปิดให้เรียบสนิท เมื่อเก็บความเรียบร้อยของพื้นผิวได้แล้ว จึงค่อยเอาสีที่เราต้องการทาทาลงไป โดยการทาสีนั้นก็ควรมาประมาณ 2-3 ชั้นขึ้นไป เพื่อให้สีเนียนเรียบ สวยงาม แต่อย่าทาเกิน 5 ชั้น เพราะจะทำให้ชั้นสีหนาเกินไป ซึ่งจะทำให้สีหลุดลอกได้ง่ายกว่าการทาเพียง 2-3 ชั้น นอกจากจะเปลืองสีมากกว่าแล้ว ความทนทานของสีก็ยังน้อยกว่าด้วย
คุณสมบัติของ สีทาบ้าน ชนิดต่าง ๆ
1. สีอะคริลิกหรือสีพลาสติก
เป็นชนิดที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เหมาะสำหรับใช้ทาบนพื้นผิวที่เป็นซีเมนต์ คอนกรีต รวมถึงกระเบื้อง เพื่อให้ได้สีสันที่สวยงาม โดยสีอะคริลิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สีทาภายนอกและสีทาภายใน
1.1 สีทาภายนอก
ถูกออกแบบมาให้พร้อมเผชิญกับสภาวะแดดและฝนโดยตรง จึงต้องเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ (Additive) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนาน จึงมีความทนทานกว่าและมีราคาที่สูงกว่าสีทาภายใน โดยสีทาภายนอกสามารถใช้ทาได้ทั้งภายนอกและภายในบ้าน
1.2 สีทาภายใน
ถูกออกแบบมาให้ใช้ทาภายในอาคารเท่านั้นเพราะไม่จำเป็นต้องทนแดดทนฝน หากนำไปใช้ทาภายนอกก็จะทำให้สีหลุดล่อนและซีดจางได้ง่าย ๆ แต่สีทาภายในก็มีข้อดีที่มีกลิ่นและสารเคมีเบาบางกว่าสีทาภายนอก
2. สีน้ำมัน
เป็นสีที่ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย (Solvent) มีจุดเด่นที่มีความเงางาม แต่มีข้อจำกัดที่ราคาค่อนข้างสูงและแห้งช้า สีน้ำมันค่อนข้างเหมาะกับการใช้ทาบนผิวโลหะหรือไม้ ไม่นิยมใช้ทาบนซีเมนต์หรือคอนกรีตเท่าไรนัก
3. คัลเลอร์ซีเมนต์
เป็นนวัตกรรมการผสมสีลงในเนื้อซีเมนต์ มีจุดเด่นที่ความคงทน เพราะคัลเลอร์ซีเมนต์มีคุณสมบัติที่สามารถยึดเกาะบนพื้นผิวซีเมนต์ได้ดีเยี่ยมเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความทนทานมากเป็นพิเศษ ช่วยให้สีติดทนคู่ผนังบ้านได้ยาวนาน และเพราะเป็นสีที่ให้อารมณ์ประหนึ่งเป็นธรรมชาติ ไม่ทิ้งปัญหาผนังหลุดล่อนลอกพองเหมือนสีชนิดอื่น ๆ เมื่อถูกฝนหรือความชื้น อีกทั้งยังช่วยปิดรอยแตกลายงาขนาดเล็กได้ทันที ใช้ได้ทั้งงานภายในและภายนอก ไม่มีกลิ่น ปลอดภัยต่อสุขภาพ
และที่สำคัญยังสามารถใช้ได้หลากหลายวิธี ทั้งการทา ฉาบ พ่น และสร้างลวดลายต่าง ๆ จึงสร้างสรรค์ความงามได้หลากหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องทาสีรองพื้นก่อน เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของสีระดับ premium หลายรุ่นมารวมกันในกระป๋องเดียว ลงทุนครั้งเดียว สวยคุ้มยาวนาน
อ่านเพิ่มเติม เลือกทาสีบ้านทั้งที เอาให้สีสวย ให้เสริมโชค
การแบ่งประเภทของสีตามการใช้งาน
การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด มี 4 ชั้น คือ
1. สีรองพื้น(Primer)
หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้
2. สีชั้นกลาง(Undercoat)
เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า
3. สีทับหน้า(Top Coat)
เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ
4. สีทับหน้าประเภทใส(Clear T/C)
เป็นสีที่จะไม่มีสี คือ เป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร