กระจกบ้าน กับ การสร้างบ้าน

กระจกบ้าน

กระจกบ้าน (กับ การสร้างบ้าน) เป็นวัสดุหลักในการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่มีความมหัศจรรย์ เมื่อถูกหยิบขึ้นมาแต่งบ้านครั้งใดก็สามารถเนรมิตให้ห้องนั้นๆ สวยขึ้นทันตา ไม่ใช่แค่ความสวยงามเท่านั้น เพราะกระจกแต่งบ้านยังช่วยสะท้อนแสงจากธรรมชาติให้เข้ามาภายในตัวบ้านได้มากยิ่งขึ้น ทำให้ห้องดูมีมิติ โปร่ง โล่ง กว้างขวาง อยู่สบายขึ้น แถมช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี และช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้บ้านดูหรูหรามีสไตล์ขึ้นอีกเท่าตัว

 

สารบัญ

 

ประเภทของ กระจกบ้าน 

ประเภทของกระจกบ้าน

ปัจจุบันอาคารต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้ กระจก เป็นส่วนประกอบของผนังอาคาร เพราะนอกจากจะมีความสวยงามแล้วยังช่วยให้ผู้อยู่ภายในอาคารสามารถมองออกไปเห็นทัศนียภาพภายนอกได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้กระจกของผู้ออกแบบอาคาร จึงควรคำนึงถึงแสงและความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร การประหยัดพลังงาน ความสวยงาม และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในบ้าน หรือผู้ใช้อาคารด้วยเป็นสำคัญ

ปัจจุบันการออกแบบบ้านหรือคอนโดที่มีช่องแสงเยอะๆ และได้ช่องแสงขนาดใหญ่นั้นเป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนมาก เพราะเป็นช่องให้แสงธรรมชาติสามารถลอดผ่านเข้ากระจกเข้ามาได้ ทำให้ภายในบ้านดูโปร่งโล่งและยังเปิดมุมมองออกสู่ภายนอกได้อีกด้วย จากเหตุผลนี้ทำให้ กระจก กลายเป็น 1 ในวัสดุสำคัญที่เรามักเห็นกันอยู่ในหลายๆ ส่วนของอาคาร

การออกแบบช่องเปิดให้กับบ้าน นอกจากจะเป็นการช่วยให้ภายในบ้านดูโปร่งโล่งแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความสว่างให้พื้นที่ภายในบ้านและเป็นการเปิดช่องให้สามารถมองทัศนียภาพภายนอกได้ด้วย แต่แสงธรรมชาติที่เข้ามาในบ้านก็มาพร้อมกับความร้อนจากแสงแดดที่ส่องผ่านเข้าในบ้าน หรือปัญหาอย่างการติดตั้งกระจกบนชั้นสูงๆ ก็มีความเสี่ยงที่กระจกจะแตกแล้วหล่นลงมาโดนคนข้าง ล่างได้เช่นกัน แล้วถ้าอยากใช้วัสดุกระจกในตัวบ้านควรทำอย่างไรดี

การเลือกใช้กระจกที่ถูกชนิดเป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งชนิดของกระจกนั้นมีให้เลือกหลากหลาย แต่ละชนิดก็เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยในโครงการอสังหาฯ ปัจจุบันมักจะใช้ “กระจกลามิเนต” (Laminated Glass) และ “กระจกเทมเปอร์” (Tempered Glass) เป็นส่วนใหญ่ จริงๆ แล้วชนิดของ กระจกบ้าน ที่ใช้กับอาคารมีอีกมากมายหลายชนิด จึงอยากพาไปรู้จักแต่ละชนิดกันก่อน

 

ชนิดของกระจกที่ใช้กับที่อยู่อาศัย 

ชนิดของกระจกบ้าน แบบไหนดี

กระจก เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากวัตถุดิบ หลักๆ คือทรายแก้ว (Silica sand) ในสัดส่วนประมาณ 60% ซึ่งจะน้ำมาผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น โซดาแอซ, แร่ธาตุจำพวกหินปูน, ผงคาร์บอน ผงเหล็ก, โซเดียมซัลเฟตและสารเคมีอื่นๆ โดยวิธีผลิตคือการนำวัตถุดิบที่กล่าวมานี้มาผสมให้เข้ากันด้วยความร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส จนวัตถุดิบที่ผสมกันนี้ละลายจนเป็นของเหลว เรียกของเหลวนี้ว่า “น้ำกระจก”

หลังจากนั้นก็ปรับอุณหภูมิให้ลดลงจนเหลือประมาณ 1,100 องศาเซลเซียส เพื่อให้น้ำกระจกนี้มีความหนืดพอเหมาะ แล้วจึงนำไปขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ อันนี้เป็นขั้นตอนทั่วไปของวิธีผลิตกระจก ซึ่งในกระจกแต่ละชนิดนั้นก็จะมีเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้เกิดคุณสมบัติที่แตกต่างกันอีกจะขอแยกตามกระบวนการผลิตออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

 

 

จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน

 

ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน

กด >> รับสร้างบ้าน

 

 

1. กระจกวัตถุดิบ (Annealed glass) 

ติดกระจกบ้านเอง

“Annealed Glass” หรือที่บางทีก็เรียกว่า “Float Glass” เป็นวิธีการผลิตกระจกที่เข้ามาแทนที่ “Sheet Glass” ซึ่งเป็นกระจกที่ถูกผลิตเป็นรุ่นแรก ๆ จึงยังมีความไม่เรียบของผิวกระจก มีลักษณะที่เป็นลอนๆ อยู่บ้าง ทำให้ภาพบิดเบือน ต่อมาจึงมีการพัฒนากระบวนการผลิตโดยการปล่อยน้ำกระจกให้ไหลลอยไปขึ้นรูปบนผิวดีบุกหลอม แล้วปล่อยให้น้ำกระจกนี้เซ็ตตัวเองตามธรรมชาติ

ซึ่งระหว่างกระบวนการจะมีการควบคุมอุณหภูมิและความดันไว้อย่างดี ทำให้ได้แผ่นกระจกที่มีผิวเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น มีความโปร่งแสงสูง เรียกกระจกที่ผลิตด้วยวิธีนี้ว่า “กระจกวัตถุดิบ (Annealed glass)” ส่วนใหญ่จะมีเนื้อใสอมเขียวนิดๆ ซึ่งถ้าใครต้องการให้กระจกมีสีก็สามารถสั่งผลิตได้ในขั้นตอนนี้เลย กระจกชนิดนี้เวลาแตกจะเป็นปากปลาฉลามก็จะอันตรายหน่อย แต่ยังโชคดี ที่รอยแตกจะวิ่งเข้าสู่กรอบ ทำให้ยังไม่ร่วงลงมาที่พื้นในทันที ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ทำกรอบรูป กระจกเงา และกระจกที่ใช้สำหรับเครื่องเรือน

กระจกโฟลต

คือ กระจกที่มีความโปร่งแสงสูง ผิวเรียบสนิท มีความแข็งแรง การสะท้อนสามารถทำได้ดี ฟองอากาศน้อย และมีการจัดเรียงตัวของโมเลกุลภายในเนื้อกระจกที่ดีกว่า กระจกแผ่น Sheet Glass (Sheet Glass คือ กระจกแผ่นที่ขึ้นรูปด้วยการดึงรีดแผ่นแก้วด้วยระบบลูกกลิ้ง ซึ่งมักจะทำให้ผิวกระจกเป็นลอนคลื่นไม่เรียบ)  โดยกระจกโฟลตในท้องตลาด ที่นิยมนำไปใช้งานจะมีขนาดความหนาตั้งแต่ 2 มม. ไปจนถึง 19 มม.

ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.1 กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass) หรือ กระจกธรรมดา

กระจกโฟลตใส หรือ กระจกธรรมดา

กระจกที่สามารถมองทะลุผ่านตัวกระจกไปได้ โปร่งแสง และให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ สามารถมองเห็นได้จากทั้งภายในและภายนอก สามารถมอง ผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว มีค่าตัดแสงอยู่ที่ประมาณ 8% มีค่าสะท้อนแสงประมาณ 7% ส่วนมากจะหนา 12 มิลลิเมตร ค่าการตัดแสงจะเพิ่มขึ้นตามความหนาของกระจก

กระจกใสจะไม่ดูดความร้อน แม้ว่าต้องอยู่ด้านนอกอาคารก็ทนอุณหภูมิอากาศได้ดี กระจกธรรมดาสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงประมาณ 60 องศาเซลเซียส  และจะแตกทั้งหมดเมื่อค่าความแตกเมื่อค่าของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 100 องศาเซลเซียส

กระจกโฟลตใสมีรอยต่อระหว่างกระจกน้อย ตัวกระจกอมความร้อนไว้ได้น้อยทำให้ความร้อนสามารถผ่านได้มาก จึงไม่เหมาะจะนำมาใช้กับงานผนังอาคารอยู่อาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ส่วนใหญ่จะใช้เมื่อต้องการโชว์ของด้านในอย่างพวกตู้ display และงานแสดงสินค้า

1.2 กระจกสี (Tinted Float Glass)

กระจกสี

กระจกสีเกิดจากการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในขั้นตอนการผลิตทำให้กระจกเกิดสีสัน แต่กระจกสีจะต่างจากกระจกใสตรงที่ดูดความร้อน เพราะการเติมโลหะออกไซด์ลงไป ทำให้ดูดซึมความร้อนเข้ามาภายในอาคารได้มาก อีกทั้งกระจกสีช่วยในการกรองแสงหรือลดแสงที่จะเข้ามาได้ดีกว่ากระจกใส ช่วยลดความจ้าของแสงได้ กระจกประเภทนี้สามารถดูดกลืนพลังงานความร้อน ที่ส่องมากระทบชั้นผิวกระจกได้ประมาณร้อยละ 40-50

เป็นกระจกที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเรา เห็นบ่อยๆ ทั้งโครงการบ้านและคอนโดฯ ที่เรามักเรียกกันว่า “กระจกตัดแสง” วิธีผลิตของกระจกชนิดนี้ มีการเติมสารจำพวกโลหะเข้าไปทำให้กระจกมีสีต่างๆ เช่น สีชา สีดำ สีฟ้า สีเขียว เป็นต้น ซึ่งเนื้อกระจกชนิดนี้จะช่วยดูดซับรังสีต่างๆ และพลังงานต่างๆ เอาไว้ ทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาในตัวบ้านได้น้อยกว่ากระจกใสทั่วไป

ที่นิยมที่สุดในบ้านเราคือคือกระจกตัดแสงสีเขียว เพราะกระจกสีเขียวมีคุณสมบัติให้แสงผ่านได้มาก แต่สามารถดูดซับ ความร้อนไม่ให้ผ่านได้มากกว่ากระจกสีอื่นๆ ทั้งหมดนั่นเอง จากคุณสมบัติที่ช่วยตัดแสงที่จะเข้ามาภายในอาคาร จึงมีความนิยมใช้กันในงานภายนอก เพื่อให้ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนและช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้ แต่กระจกชนิดนี้ก็มีราคาสูงกว่ากระจกแบบใสธรรมดาอยู่ 3-4 เท่า

ข้อแนะนำสำหรับการใช้กระจกประเภทนี้ก็คือไม่ควรให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเป่ากระทบผิวหน้าของกระจกโดยตรง เพราะจะทำให้กระจกสูญเสียพลังงานในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศเป็นอย่างมาก

ข้อห้ามอีกประการหนึ่งสำหรับการใช้กระจกสี ก็คือไม่ควรทาสีหรือติดแผ่นกระดาษใด ๆ ลงบนผิวกระจก และควรจะต้องมีการตัดหรือฝนขอบกระจกให้เรียบ เพื่อทำให้ขอบกระจกมีความทนทานต่อการแตกร้าวจากแรงดึงและแรงเค้นที่ผิวและขอบของกระจก

อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติของกระจกสี (Tinted Float Glass) ที่อมความร้อนได้มากกว่ากระจกโฟลตใส (Clear Float Glass) ทำให้ต้องระวังปัญหาการแตกของกระจก เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่างกันของกระจกด้านในและด้านนอกอาคาร ซึ่งหากมีความต่างมากจะส่งผลต่อการยืดหดของเนื้อกระจกที่ไม่เท่ากัน ทำให้กระจกแตกเสียหายได้

รวมถึงควรติดไว้ในที่ที่มีการระบายอากาศ ไม่ควรเอาอะไรไปปิดทับหรือวางใกล้กระจก เช่น ไม่ควรติดผ้าม่านที่มีความหนาทึบหรือวางตู้เหล็ก,สิ่งของอื่นๆ ชิดกับกระจก หรือติด ตั้งปิดบังกระจกโดยไม่มีที่เหลือให้ถ่ายเทความร้อนเลย เพราะอาจทำให้กระจกสะสมความร้อนเพิ่มขึ้นๆและเป็นสาเหตุให้กระจกสีแตกร้าวได้ง่าย

 

คุณสมบัติ

1. ป้องกันรังสี UV และช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องกระทบ

2. ลดปริมาณแสงจ้าที่ผ่านกระจก (ขึ้นอยู่กับสี และความหนา) ทำให้ได้แสงที่เป็นธรรมชาติ นุ่มนวล

3. ช่วยลดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

 

การนำไปใช้งาน

สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก เช่น กลุ่มโครงการบ้าน คอนโด ออฟฟิศสำนักงาน

เพราะตัว กระจกสี จะตัดแสงไม่ให้เข้ามาภายในมาก ขณะเดียวกันก็ช่วยกรองแสงแดดไปด้วย

(ควรใช้เป็นเทมเปอร์ หรือลามิเนต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความแข็งแรง ความปลอดภัยมากขึ้นไปอีก)

 

สรุป กระจกโฟลตใสและสี

กระจกบ้านสวยๆ

ข้อดี
  1. โปร่งใส ให้แสงส่องผ่านได้สูง
  2. สามารถนำไปเคลือบโลหะเป็นกระจกสะท้อนแสง และกระจกประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
  3. ทนการขูดขีด ผิวเรียบ ให้มิติการสะท้อนที่สมบูรณ์
  4. สามารถนำไปแปรรูปในการใช้งานได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกระจกนิรภัยลามิเนต ,กระจกฉนวนความร้อน ,กระจกเคลือบสี ,กระจกเงา ,กระจกดัดโค้ง ,กระจกพ่นทราย ,กระจกแกะสลัก ,กระจกพิมพ์ลาย และอื่นๆ เป็นต้น

 

ข้อเสีย
  1. ปริแตกง่าย เสี่ยงต่อความปลอดภัย เนื่องจากลักษณะการแตกที่เป็นปากฉลาม มีความแหลมคม
  2. ไม่ทนต่ออุณหภูมิสูง
  3. มีขีดจำกัดในการรับน้ำหนัก และไม่สามารถทนต่อแรงดันลมในที่สูงได้

 

การนำไปใช้งาน

สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคารทุกประเภท เช่น ประตู ,หน้าต่าง ,การตกแต่งภายใน ,บ้านพักอาศัย ,อาคารสำนักงาน ,ร้านค้าทั่วไป ,ห้องแสดงสินค้า ,หน้าร้าน หรือ ตู้แสดงสินค้าทั่วไป

 

ข้อควรระวังในการใช้งาน

กระจกโฟลตเมื่อปริแตก จะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ มีความแหลมคม หรือที่เรียกว่าแตกเป็นปากฉลาม ดังนั้นข้อควรระวังในการเลือกใช้งาน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ไม่ใช้ติดตั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือ จุดที่มีอุณหภูมิสูงๆ เช่น หน้าเตาไฟในห้องครัว เพราะมีโอกาสแตก และเป็นอันตรายได้ง่าย

 

2. กระจกที่นำมาผ่านกระบวนการเพิ่มเติม

กระบวนการที่เพิ่มนี้ก็ช่วยให้กระจกมีคุณสมบัติต่างๆ เพิ่มตามมาด้วย เช่น การนำมาอบความร้อนเพื่อให้กระจกแข็งแรงขึ้น ทำให้กระจกดัดได้มากขึ้น หรือการเคลือบผิวหน้าเพื่อให้กระจกสะท้อนความร้อน กระจกที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็มีอยู่หลายชนิด ได้แก่

2.1 กระจกเทมเปอร์กลาส (Tempered Glass)

กระจกเทมเปอร์กลาส

มีกรรมวิธีผลิตเพิ่มเติมจากกระจก Clear Float Glass โดยนำมาอบความร้อนอีกครั้งแล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการเป่าลมเย็นทั้ง 2 ด้าน ทำให้กระจกชนิดนี้สามารถรับแรงได้มากกว่าถึง 10 เท่า และยังสามารถดัดได้มากกว่าถึง 3 เท่า สามารถรับแรงอัดของลมได้ดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ดี(ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 150 องศาเซลเซียส) ทนความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส  แต่ไม่สามารถทำการตัดหรือเจาะได้ เพราะกระจกชนิดนี้ไม่ทนต่อแรง Point Load จุดเด่นของกระจกชนิดนี้ คือ เมื่อแตกจะเป็นเม็ดเล็กคล้ายเมล็ดข้าวโพด ไม่มีเหลี่ยมคมและร่วงหล่นออกมาจากกรอบทั้งหมด จึงช่วยป้องกันเศษกระจกบาดได้ นิยมใช้กับงานประตูกระจก, ผนังกั้นอาบน้ำ (Shower Box), ผนังภายนอกอาคารสูงๆ และเหมาะสำหรับใช้งานในสภาพที่เสี่ยงต่อการกระแทก

 

ข้อดี

1. มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดา

2. สามารถรับแรงกระแทก แรงลม บีบกดได้ดี

3. ทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่ากระจกทั่วไป ทนความร้อนสูง แม้มีความเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิอย่างฉับพลัน

4. หากมีการแตก จะช่วยลดอันตรายได้ ตัวกระจกจะไม่มีความคมเหมือนปากฉลาม แต่จะแตกเป็นเม็ดเล็กๆ

มีความแข็งแรงกว่ากระจกโฟลต 4-5 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด และแรงบีบได้ดี

5. ถ้าหากตัดกระจกบนโต๊ะตัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเที่ยงตรงสูง จะสามารถตัดได้หลากหลาย รูปแบบ

ข้อเสีย

1. เนื่องด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นกระจกที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงจนทำให้กระจกนิ่มและกลิ้งไปกับลูกกลิ้ง จึงทำให้กระจกมีโอกาสเกิดเป็นคลื่น และมีความโก่งตัวเล็กน้อย

2. กระจกนิรภัยเทมเปอร์มีโอกาสปริแตกด้วยตัวเองหากเนื้อกระจกที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิต มีสารปนเปื้อน คือ สารนิเกิ้ลซัลไฟล์ (NiS) ในกระบวนการผลิตกระจก โดยจะมีอัตราการแตกด้วยตัวเองเฉลี่ย 8 แผ่นใน 1,000 แผ่น

การนำไปใช้งาน

1. สามารถใช้ออกแบบทำเป็นหน้าต่าง ผนังอาคาร ผนังกระจกตามสถานที่ในบริเวณที่ต้องเผชิญกับความร้อน บริเวณที่ต้องรับแรงปะทะของกระแสลมที่มีความเร็วสูง

2. สามารถใช้เป็น ชั้นวางของ ตู้โชว์สินค้าสารพัดชนิด ให้ความรู้สึกที่มองไม่รกหูรกตา ดูสมัยใหม่ โปร่งแสง แต่ทนต่อแรง กระแทก ให้ความปลอดภัยสูง

3. สามารถใช้เป็นราวระเบียงกันตก เพื่อสร้างความทันสมัย และยกระดับให้กับพื้นที่น่าสนใจขึ้น

4. สามารถใช้เป็นประตูบานเปลือย ฉากกั้นอาบน้ำ ทำให้ดูน่าใช้งาน พร้อมสร้างความสว่างกับพื้นที่ภายใน

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. จุดอ่อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์คือ แรงที่กระทำเป็นจุด หากมีการกระแทกโดยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้าไปภายในผิวกระจก ทำให้ชั้นแรงอัดถูกทำลาย ความสมดุลภายในเนื้อกระจกก็จะถูกทำลาย

2. กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถคงรูปร่างได้ด้วยความสมดุลของแรงอัดและแรงดึง ดังนั้นเมื่อนำกระจกชนิดนี้มาใช้งานจะต้องไม่มีการเจาะรู บากหรือตัดแต่งในภายหลังโดยเด็ดขาด

3. ส่วนของกระจกนิภัยเทมเปอร์ที่มีการเจาะรู พ่นทราย หรือทำเครื่องหมายใดๆจะมีความเปราะบางมากกว่าส่วนอื่นๆ

4. ไม่ควรยึดกระจกกับโลหะโดยตรง ควรมียางหรือวัตถุอื่นมารองรับ

5. ผิวกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะเป็นคลื่นมากกว่ากระจกธรรมดา

ข้อควรระวังในการใช้งาน

1. หลังการผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะไม่สามารถ ตัด เจาะ เจีย บาก ได้ ดังนั้นการวัดพื้นที่ จำเป็นต้องวัดอย่างระมัดระวัง และควรใช้เป็นหน่วยมิลลิเมตรในการวัดเพื่อความแม่นยำ

2. ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เดี่ยวๆ เป็นหลังคา หรือ เป็นผนังภายนอกอาคารบริเวณชั้นสูงๆ เพราะหากกระจกแตก จะร่วงลงมาเป็นอันตรายต่อคนข้างล่างได้

3. ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เดี่ยวๆ เป็นพื้น หรือ เป็นขั้นบันได เพราะหากกระจกแตก ผู้เดินจะได้รับอันตรายพลัดตกลงมาได้

4. ห้ามใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ทดแทนกระจกกันไฟ เพราะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถกันไฟเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้

 

2.2 กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)

กระจกกึ่งนิรภัย

เป็นกระจกที่ผลิตจากกรรมวิธีที่ทันสมัย ด้วยการนำกระจก Clear Float Glass ธรรมดามาผ่านกระบวนการอบความร้อนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 700 องศาเซลเซียส แล้วก็ค่อยๆทำให้เนื้อกระตกเย็นลงอย่างช้าๆ ด้วยการเป่าลมไปที่กระจกทั้ง 2 ด้านทำให้กระจกชนิดนี้มีคุณสมบัติแข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2-3 เท่า ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลันได้ 70 องศาเซลเซียส

กระจกกึ่งนิรภัยจะสามารถรับแรงอัดของลมได้ดีว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเท่ากัน และเมื่อกระจกแตกจะแตกในลักษณะที่รอยแตกวิ่งเข้าไปหาเฟรม ซึ่งจะทำให้กระจกส่วนที่แตก ยังคงมีเฟรมโดยรอบ และชั้นฟิล์มลามิเนต PVB ที่คั่นอยู่ตรงกลางระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น คอยยึดเกาะเศษกระจกชิ้นที่แตกเหล่านั้นไว้ จึงไม่ทำให้กระจกที่แตกอยู่บนผนังอาคารร่วงตกลงมา

นิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างกับอาคารสูงหรือคอนโดมิเนียม เพื่อป้องกันการแตกของกระจกที่มีสาเหตุจากความร้อนสูงภายนอกอาคาร

 

ข้อดี

1. เป็นกระจกกึ่งนิรภัย มีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 2 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด แรงบีบ ได้ดี

2. เหมาะสำหรับการป้องกันการแตกของกระจกจากความร้อน

3. ทนต่อแรงดันของกระแสลมในที่สูงได้ดี โดยเฉพาะผนังอาคารสูง พื้นกระจก หรือ หลังคากระจก

4. ไม่ปริแตกแตกด้วยตัวเอง แบบเดียวกับการปริแตกด้วยตัวเองของกระจกนิรภัยเทมเปอร์

ข้อเสีย

1. ไม่สามารถ ตัด เจีย เจาะ บาก ได้ดังนั้นการวัดพื้นที่จำเป็นต้องวัดอย่างระมัดระวัง และควรใช้หน่วยมิลลิเมตรในการวัดเพื่อความแม่นยำ ซึ่งการเผื่อหลวมจะช่วยให้การติดตั้งง่ายขึ้น แต่ต้องไม่หลวมจนกระจกหลุดจากคิ้ว

2. เนื่องจากเป็นกระจกที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงจนเนื้อกระจกนิ่ม กระจกอาจเป็นคลื่น และมีโอกาสโก่งตัวอยู่เล็กน้อย

3. ไม่สามารถใช้ทดแทนกระจกกันไฟได้ เพราะกระจกกึ่งนิรภัย ไม่สามารถกันไฟเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้

 

การนำไปใช้งาน

1. ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ และอาคารสูง(Glass Curtain Wall) ตามพรบ.ควบคุมอาคาร ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่ากระจกเปลือกนอกของอาคารที่สูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป ต้องใช้กระจกลามิเนต แต่เนื่องจากเวลาคำนวณแรงดันลม (Windload) และความร้อนสะสมที่กระจกแล้ว การใช้กระจกโฟลตธรรมดาแล้วนำมาประกบลามิเนตส่วนใหญ่แล้วจะไม่ผ่านเกณฑ์

จึงจำเป็นต้องใช้กระจกลามิเนต Heat Strengthened แทน เพราะสามารถทนต่อการรับแรงดันลมบนผนังอาคารสูงได้ดี และเมื่อเวลาปริแตกกระจกจะยังเกาะอยู่ที่เฟรมจึงไม่ทำให้ร่วงหล่นลงมา จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานทั้งภายใน และภายนอกอาคารที่อยู่ด้านล่างได้มากกว่ากระจกประเภทอื่น

2. ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูงสามารถใช้แทนกระจกธรรมดาโดยลดความหนาของกระจกลง

3. ใช้ทำพื้นกระจก (Glass Floor)  ในการทำพื้นกระจกนั้น เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดที่ทำให้กระจกได้รับความเสียหาย หรือ ปริแตกนั้น กระจกลามิเนต Heat Strengthened จะแตกเป็นชิ้นใหญ่ โดยยังคงยึดติดอยู่กับกรอบเฟรม และฟิล์มลามิเนต โดยกระจกลามิเนต Heat Strengthened อีกแผ่นหนึ่งที่รองรับอยู่ด้านใต้ จะยังคงให้ความปลอดภัย

4. ใช้ทำหลังคากระจกสกายไลท์ในอาคารขนาดเล็ก หรือ อาคารขนาดใหญ่ (Skylight Glass) กระจกลามิเนต Heat Strengthened จะมีความเหมาะสม เพราะเมื่อแตกแล้วจะไม่ร่วงหล่นลงมาโดนผู้อยู่อาศัยที่อยู่ด้านล่าง และมีคุณสมบัติเด่นที่สามารถทนต่อแรงดันของลมที่อยู่บนหลังคาได้

5. ใช้กับสถานที่ที่ต้องเผชิญกับภาวะที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ

6. ใช้กับผนังอาคารและหน้าต่างที่มีแรงอัดลมสูง

7. ใช้กับสถานที่ที่ต้องการใช้กระจกที่มีความแข็งแรงและปลอดภัยสูงกว่าการใช้กระจกธรรมดา

8. ใช้กับห้องโชว์ หรือตู้โชว์สินค้าที่ต้องทนต่อแรงกระแทกในการใช้งาน

ข้อควรระวังในการใช้งาน

เมื่อใช้งานภายนอกอาคารไปนานๆ สิ่งที่ต้องควรระวังก็คือ อาจเกิดปัญหาการแยกตัวของกระจก หรือที่เรียกว่า Delamination  ซึ่งเป็นข้อควรระวังเช่นเดียวกับกระจกลามิเนต แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ

อ่านเพิ่มเติม หน้าต่างบ้าน

 

ความต่างระหว่าง Tempered Glass และ Heat Strengthened Glass

กระจกบ้านโมเดิร์น

Heat Strengthened Glass  เป็นกระจกที่ผลิตด้วยกระบวนการเดียวกับกระจกนิรภัยเทมเปอร์  แต่กระบวนการทำให้เย็นด้วยการเป่าลม จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ากระจกสองชนิดต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะในการทำให้เย็นดังนี้ ถ้าเราใช้ลมเป่าให้เย็นตัวลงเร็วมากๆ

กระจกจะเกิดการอัดแน่นของโมเลกุลที่ผิวกระจกอย่างมาก ทำให้มีค่าความเครียดที่ผิวกระจก (Compressive Stress) ที่ 10,000 PSI ขึ้นไป จึงเรียกได้ว่าเป็น กระจกเทมเปอร์ โดยสมบูรณ์ (Fully Tempered) ซึ่งจะทำให้กระจกมีความแข็งแรงกว่ากระจกทั่วไป 4-5 เท่า และทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลันได้ถึง 170 องศาเซลเซียส

แต่ถ้าลดแรงลมตอนที่เป่าให้กระจกเย็นตัว ก็จะมีผลทำให้กระจกเย็นตัวช้าลง ความเครียดที่ผิวกระจกก็จะลดหลั่นลงมาตามลำดับ ซึ่งเมื่อผิวกระจกมีค่าความเครียดที่ผิวกระจกระหว่าง 3,500 ถึง 7,500 PSI จะทำให้กระจกมีความแข็งแรงกว่ากระจกทั่วไป 2 เท่า และทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลันได้ 70 องศาเซลเซียส เราเรียกกระจกชนิดนี้ว่า Heat-Strengthened Glass โดยสมบูรณ์

2.3 กระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass) 

กระจกบ้าน ราคา

เป็นการนำกระจก Float ไปปรับปรุงผิวด้วยการเคลือบออกไซด์ของโลหะ สังเกตง่ายๆ เมื่อมองจากภายนอกอาคารจะคล้ายกระจกเงา หากมองจากภายในอาคารอาคารจะเป็นกระจกสีตัดแสง ความโปร่งแสงต่ำคนภายนอกมองเข้ามาภายในได้ลําบาก แต่คนภายในมองออกภายนอกได้ชัด สามารถสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ที่จะผ่านเข้าสู่อาคารได้ประมาณ 30% เป็นการลดภาระของระบบปรับอากาศ มักนิยมใช้กระจกประเภทนี้กับผนังภายนอกอาคาร

 

คุณสมบัติ

1. จะช่วยลดพลังงานความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารได้เป็นอย่างมาก

2. ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว ด้วยการสะท้อนกลับแบบกระจกเงา ด้านสว่างกว่ามองเข้ามาภายในแทบไม่เห็น

3. ช่วยลดภาระของระบบการทำงานเครื่องปรับอากาศ

การนำไปใช้งาน

1. เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร เช่น อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับที่พักอาศัยทั่วไป

2. เนื่องจากในช่วงค่ำคืน หากมีผู้ใช้งานด้านใน กระจก Reflective จะทำให้เกิดการเห็นเงาสะท้อน ส่งผลให้เกิดการไม่สบายตาเวลามองเห็น แต่กรณีทีใช้ตามอาคารสำนักงาน ช่วงเวลากลางวัน จุดนี้จะทำให้รู้สึกสบายตา มากขึ้น

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. ในการตัดกระจกควรมีการป้องกันผิวด้านที่เคลือบไว้เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน

2. เมื่อมีการบิ่นหรือแตกบริเวณขอบกระจกให้ลบคมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการแตกทั้งแผ่น

3. ป้องกันอย่าให้ซีเมนต์หรือปลาสเตอร์ติดบนกระจก เพราะจะทำอันตรายวัสดุเคลือบของกระจก

4. ด้านที่เคลือบวัสดุเคลือบควรอยู่ด้านในของอาคารเสมอ เพื่อไม่ให้วัสดุเคลือบสัมผัสมลภาวะภายนอก

5. อย่าเป่าความเย็นลงบนกระจกวางตู้ใกล้กระจกติดกระดาษหรือทาสีลงบนกระจกเพราะจะทำให้เกิดการแตกหักเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้

6. ควรจะอบ Heat Strengthened หรือ Tempered เพื่อป้องกันปัญหาการแตกหักเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้

2.4 กระจกแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass) 

กระจกกันร้อน

คล้ายกับกระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass) แต่โลหะที่ใช้เคลือบจะมีส่วนประกอบของโลหะเงินบริสุทธิ์ ช่วยให้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีขึ้นและลดปัญหาเรื่องกระจกแตกร้าวได้ดีกว่า Solar Reflective Glass แต่จะจก Low-E นี้จะตัดแสงได้น้อยกว่า

คุณสมบัติ

1. ป้องกันการถ่ายเทความร้อนผ่านกระจกได้ดี

2. ยอมให้แสงผ่านได้มากกว่ากระจกสะท้อนแสง

3. ช่วยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลต(UV)ได้บางส่วน ปริมาณการสะท้อนขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ทำให้ลดความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดกับพรมและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้ระดับหนึ่ง

4. ช่วยลดความจ้าของแสง

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. สารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นสารที่ไวต่อการเสียหาย ดังนั้นจึงไม่ควรหันผิวกระจกด้านที่ฉาบนี้ไว้ด้านนอก

2. การบรรจุก๊าซเฉื่อยในช่องว่างระหว่างกระจกของกระจกรุ่นใหม่ๆแทนการใช้อากาศแห้ง จะช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนให้กับกระจกได้ดี

 

บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER

บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE

  1. บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
  2. บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
  3. บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
  4. บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)

 

3. กระจกที่นำมาประกอบรวมกันตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป

เป็นกระบวนการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการป้องกันความร้อนและความปลอดภัย กระจกประเภทนี้ ได้แก่

3.1 กระจกลามิเนต

กระจกลามิเนต

คือ กระจกที่ประกอบไปด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปเช่นกัน มาประกบหรือติดด้วย PVB (Poly Vinyl Butyral) ทำให้กระจกจะติดกับ PVB ไม่ร่วงหล่นจากกรอบ จึงเห็นว่านิยมใช้กระจกชนิดนี้กับผนังภายนอกอาคาร บนอาคารสูงๆ ใช้เป็นราวกันตก เป็นต้น โดยข้อดีของกระจกลามิเนต คือ ผู้ออกแบบสามารถเลือกชนิดของกระจกทั้ง 2 ฝั่งที่จะนำมาประกบกันได้ เพื่อให้ได้คุณสมบัติครบตามต้องการ เช่น ฝั่งหนึ่งเลือกเป็นกระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) เพื่อให้มีความแข็งแรง ส่วนอีกด้านหนึ่งเลือกกระจกตัดแสงเพื่อให้ช่วยดูดซับรังสีความร้อน

เมื่อแตกจะเกิดเป็นลายเหมือนใยแมงมุม ไม่มีเศษกระจกหลุดออกมา ทำให้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้สูง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียง ลดแสงจ้า และ สามารถป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตมากกว่า 90 %

ข้อดี

1. สามารถเคลือบสีได้ตามความต้องการ

2. ช่วยเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีกว่ากระจกธรรมดาทั่วไป

3. ช่วยลดแสงจ้า และป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตมากถึง 90%

4. ช่วยลดอันตรายจากการแตก เพราะกระจกจะไม่ล่วงหล่นมา เศษกระจกยังคงยึดติดกับฟิล์ม

5. ปกป้องพื้นที่ส่วนตัวจากการลุกล้ำ หรือโจรกรรมได้

6. ทนต่อแรงดันลมในที่สูง ทนต่อแรงอัดกระแทกและช่วยป้องการบุกรุกจากการโจรกรรมได้

ข้อเสีย

1. เมื่อเทียบความหนาในขนาดเดียวกัน กระจกนิรภัยลามิเนตจะรับแรงได้น้อยกว่ากระจกธรรมดาเช่น กระจกลามิเนต 4 มม.+ ฟิล์ม + 4 มม. จะรับแรงกระแทกได้น้อยกว่า กระจกใสธรรมดาที่หนา 8 มม.

2. ฟิล์ม PVB มีคุณสมบัติดูดความชื้น จึงทำให้ถ้าใช้กระจกนี้บริเวณที่มีความชื้นสูง จะทำให้การยึดเกาะระหว่างกระจกและฟิล์มไม่ดี และอาจเกิดการแยกตัวออกจากกันได้

การนำไปใช้งาน

1. สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก เช่น บานประตู-หน้าต่าง พื้น หรือพื้นที่ ที่ต้องเซฟการบุกรุก รวมถึงงานอาคารสูง ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

2. สามารถใช้เป็นราวระเบียงกันตก ราวบันได ,หลังคา Skylight ,กันสาด และ Facade

3. สามารถใช้ทำเป็นกระจกนิรภัย สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์

4. กระจกที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ หรือผนังลาดเอียง เช่น หลังคา

5. กระจกกันกระสุน (.38 ซุปเปอร์อัตโนมัติ,.357 แมกนั่ม รีออริโอ, .44 แมกนั่ม รีออ ริโอ, .30 -.06 ปืนกลไรเฟิล)

6. ใช้ตกแต่งภายใน เช่น ฝ้า พื้น ผนังห้องและบานประตู

7. ใช้เป็นกระจกด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะกระจกที่ต้องการป้องกันการบุกรุก หรือต้องการลดเสียงรบกวน เช่น หน้าต่างช่องเปิดแบบต่างๆ

ข้อควรระวังในการใช้งาน

การนำกระจกลามิเนต (Laminated Glass) ไปใช้งานภายนอกอาคารนั้น มีสิ่งที่ต้องควรระวังก็คือ เมื่อใช้งานไปนานๆจะพบว่ากระจกปรากฏรอยลูกคลื่นตามแนวรอยบากระหว่างแผ่นกระจก ซึ่งลักษณะของปัญหาดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นกับกระจกลามิเนต โดยมีศัพท์ที่เรียกว่า Delamination  หรือ การแยกตัวของกระจกลามิเนต

ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณขอบกระจก ,บริเวณรอยบาก หรือขอบที่เจาะรูยึดกับฟิตติ้งในรูปแบบต่างๆ ซึ่งปัญหาลักษณะนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นหลังจากใช้งานไปแล้วสักระยะ(ตั้งแต่ 1 หรือ 2 ปีขึ้นไป) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่กระจกลามิเนตถูกผลิตด้วยวิธีการนำกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safe Glass) หรือกระจกธรรมดา (Annealed Glass / Floated Glass) ตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มาทำการ “ลามิเนต” ทำเป็นชั้นๆ โดยประกบคั่นกลางระหว่างแผ่นกระจกด้วยฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Butyral)

ซึ่งฟิล์ม PVB นี้เองถือเป็นส่วนประกอบที่ยังมีจุดด้อยซ่อนอยู่ ก็คือตัวฟิล์มมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดี เมื่อกระจกถูกนำไปใช้งานภายนอกอาคารแล้วต้องเจอกับสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย จึงทำให้ความชื้นจากอากาศ และน้ำสามารถซึมผ่านเข้ามาทางขอบกระจกแบบเปลือยแล้วสัมผัสกับเนื้อฟิล์ม PVB ได้โดยตรง

เมื่อความชื้นในชั้นฟิล์ม PVB ถูกสะสมมากขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ความเหนียวในการยึดเกาะของชั้นฟิล์มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ชั้นฟิล์ม PVB ที่คั่นกลางระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น จึงทำให้เกิดการแยกตัวออกจากกระจกอย่างช้าๆ และเห็นเป็นรอยคลื่นได้อย่างชัดเจน

3.2 กระจกฉนวน (Insulated Glass Unit- IGU) 

กระจกฉนวน

กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Units) เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานในการป้องกันความร้อน และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก  เป็นกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกัน (กระจกที่นำมาใช้เลือกได้หลายประเภท)  โดยมี Aluminium Spacer ซึ่งบรรจุสารดูดความชื้นแล้วใส่ฉนวน เช่น อากาศแห้ง (Dried Air) หรือ ก๊าซเฉื่อย ไว้ภายในเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาอุณภูมิภายในได้ดีมาก (สามารถสะท้อนความร้อนได้ประมาณ 95%-98%) และไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก

การนำไปใช้งาน-กระจกประเภทนี้จะมุ่งเน้นการใช้งานไปในแนวทางการประหยัดพลังงานภายในอาคารและการใช้งานสำหรับอาคารเฉพาะทางเนื่องจากมีคุณสมบัติ คือ การยอมให้แสงผ่านเข้ามาภายในอาคารมากแต่ความร้อนที่จะผ่านกระจกเข้ามาน้อยมากจึงมักนิยมใช้สำหรับอาคารที่ต้องการควบคุมอุณภูมิให้คงที่ตลอดเวลาเช่น พิพิธภัณฑ์อาคารเก็บอาหารห้องเก็บไวน์ เป็นต้น สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกและภายในอาคารได้

คุณสมบัติ

1. การใช้กระจกนิรภัยหลายชั้น สามารถช่วยลดการบาดเจ็บจากกระจกได้

2. ป้องกันการทะลุทะลวง เนื่องจากการแตกและการบุกรุกได้

3. ช่วยลดเสียงรบกวน และลดการก้องของเสียงได้ดี

4. ช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

5. แผ่นฟิล์มในกระจกนิรภัยหลายชั้นช่วยในการลดรังสีอัลตราไวโอเลต

ข้อดี

1. ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายใน-ภายนอกได้เป็นอย่างดี

2. ช่วยประหยัดพลังงาน เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้คงที่สม่ำเสมอ

3. ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่ากระจกธรรมดา

4. ยอมให้แสงผ่านเข้ามาภายในอาคารมากแต่ความร้อนที่จะผ่านกระจกเข้ามาน้อยมาก

5. ไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือ หยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกจะแตกต่างกันมาก

6. สามารถรับแรงดันลมได้

ข้อเสีย

1. มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะหนากว่ากระจกทั่วไป

2. ขนาดของกรอบเฟรม มีขนาดที่กว้างขึ้นกว่ากระจกทั่วไป

3. ต้องเผื่อระยะในการติดตั้งมากกว่ากระจกทั่วไป

4. มีความแข็งแรงต่อแรงอัดของลมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่ความหนาเท่ากัน

5. เมื่ออุณหภูมิของกระจกนิภัยหลายชั้นเพิ่มสูงขึ้นไปถึงระดับหนึ่งคือ 77 องศาเซลเซียส การสะสมความร้อนภายในจะสูงขึ้น ความสามารถของฟิล์มในการยึดเกาะกระจกจะลดลง

การนำไปใช้งาน

สามารถนำไปใช้งานได้กับอาคารขนาดเล็ก ไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ หรือ อาคารสูงระฟ้า ที่ต้องการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นด้านเสียง ,อุณหภูมิ และการประหยัดพลังงาน ใช้ในห้องที่ต้องกรควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลา เช่น อาคารเก็บอาหาร ห้องเก็บไวน์ พิพิธภัณฑ์

 

ข้อแนะนำสำหรับการใช้กระจกแบบฉนวนกันความร้อน

1. ให้ความปลอดภัยในอาคารในกรณีที่ใช้กระจกนิภัยเทมเปอร์ หรือกระจกนิรภัยหลายชั้นมาผลิตเป็นกระจกฉนวนกันความร้อน

2. ควรเก็บกระจกภายในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่มีแสงแดดส่องผ่านโดยตรง

3. ไม่ควรใช้งานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียสเนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

4. ไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศกระทบกระจกโดยตรง

สำหรับช่าง

1. ควรใช้ซิลิโคนสำหรับกระจกที่เป็นโครงสร้างเท่านั้น ส่วนกระจกที่เป็นช่องหน้าต่างแบบดั้งเดิม สามารถใช้โพลีซัลไฟด์ซิลิโคนได้

2. การหักงอของอลูมิเนียมสเปเซอร์ หรือสารเคมีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกระจก มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกระจกทั้งสิ้น

3. เนื่องจากฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเลต มีคุณสมบัติในการอมความร้อน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาการแตกร้าว เนื่องจากการสะสมความร้อน จึงไม่ควรเลือกกระจกต่อไปนี้เข้ามาผนึกเข้าด้วยกัน

4. กระจกสีตัดแสงผนึกกับกระจกสีตัดแสง

5. กระจกสีตัดแสงเสริมลวดผนึกกับกระจกแผ่นเรียบ

6. กระจกสะท้อนแสงผนึกกับกระจกเสริมลวด

7. เมื่อนำกระจกนิภัยเทมเปอร์มาผนึกเข้าด้วยกันควรใช้แผ่นฟิล์มที่ความหนาไม่ต่ำกว่า 0.7 มิลิเมตรเป็นตัวยึดกระจก เพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศเนื่องจากผิวกระจกไม่เรียบ

8. ไม่ควรใช้วัสดุยาแนวชนิดซิลิคอน ออกไซด์ หรือวัสดุยาแนวที่มี่สวนผสมของสารละลายอินทรีย์เนื่องจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อฟิล์ม

9. ควรมีการเคลือบสารกันน้ำ บริเวณขอบกระจก เพื่อป้องกันความเสียหายของแผ่นฟิล์ม

 

ประเภทของกระจกฉนวนความร้อน

กระจกฉนวนความร้อน

สามารถจำแนกประเภท ได้ดังนี้

1. กระจกฉนวนความร้อนชนิดปลายหลอมเข้าหากัน

คือ การนำแผ่นกระจก 2 ชั้น หรือมากกว่าวางซ้อนกัน โดยมีช่องว่างระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น ที่เป็นอากาศคั่นกลางเพื่อช่วยกั้นเป็นฉนวนกันความร้อน และลดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ กระจก 2 ชั้นแบบชนิดปลายหลอมเข้าหากัน จะผลิตจากแผ่นกระจก โดยที่ปลายกระจกทั้ง 2 แผ่นจะถูกหลอมเข้าหากัน โดยช่องว่างภายในจะบรรจุก๊าซเฉื่อย หรือ อากาศแห้ง เหมาะกับการนำไปใช้ทำช่องแสงขนาดไม่ใหญ่มาก ในอาคารพักอาศัยขนาดเล็ก หรือร้านค้า และสำนักงานขนาดกลาง

2. กระจกฉนวนความร้อนชนิดปลายแยก

คือ กระจกที่มีการจัดระยะด้วยการใช้โลหะ หรือ อโลหะคั่นกลาง เช่น เฟรมอลูมิเนียม หรือ ซิลิคอน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเพิ่มสารดูดความชื้นเพื่อป้องกันในกรณีที่มีความชื้นหลงเหลืออยู่ภายใน โดยจะดูดความชื้นจากอากาศให้แห้งเพื่อไม่ให้เกิดหยดน้ำ

นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนกันความร้อน โดยการนำกระจกไปผสมสีอ่อนๆ (Tinted Float Glass) ,เคลือบสารที่มีคุณสมบัติการแผ่รังสีต่ำ (Heat Mirror Glass) หรือ เคลือบสารสะท้อนแสง (Heat Stop Glass) บนกระจก โดยจะเคลือบเพียงด้านเดียว หรือ สองด้านก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เดินทางผ่านช่องว่างภายในกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระจกฉนวนความร้อนชนิดปลายแยก จึงเหมาะกับการนำไปใช้ทำช่องแสงขนาดใหญ่ ในอาคารขนาดใหญ่ หรือ อาคารระฟ้าที่มีความสูงค่อนข้างมาก

อ่านเพิ่มเติม เลือก “กระจก” อย่างไรให้บ้านไม่ร้อน

 

กระจกฮีตมิเรอร์ (Heat Mirror)

ลักษณะของกระจกฮีตมิเรอร์เป็นระบบของกระจกสองชั้นที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่างช่องอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี

กระจกฮีตมิเรอร์

คุณสมบัติ

1. สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากถึงประมาณ 80% หรือยอมให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาเพียง 10% ที่เหลืออยู่ 10% จะถูกดูดกลืนเข้าไปในกระจก

2. ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้องค์ประกอบของกระจกและฟิล์ม

3. ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตประมาณ 98%

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้

2. ในการติดตั้งระมัดระวังผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต เนื่องจากจะทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพได้

3. ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้ ดังนั้นจะต้องวัดและตัดให้ได้ขนาดตรงกับการนำไปใช้เท่านั้น

4. การติดตั้งควรระมัดระวังไม่หันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง

 

กระจกฮีตสต็อป(Heat Stop)

กระจกฮีตสต็อปมีลักษณะเป็นกระจกสองชั้นประกอบขึ้นด้วยกระจกสะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ เป็นกระจกด้านนอก และด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้น สามารถป้องกันความร้อนอินฟาเรดให้ผ่านเข้ามาได้เพียง 5% ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน

กระจกฮีตสต็อป

คุณสมบัติ

1. สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มาก

2. ยอมให้แสงสว่างผ่านกระจกเข้ามามากถึงประมาณ 60%

3. ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตร้าไวโอเลตได้ประมาณ 95%

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน 

1. ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้

2. ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้

3. การติดตั้งไม่ควรหันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง

4. กระจกนิรภัยหลายชั้นเป็นการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตที่เหนียวและแข็งแรงซ้อนอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกัน เมื่อกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตกแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจาย จะมีเพียงรอยแตกหรือรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น

 

สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต

กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน

 

 

กระจกตัดแสงยูวี (Reflective)

กระจกตัดแสงยูวี

กระจกตัดแสงยูวีหรือกระจกรีเฟล็กทีฟเป็นกระจกที่ผ่านเทคโนโลยีการเคลือบผิว กระจกด้วยระบบ Sputtering โดยเป็นเทคโนโลยีการเคลือบโลหะสะท้อนแสงลงบนกระจก ช่วยป้องกันการขีดข่วนบนชั้นฟิล์มที่เคลือบ ง่ายต่อการบำรุงรักษาและการขนส่ง ด้วยคุณสมบัติการป้องกันความร้อนและการแผ่ความร้อนจากดวงอาทิตย์ กระจกตัดแสงยูวีจึงเป็นระบบกระจกที่ช่วยประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศภายใน

ในขณะเดียวกันฟิล์มที่เคลือบชั้นกระจกมีองค์ประกอบของโลหะชนิดพิเศษที่ช่วยให้แสงผ่านได้มากเป็นพิเศษ ช่วยส่งผลให้แสงที่ผ่านเข้ามาเพียงพอต่อความต้องการในการใช้แสงในระหว่างวัน เปิดโอกาสให้สถาปนิกสามารถออกแบบอาคารได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้นเพราะมีสีสันมากมาย รวมถึงสามารถกำหนดปริมาณแสงสะท้อนสู่ภายนอกและแสงที่ผ่านเข้ามาสู่ตัวอาคารได้

กระจกลวดลาย (Figured Glass)

กระจกบ้าน pantip

กระจกลวดลาย คือกระจกที่ถูกพิมพ์ลายลงไปบนด้านหนึ่งของกระจก โดยด้านหนึ่งจะมีผิวขรุขระตามลวดลายและอีกด้านหนึ่งจะมีลักษณะเรียบ ตัวกระจกจะมีลักษณะกึ่งโปร่งแสงคือมองเห็นเพียงสลัวๆ ไม่สามารถมองทะลุได้ สิ่งที่เห็นจะเป็นเพียงแค่เงาลางๆเท่านั้น เป็นกระจกที่เหมาะกับงานตกแต่งภายในเป็นอย่างมาก โดยสามารถนำไปประดับเป็นกระจกสำหรับงานประตู ฉากกั้นห้อง ช่องแสงเหนือประตู กั้นโคมไฟ ฯลฯ

เหมาะสำหรับสถานที่ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น บ้านพักอาศัยทุกประเภท อาคารสูง อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารพาณิชย์ ศูนย์แสดงสินค้า ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ถือเป็น กระจกบ้าน ที่ผลิตโดยกระจกที่ยังไม่แข็งตัวเข้าไปสู่แถวของลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาที่ต้องการ และพิมลวดลายซึ่งติดกับลูกกลิ้งลงบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของกระจก หรือทั้ง 2 ด้าน

คุณสมบัติ

กระจกลวดลายมีคุณสมบัติโปร่งแสงแต่ไม่โปร่งใส จึงทำให้เกิดภาพที่นุ่มนวล แต่อาจไม่ชัดเจนนัก

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. เนื่องจากกระจกลวดลายมีความลึกของเนื้อกระจกไม่สม่ำเสมอกัน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์

2. ความแข็งแรงและความคงทนของกระจกมีน้อยกว่า 1 ใน 3 ของกระจกใสที่มีความหนาเดียวกัน เนื่องจากความไม่เรียบของกระจก

กระจกเสริมลวด

กระจกบ้านนิรภัย

กระจกเสริมลวดเป็น กระจกบ้าน ที่มีการเสริมเส้นลวดไว้ภายในบริเวณตรงกลางของเนื้อกระจก เพื่อต้านทานการหลุดร่วงของกระจก ป้องกันการลุกลามของไฟและควันไฟ กระจกเสริมลวดสามารถเป็นผนังที่ต้านทานความร้อนได้สูงถึงเกือบ 1000 องศาเซลเซียสในระยะเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง เส้นลวดที่ฝังอยู่ในกระจกดังกล่าวยังช่วยยึดกระจกไม่ให้แตกขณะเกิดอัคคีภัย

เมื่อกระจกไม่แตกเปลวไฟและควันไฟก็จะไม่สามารถผ่านกระจก เข้ามาทำอันตรายผู้คนในห้องถัดไปได้ ในแง่ของจิตวิทยา กระจกเสริมลวดยังดูคล้ายกับกระจกที่ป้องกันขโมยได้อีกด้วย เราสามารถพบเห็นกระจกแบบดังกล่าวตามบริเวณ ประตูหนีไฟ ประตูทางเข้าออกหลักของอาคารที่อาจมีการกระจายของเปลวเพลิง ของอาคารชั้นนำทั่วไป รวมถึง หลังคากระจก ในตำแหน่งสูงและคลังที่เก็บวัตถุไวไฟ เป็นต้น

กระจกเสริมลวดผลิตโดยการใส่แผงตาข่ายลวดลงในกระจกขณะที่กระจกหลอมเหลว เพื่อเป็นการเพิ่มการแข็งแรงให้กับกระจก

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลวดลายของแบบตาข่าย ดังนี้

1. ลายข้าวหลามตัด (Diamond-Shaped Pattern or Misco)

2. ลายสี่เหลี่ยม (Baroque Pattern)

3. ลายหกเหลี่ยม (Hexagonal Pattern)

4. ลายแนวตั้ง (Pinstipe Pattern)

คุณสมบัติ

1. มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ จึงมักใช้เป็นกระจกป้องกันการโจรกรรม

2. แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ มีความคม

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1. เนื่องจากกระจกเสริมลวดจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีความคม เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคาร

หรือในตำแหน่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและคนทั่วไปได้

2. กระจกเสริมลวดเป็นกระจกที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการโจรกรรม ดังนั้นจึงไม่เน้นการออกแบบเพื่อความสวยงาม

 

กระจกพ่นทราย

กระจกพ่นทราย

กระจกพ่นทราย เป็น กระจกบ้าน ที่ผ่านกรรมวิธีการทำลวดลายบนกระจกโดยวิธีพ่นทราย การพ่นทรายเป็นกรรมวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดลวดลายบนกระจกได้ โดยทรายที่ใช้คืออะลูมินัมออกไซด์ (Aluminum Oxide) มีลักษณะเป็นผงละเอียดซึ่งแต่ละเม็ดจะมีความแข็งและความคมสูง เมื่อถูกพ่นลงบนผิวแก้วด้วยความเร็วสูงจะสามารถกัดกร่อนผิวแก้วให้เกิดเป็นรอยฝ้าลึกลงไปเนื้อแก้ว

ทรายที่ใช้นอกจากจะใช้อะลูมินัมออกไซด์แล้ว ยังสามารถใช้ทรายจากธรรมชาติได้โดยการร่อนเอาเฉพาะทรายที่ละเอียดมากและต้องใช้เครื่องพ่นทรายที่มีแรงพ่นสูงมากขึ้น เพราะทรายจากธรรมชาติจะมีความแข็งและความคมน้อยกว่าอะลูมินัมออกไซด์ เวลาพ่นจึงต้องใช้เวลานานมากกว่ากรรมวิธีที่จะทำให้เกิดเป็นลวดลายตามที่เราต้องการนั้นจะใช้หลักการของการทำสเตนซิล

ซึ่งเป็นกลวิธีการพิมพ์ลายฉลุ โดยการทำแม่พิมพ์แบบง่ายๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะทำการฉลุแผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะเป็นลวดลายหรือภาพ แล้วพ่นหรือทาสีลงไปผ่านช่องที่ฉลุไว้ลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ ซึ่งหลักการนี้เรานำมาใช้ในการทำลวดลายบนกระจกโดยใช้สติกเกอร์พีวีซีแทนกระดาษหรือแผ่นโลหะ มาตัดฉลุให้ได้ลวดลายตามต้องการติดลงบนกระจกลอกส่วนที่ต้องการเกิดลวดลายออกแล้วใช้เครื่องพ่นทรายแทนการพ่นสีลงไป ทำให้เกิดลวดลายเป็นรอยฝ้าขาวบนพื้นแก้วที่เรียบใสตามต้องการ

โดยลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีพ่นทรายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ แบบโพซิทีฟ (Positive) เป็นลวดลายที่ส่วนที่เป็นลายจะเป็นสีฝ้าขาวอยู่บนพื้นแก้วใส ทำได้โดยการแกะสติกเกอร์ส่วนที่เป็นลวดลายออก แล้วพ่นทรายลงในบริเวณที่เป็นลวดลายนั้น ก็จะได้ลวดลายที่เป็นแบบโพซิทีฟ (Positive) แบบที่สองคือแบบเนกาทีฟ (Negative) เป็นลวดลายที่ส่วนที่เป็นลายจะเป็นแก้วใสอยู่บนพื้นที่เป็นฝ้าขาวโดยรอบ

ทำได้โดยการแกะสติกเกอร์ส่วนที่เป็นพื้นรอบนอกออกเหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นลวดลายและพ่นทรายลงบนบริเวณรอบ ๆ ส่วนที่เป็นลวดลาย ก็จะได้ลวดลายแบบเนกาทีฟ

กระจกดัดโค้ง

กระจกดัดโค้ง

กระจกดัดโค้งจัดเป็น กระจกบ้าน สำหรับงานตกแต่งอีกประเภทที่สามารถใช้ได้ทั้งกับงานภายในและภายนอก ขั้นตอนการผลิตไม่ต่างกับกระจกทั่วไป ความแตกต่างคือการเพิ่มความร้อนเพื่อให้กระจกร้อนและอ่อนตัวลงเพื่อให้สามารถทำการดัดโค้งได้ตามรูปแบบที่ต้องการ และทำให้กระจกเย็นลงเพื่อให้กระจกอยู่ตัว

งานกระจก โค้งที่นิยมและพบเห็นบ่อยที่สุดคือ กระจกสำหรับยานพาหนะต่างๆเช่น กระจก รถยนต์ และ กระจก สำหรับยานพาหนะประเภทอื่นๆ ในงานก่อสร้าง กระจก ดัดโค้งจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยหรูอีกประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันอาคารที่ทำงานก่อสร้างอุโมงค์เพื่อเชื่อมทางเดินต่างก็นิยมใช้กระจกดัดโค้งกันแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้กระจกดัดโค้งยังสามารถนำไปใช้ประดับรอบอาคารให้ดูโค้งมนแม้โครงสร้างอาคารจะถูกก่อสร้างด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมก็ตาม ในงานประตู หน้าต่าง หากได้กระจกโค้งมาเป็นส่วนประกอบหลักจะช่วยให้ภาพลักษณ์ ประตู หน้าต่าง ดูมีราคาและเพิ่มรสนิยมมากขึ้น

กระจกฝ้า (Frosted Glass)

กระจกฝ้า

กระจกฝ้าคือ กระจกบ้าน ที่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้กระจกนั้นหมดความใส เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดการมองผ่านทะลุแต่ไม่มืดในทีเดียว กล่าวคือแสงยังสามารถผ่านกระจก เข้ามาเพื่อทำให้พื้นที่ภายในสว่างขึ้นแต่ไม่สามารถมองเห็นภาพข้างหลังกระจก ได้ชัดเจน สิ่งที่เห็นมีเพียงเงาลางๆเท่านั้น

กระจกฝ้ามักถูกใช้งานในบริเวณของห้องน้ำมากที่สุดเนื่องจากเป็นที่ๆต้องการความเป็นส่วนตัวสูงบวกกับเป็นสถานที่ๆไม่เหมาะกับการใช้งานผ้าม่านเนื่องจากเป็นสถานที่ๆมีความชื้นสูง ต้องการแสงผ่านเข้าในระดับหนึ่ง

กระจกกันเสียง (Acoustic Glass)​ 

กระจกกันเสียง

กระจกกันเสียง คือ กระจกบ้าน ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจกประเภทใดมาทำก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม.(ในกรณีที่ใช้กระจกแบบสองชั้น จะต้องมีช่องว่างระหว่างกระจก 70 มม.ขึ้นไป) และควรมีค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ถ้าหากกระจกมีความหนามากกว่า 12 มม. ก็จะยิ่งมีค่า STC สูง ยิ่งค่า STC สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งป้องกันเสียงรบกวนได้มากขึ้นตามไปด้วย

ค่า STC หรือค่า Sound Transmission Class นั้นสามารถแบ่งได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะเสียงรบกวนแบบต่างๆ มีดังนี้

STC 30-39     ลดความดังของเสียงพูดคุยปกติได้ แต่ยังเข้าใจเนื้อหาการสนทนา

เหมาะกับอาคารที่พักอาศัยทั่วไป

STC 40-49        สามารถป้องกันเสียงพูดคุยปกติได้ จนไม่เข้าใจ หรือ จับใจความเนื้อหาการสนทนาไม่ได้

เหมาะกับร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป

STC 50-59      ลดความดังของเสียงคนทะเลาะได้ แต่ยังจับใจความเข้าใจบทสนทนาได้

เหมาะกับห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

STC 60-69      ป้องกันเสียงรบกวนจากคนทะเลาะกัน และเสียงรถวิ่งได้เกือบ 100%

เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเก๊ะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือ สนามบิน

STC 70-74      ลดความดังของเสียงดนตรีที่เล่นอีกฝั่งได้ แต่ยังได้ยินอยู่บ้าง

เหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์  โรงละคร หรือ เธียเตอร์สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต

STC 75 ขึ้นไป ป้องกันเสียงรบกวนจากการเล่นดนตรีได้เกือบ 100%

เหมาะกับสถานบันเทิง

 

ประเภทของกระจกกันเสียง มี 4 ประเภท ดังนี้

1. กระจกชั้นเดียว (Single Glazing)

กระจกบ้าน สีอะไรดี

คือ กระจกที่มี Layer เดียวแบบเพียวๆไม่ว่าจะเป็นกระจกใส หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ฯลฯ กระจกประเภทนี้ยิ่งมีความหนามาก ยิ่งป้องกันเสียงได้ดี ส่วนใหญ่ใช้เป็นกระจกสำหรับประกอบทำกระจกกันเสียง ไม่นิยมนำไปติดตั้งแบบเดี่ยวๆ เนื่องจากกระจกชั้นเดียวเวลาแตกจะร่วงหล่น และมีความแหลมคนเป็นอันตราย

2. กระจกลามิเนต(Laminated Glass)

กระจกลามิเนต

คือ การนำกระจก 2 แผ่นขึ้นไป มาประกบกันแบบสนิท โดยมีชั้นฟิล์ม PVB (Polyvinyl Butyral) ,EVA (Ethylene-vinyl acetate) หรือ SentryGlas ขั้นกลางระหว่างกระจกทั้งสองแผ่น ซึ่งฟิล์มจะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกไม่ให้ร่วงหล่นเวลาแตก

เป็นกระจกที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากเพราะให้ความปลอดภัยสูง เวลากระจกแตกชั้นฟิล์มที่อยู่ตรงกลางระหว่างกระจกทั้งสองแผ่นจะยึดเกาะแผ่นกระจกเอาไว้ไม่ให้ร่วงหล่นลงมา กระจกลามิเนตถ้าหากมีความหนาใกล้เคียงกับกระจกชั้นเดียว กระจกลามิเนตจะกันเสียงได้ดีกว่า เช่น กระจกลามิเนต 6 + 0.38 + 6 มม. (กระจก+ชั้นฟิล์ม+กระจก) = ความหนารวม 12.38 มม. จะหนา และกันเสียงได้ดีกว่ากระจกชั้นเดียว 12 มม. และจะมีค่า STC ที่สูงกว่า

3. กระจกสองชั้น(Double Glazing)

กระจกบ้าน ทุบไม่แตก

คือ การนำกระจก 2 แผ่น (จะใช้กระจกชั้นเดียว หรือ กระจกลามิเนต ก็ได้) มาประกบกันโดยเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้ กระจก 2 ชั้นที่จะกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีช่องว่างตรงกลางระหว่างกระจกไม่น้อยกว่า 70 มม. (7 ซม.) ถึงจะได้ค่า STC ที่สูงขึ้น

4. กระจกสองชั้น แบบผสมผสาน(Double Glazing Mix & Match)

กระจกสองชั้น แบบผสมผสาน

ลักษณะจะคล้ายกับข้อ 3 แต่จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงที่เพิ่มขึ้น โดยแผ่นกระจกจะเปลี่ยนจากกระจกชั้นเดียว เป็นกระจกลามิเนตแทนในส่วนที่เป็นผนังด้านใน หรือ ด้านที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งาน เพราะเวลากระจกแตกจะให้ความปลอดภัยโดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน จึงกลายเป็นกระจกกันเสียงอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน แต่ค่อนข้างราคาสูง

ข้อดี

1. มีความแข็งแรง ทนต่อการบุกรุก หรือ โจรกรรม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

2. ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย

ข้อเสีย

1. มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะหนากว่ากระจกทั่วไป

2. ขนาดของกรอบเฟรม มีขนาดที่กว้างขึ้นกว่ากระจกทั่วไป

การนำไปใช้งาน

โดยส่วนใหญ่แล้วกระจกกันเสียงจะถูกนำไปติดตั้งเป็นผนัง ประตู หรือ หน้าต่าง เป็นหลัก การนำกระจกกันเสียงไปใช้งาน ค่า STC จะต้องมีความสัมพันธ์เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่การใช้งานแบบต่างๆ

ข้อควรระวังในการใช้งาน

ในส่วนนี้อาจจะไม่ใช่ข้อควรระวังเท่าใดนัก แต่จะเป็นการแนะนำเพิ่มเติมมากกว่า ก่อนจะรู้จักกับกระจกกันเสียง หรือ นำกระจกกันเสียงไปใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด เราจำเป็นต้องรู้จักกับค่า STC ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากลให้เข้าใจเสียก่อน โดยค่า STC จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าค่าที่อยู่ในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับการป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกับประเภทพื้นที่การใช้งานแบบใดบ้างนั่นเอง

Sound Transmission Class หรือค่า STC เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง ด้วยการแบ่งห้องว่างออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องที่มีผนังหนามิดชิดเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก จากนั้นก็จะนำวัสดุที่ต้องการทดสอบ เช่น ประตู แผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน หรือ กระจก มาติดตั้งขั้นกลางระหว่าง 2 ห้อง

จากนั้นจะปล่อยพลังเสียงที่มีความดัง แล้วทำการวัดเสียงแบบแยกความถี่ทั้ง 2 ห้อง เพื่อหาส่วนต่าง หรือเรียกว่าค่า Transmission Loss คือ ค่าที่วัสดุที่ทำการทดสอบสามารถป้องกันเสียงได้นั่นเอง จากนั้นจะนำค่า Transmission Loss หรือ TL ออกมาแยกความถี่ในระดับต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระว่างความถี่ (Hz) และค่าเดซิเบลที่ได้ จากนั้นจะนำความสัมพันธ์ในระดับต่างๆไปคำนวนด้วยกราฟเพื่อหาค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ที่เหมาะสมต่อไป

กระจกมู่ลี่ (Internal Blinds)​​ 

กระจกมู่ลี่

Internal Blinds (กระจกมู่ลี่) คือ กระจกบ้าน ที่รวมกระจกฉนวนแบบอากาศแห้งกับม่านปรับแสงให้เป็นชิ้นเดียวกัน หรือ พูดง่ายๆก็คือ มู่ลี่ถูกประกบด้วยกระจกทั้ง 2 ด้าน ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดปัญหาที่พบทั่วไปในครัวเรือน ซึ่งมักจะเกิดคราบสกปรกสะสม โดยเฉพาะบ้านที่ใช้ผ้าม่าน หรือ มู่ลี่แบบปกติ เมื่อมีคราบสกปรกจะทำความสะอาดได้ยาก โดยเฉพาะตามซี่ หรือ ช่องซอกของมูลี่แบบเดิม

มิหนำซ้ำเมื่อใช้งานไปนานๆประกอบกับการทำความสะอาดได้ยาก และอาจไม่ทั่วถึงในบางจุด จึงทำให้มู่ลี่แบบเดิมกลายเป็นตัวสะสมฝุ่น คราบสกปรก หรือ เชื้อโรคเอาไว้ได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานได้ไม่นานเท่าที่ควร

การที่มีวัสดุอย่างกระจกประกบมู่ลี่เอาไว้ จึงช่วยป้องกันคราบสกปรก และฝุ่นไม่ให้เข้าไปเกาะมู่ลี่ภายในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจกได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้หลาย Solution ทั้งการเปิดบานหน้าต่างเพื่อรับลม เปิดมู่ลี่รับแสง หรือปิดเพื่อความเป็นส่วนตัวก็ได้ หากติดตั้งบริเวณประตู หรือ หน้าต่างในห้องครัว กระจกที่ประกบมู่ลี่เอาไว้ทั้ง 2 ด้าน จะช่วยป้องกันคราบมันสกปรกจากการทำอาหารได้ โดยสามารถเช็ด หรือ ทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย

วัตถุดิบ และส่วนประกอบหลักที่นำมาใช้ผลิต​

1. กระจกด้านใน และด้านนอก จะต้องเป็นกระจกที่มีความโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่าง แต่ก็สามารถป้องกันแสง UV ,ฝุ่นและให้ความปลอดภัย จะใช้เป็นกระจกธรรมดา หรือ กระจกเทมเปอร์ได้

2. แผ่นมู่ลี่ที่สามารถเปิดรับแสง หรือปิดเพื่อกันแสงได้

3. เฟรมอลูมิเนียม หรือ UPVC ที่มีความแข็งแรง ทนทาน

4. ซิลิโคน ซีล สำหรับซิลปิดช่องว่างระหว่างกระจกกับเฟรม เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำ

ข้อดี

1. ไม่สะสมฝุ่น และคราบสกปรก

2. มีความแข็งแรงทนทาน

3. ทำความสะอาดได้ง่ายกว่ามู่ลี่ทั่วไป

4. ช่วยลดแสง UV และป้องกันความร้อน

5. ป้องกันน้ำ ไอน้ำ และป้องกันการเกิดฝ้าเกาะกระจก

6. ช่วยลดเสียงรบกวน

ข้อเสีย

1. มีขนาดความหนา และน้ำหนักมากกว่ากระจกทั่วไป

2. เมื่อกลไกภายในเสียหาย จะต้องรื้อออกสถานเดียว จึงจะทำการซ่อมแซมได้

การนำไปใช้งาน

สามารถนำไปใช้งานได้กับอาคารขนาดเล็ก และอาคารขนาดกลาง เช่น บ้านพักอาศัย โรงเรียน โรงแรม หรือ สำนักงาน ฯลฯ ในส่วนประเภทการนำไปใช้งานจะมี 3 รูปแบบ คือ ประตูกระจกมู่ลี่ หน้าต่างกระจกมูลี่  และ บานกระจกมูลี่

ข้อควรระวังในการใช้งาน

เวลาจะยกมู่ลี่ขึ้นต้องปรับให้ตั้งตรงก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหาย และช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน ซึ่งถ้าหากเกิดความเสียหายกับกลไกภายในจะต้องรื้อออกสถานเดียว จึงจะซ่อมแซมได้

 

สาเหตุและวิธีการป้องกันกระจกแตกร้าว

กระจกบ้าน เป็นรอยลึก

กระจกแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน บางชนิดช่วยลดความร้อนให้พื้นที่ภายในบ้าน บางชนิดมีความแข็งแรงใช้เป็นราวกันตกได้ดี อย่างไรก็ตามการใช้งานกระจกก็ต้องมีความระมัดระวัง เพราะมีความเสี่ยงต่อการแตกร้าวระหว่างการใช้งานได้อยู่ตลอด เราไปดูสาเหตุและวิธีการป้องกันเบื้องต้นกันต่อเลย

สาเหตุและวิธีป้องกัน

  1. การแตกร้าวที่เกิดจากการที่กระจกบิดตัวหรือแอ่นตัวมากเกินไปซึ่งน่าจะเกิดตั้งแต่การติดตั้งว่ากรอบบิดตัวไม่ได้ระนาบที่พอดี รวมไปถึงอาจมาจากการเลือกความหนาของกระจกไม่เหมาะสม เพราะการเลือกความหนาของกระจกต้องให้สัมพันธ์กับความกว้างของกระจกด้วย
  2. กระจกที่แตกหรือร้าวเองส่วนใหญ่จะเกิดกับกระจกเทมเปอร์ ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่

2.1 การเคลื่อนย้ายและติดตั้ง ในระหว่างติดตั้งหรือเคลื่อนย้ายผิวกระจกอาจกระแทกจนเกิดรอย ซึ่งอาจจะยังไม่แตกในตอนนั้น แต่รอยเหล่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้กระจกพร้อมแตกได้เสมอ หรือตอนติดตั้งที่ไม่ระวังมากพอทำให้มีเศษอะไรเข้าไปเบียดกับขอบกระจก ก็ทำให้กระจกแตกได้

2.2 อาคารหรือตึกที่อยู่อาศัยได้รับแรงสั่นสะเทือน เกิดการร้าวจากเสียงที่ดังเกินไป

2.3 กระจกเทมเปอร์ จะมีสารนิกเกิลซัลไฟด์ปะปนมาตั้งแต่กระบวนการหลอม ทำให้เมื่อเนื้อกระจกโดนความร้อนก็จะขยายตัวขึ้น และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมากๆ ก็ทำให้กระจกสามารถแตกเองได้

  1. ความร้อนในเนื้อกระจกที่กระจายตัวไม่เท่ากันทำให้กระจกเกิดรอยร้าว และแตกได้ ยิ่งถ้าหากกระจกมีรอยตำหนิที่อาจเกิดจากการขนส่งหรือติดตั้ง ยิ่งทำให้เกิดการแตกร้าวได้เร็วขึ้น

สรุปเบื้องต้น

การแตกร้าวของกระจกที่กล่าวมานี้ บางปัญหาก็เป็นเรื่องของการเลือกชนิดและขนาดของกระจกที่ไม่เหมาะสม บางปัญหาก็เกิดจากขั้นตอนในการติดตั้ง และบางปัญหาก็เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิที่แตกต่างกันของภายนอกและภายในอาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราควบคุมได้ยาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวกระจกเองและอาจทำอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ดังนั้น เมื่อเกิดรอยร้าวก็ควรแก้ไขโดยเร็ว เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้มากที่สุด

ฟิล์มติดกระจก หรือ ฟิล์มกรองแสง (Window Tint Film)

ฟิล์มติดกระจก หรือ ฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มติดกระจก หรือ ฟิล์มกรองแสง คือฟิล์มที่ทำมาจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ที่มีความบาง เหนียว และเรียบสนิท เมื่อติดตั้งบนกระจกแล้วจะเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันกับกระจก  โดยจะยึดฟิล์มกับกระจกด้วยกาวที่มีความใส โดยฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้นั้น คือฟิล์มที่เคลือบโลหะลงไปด้วย โดยจะมีคุณสมบัติในการกรองและสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาเคลือบ โดยประเภทของฟิล์มกันแสงมีดังต่อไปนี้

  1. ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) เป็นฟิล์มที่นำสีมาย้อมกาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติกรองแสงได้ แต่สามารถลดความร้อนได้น้อย อายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปีเมื่อเสื่อมสภาพสีจะจางลง อาจมีการโป่งพองของฟิล์ม
  2. ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film) เป็นฟิล์มที่นำอนุภาคของโลหะมาเคลือบบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก และสามารถลดความร้อนได้มาก และมีอายุการใช้งานประมาณ 5 – 7 ปี และวัสดุที่ใช้มีคุณภาพดีกว่าฟิล์มย้อมสี
  3. ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film) เป็นฟิล์มที่ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสูญญากาศให้อนุภาคของโลหะติดเข้ากับแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนสูงมาก ลดความร้อนได้ประมาณ 50 – 70% โดยฟิล์มประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด

งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร

หาผู้รับเหมา หาช่างก่อสร้าง รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน รับทำ BOQ ถอดแบบประมาณราคา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!