กระเบื้องยาง คือ วัสดุปูพื้นบ้าน อีกประเภทหนึ่ง ที่ปูได้สะดวกรวดเร็วกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงพอกัน หากต้องการนำกระเบื้องยาง มาปูพื้น ควรเลือกชนิดและแบบให้เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกระเบื้องยางมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ตามความชอบ เช่น แบบแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาด 6 x 6 นิ้ว 9 x 9 นิ้ว และ 12 x 12 นิ้ว หนา 3-4 มิลลิเมตร มีสีและลวดลาย ให้เลือกมาก ทั้งสีพื้น สีลายแฟนซี ลวดลายเลียนแบบ ธรรมชาติ สีลายหินแกรนิต มีทั้งผิวเรียบและผิวสัมผัส
สารบัญ
กระเบื้องยาง คือ
กระเบื้องยาง คือ กระเบื้องที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น เราจึงเรียกกระเบื้องชนิดนี้ว่ากระเบื้องยาง โดยวัสดุที่ใช้ทำกระเบื้องยางหลัก ๆ นั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือยางพารา และวัสดุโพลิเมอร์อย่าง PVC (Polyvinylchloride) หรือ PU (Polyurethane)
ดังนั้นบางครั้งเราจึงได้ยินคนเรียก กระเบื้องยาง ว่า กระเบื้องไวนิล หรือพื้นไวนิล ซึ่งความแตกต่างระหว่างกระเบื้องยางที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติอย่างยางพารานั้นมีความเหนียว ความยืดหยุ่นตัวสูง ทนทานต่อการฉีกขาดและการขัดถูสูง ทั้งยังทนกรดอ่อน ด่างอ่อนได้ดีอีกด้วย
ในขณะที่กระเบื้องยางที่ผลิตจากวัสดุโพลิเมอร์นั้นมีความยืดหยุ่นพอสมควร และมีแรงหนืดระหว่างการสัมผัสกับกระเบื้องยางสูง ทำให้สามารถลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการลื่นหรือสะดุดล้ม ทั้งยังสามารถรองรับแรงกระแทกและน้ำหนักมากได้เป็นอย่าง และมีราคาที่ถูกกว่ากระเบื้องยางที่ผลิตจากยางพารา ในขณะที่ความทนทานไม่ต่างกันมากนัก กระเบื้องยางจากวัสดุโพลิเมอร์จึงค่อนข้างเป็นที่นิยมมาก
ประเภทของกระเบื้องยาง
สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งจะทำจากยางพารา สามารถหาได้ง่ายๆ ในประเทศไทย กระเบื้องจะมีความเหนียวยืดหยุ่นตัวสูงทนทานต่อการใช้งาน ไม่เกิดการฉีกขาดได้ง่าย และต้านทานการขุดถูสูง
2. ผลิตจากโพลิเมอร์(กระเบื้องยางไวนิล) จะมีโพลียูรีเทนและพีวีซี ถ้าหากว่าเป็นโพลียูรีเทนจะมีคุณสมบัติดีกว่าพีวีซี จะมีความเหนียว ทนทานการฉีกขาดได้มากว่า และหากโดนความร้อนมากๆ จะไม่กรอบและเปราะง่ายเหมือนพีวีซีเลย
ความแตกต่างระหว่างกระเบื้องยาง กับ กระเบื้องยางไวนิล
กระเบื้องยางและกระเบื้องยางไวนิลทำมาจากวัสดุเดียวกันคือยางพารา แต่กระเบื้องยางไวนิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากกระเบื้องยางแบบเดิม โดยเคลือบสารเคลือบผิวไว้หลายชั้น เพื่อป้องกันการขีดข่วน และสร้างความทนทานให้กับกระเบื้องมากขึ้น สรุปแล้วกระเบื้องทั้งสองชื่อนี้คือกระเบื้องประเภทเดียวกัน แต่มีรายละเอียดต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
1. กระเบื้องยาง นำมาประยุกต์ใช้ปูผนัง จึงมีสีสันให้เลือกเยอะกว่าและไม่มีสารเคลือบผิวป้องกันรอยถลอกจากการใช้งานเหมือนกระเบื้องยางไวนิล จึงมีราคาถูกกว่า
2. กระเบื้องยางไวนิลมักออกแบบมาให้ประกอบด้วยคลิกล็อก เพราะจะมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น เนื่องจากการติดตั้งด้วยกาวจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุการใช้งานของกระเบื้อง
3. กระเบื้องยางไวนิล มักใส่สารที่เพิ่มความแข็งแรงทนทานไว้เยอะกว่ากระเบื้องยางธรรมดา เช่น สารดูดซับกลิ่น, สารเพิ่มคุณสมบัติป้องกันเชื้อรา
4. กระเบื้องยางไวนิลมักทำมาจากยางที่เติมคุณสมบัติป้องกันการหดตัวระหว่างติดตั้ง และใช้งาน
5. กระเบื้องไวนิลอาจเติมความพิเศษของสารเคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันการลื่น หรือป้องกันแสงยูวีทำลายสีกระเบื้อง
สรุป คือ กระเบื้องยางไวนิล มีการเติมสารเคมีเพิ่มคุณสมบัติของยางไปเยอะกว่า หากคุณต้องการกระเบื้องยางที่มีคุณสมบัติหลายอย่างก็เลือกเป็นกระเบื้องยางไวนิล แต่หากต้องการติดตั้งกระเบื้องยางสำหรับพื้นที่ใช้สอยทั่วไปในระยะสั้นก็เลือกเป็นกระเบื้องยางธรรมดาได้คุ้มค่ากับการใช้งาน
บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER
บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE
- บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
- บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
- บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
- บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)
ชนิดของกระเบื้องยาง
1. กระเบื้องยางธรรมชาติ
กระเบื้องยางโดยทั่วไป ซึ่งจะมีรูปแบบที่พบเห็นได้ 2 แบบ แบบแรก คือ แบบแผ่น นำมาปูต่อกันเรียกว่า “กระเบื้องยางแผ่น” กับอีกแบบที่เป็นแผ่นขนาดใหญ่มาเป็นม้วนที่เรียกกันว่า “กระเบื้องยางม้วน”
1.1 ชั้นบนสุด (Wear Layer)
เป็นวัสดุเคลือบผิวประเภท PVC ความหนาประมาณ 0.15-0.5 มม. ช่วยทำหน้าที่ปกป้องชั้นฟิล์มดังกล่าว ซึ่งความหนาของชั้นผิวเคลือบที่มากขึ้นช่วยเพิ่มความแข็งให้กับแผ่นกระเบื้องยาง นอกจากนี้ผิวบนสุดของ Wear Layer จะเคลือบด้วย Polyurethane อีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันน้ำ รังสี UV รอยขีดข่วน และคราบสกปรกที่เกิดจากการใช้งาน รวมถึงควบคุมลักษณะความมัน เงา หรือด้านของพื้นผิวกระเบื้องยางด้วย
1.2 ชั้นกลาง (Middle/Core Layer)
เป็นชั้นวัสดุหลักก็คือ ไวนิล/PVC โฟม ที่มีคุณลักษณะต่างกันไปตามแต่ละผู้ผลิตจะเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนตัว ยืดหยุ่น เหนียว นุ่ม ฯลฯ เช่น กระเบื้องยางเนื้อนุ่มจะใช้โฟมเป็นวัสดุชั้นกลาง และคืนตัวได้ดีถึงแม้จะถูกกดทับเป็นเวลานาน เป็นต้น ผิวบนของวัสดุชั้นกลางนี้จะพิมพ์หรือเคลือบฟิล์มที่มีสีและลวดลายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสีเรียบ ลายหิน ลายไม้ ลายพื้นไม้ปาร์เกต์ ฯลฯ
1.3 ชั้นล่างสุด (Bottom/Base Layer)
เป็นวัสดุไฟเบอร์กลาสซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรง และชั้นที่เป็น ไวนิล/PVC หรือโฟม อีกชั้น ที่บางกว่าชั้นกลางเพื่อช่วยเพิ่มความคงตัวให้กันแผ่น โดยผิวล่างสุดของชั้นนี้มักจะเคลือบสาร Anti-Mould ป้องกันการเกิดเชื้อราด้วย
ทั้งสามชั้นของแผ่นกระเบื้องยางตามที่เล่ามา เมื่อรวมกันแล้วจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 1.2-4.0 มม. ความหนาของแผ่นกระเบื้องยางจะส่งผลต่อการเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้ง โดยที่กระเบื้องยางยิ่งบางเท่าไรยิ่งต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบมากขึ้นเท่านั้น
2. กระเบื้องยางไวนิล
2.1 กระเบื้องไวนิล LVT (Luxury Vinyl Tile)
กระเบื้อง LVT เป็นกระเบื้องที่มีภาพลักษณ์ตอบโจทย์การใช้งานในบ้านพักอาศัยมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกชื่อ “กระเบื้องไวนิล” ควบคู่ชื่อการเรียกชื่อกระเบื้องยางในบ้านเรา โดยมีสิ่งที่แตกต่างจากกระเบื้องยางทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดคือผิวสัมผัสที่เลียนแบบลวดลายของฟิล์มที่พิมพ์ไว้ได้ค่อนข้างใกล้เคียง
ความหนาของชั้น Wear layer ที่เพิ่มขึ้นเป็น 0.12-0.7 มม. จึงทนต่อการเกิดรอยขีดข่วนได้ดียิ่งขึ้น และมีความหนารวมของแผ่นกระเบื้องอยู่ที่ 3-5 มม. ซึ่งแม้จะหนาขึ้นเล็กน้อยแต่ยังมีความอ่อนตัวอยู่ จึงต้องเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้งให้เรียบสม่ำเสมอกันเช่นเดียวกับการปูกระเบื้องยาง ทั้งนี้กระเบื้อง LVT จะมีแต่รูปแบบแผ่นที่เลียนแบบไม้ หิน เหล็กมาปูต่อกัน ไม่มีรูปแบบม้วนขนาดใหญ่อย่างกระเบื้องยางแบบเดิม
2.2 กระเบื้องไวนิล WPC (Wood Plastic Composite)
คือกระเบื้องไวนิลที่มีชั้น Middle Layer เป็น WPC ซึ่งเป็นวัสดุผสมระหว่างผงไม้และพลาสติกอัดแน่นเข้าด้วยกัน ช่วยเพิ่มความคงตัวให้กับแผ่นกระเบื้องได้มากขึ้น
สิ่งที่แตกต่างจากกระเบื้อง LVT คือ มีความแข็งของแผ่นมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีความหนารวมและความหนาของชั้น Wear Layer แทบจะไม่ต่างกัน โดยมีความหนาแผ่นรวมอยู่ที่ 4-6.5 มม. และมีความหนาของชั้น Wear Layer อยู่ที่ 0.3-0.55 มม.
แต่กลับไม่จำเป็นต้องเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้งเรียบมากนัก เพียงให้ได้ระดับก็พอ ทั้งยังมีพื้นผิวที่แข็งทนต่อแรงกดทับได้ดีกว่า มีผิวสัมผัสตามลวดลายเสมือนจริงมากกว่า ส่วนในเรื่องรูปแบบของกระเบื้อง WPC จะมีแต่แบบแผ่นมาปูต่อกันเช่นเดียวกับกระเบื้อง LVT โดยจะมีการออกแบบลิ้นและร่องลิ้นด้านข้างเพื่อติดตั้งแบบ Click Lock เท่านั้น
2.3 กระเบื้องไวนิล SPC (Stone Plastic Composite)
เรียกอีกชื่อว่า “กระเบื้อง Rigid LVT” คือกระเบื้องไวนิลที่มีชั้น Core Layer เป็น SPC ซึ่งเกิดจากการผสมกันระหว่างหินปูนบดอัดเข้ากับพลาสติก สิ่งที่ได้คือความแข็งตัวสูงและไม่มีการยืดหดตัว จึงไม่พบปัญหาการเกยกันหรือโก่งตัวของแผ่นกระเบื้องที่ใช้งานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก ซึ่งอาจพบได้ในการใช้งานกระเบื้องยาง กระเบื้อง LVT รวมถึงกระเบื้อง WPC
ความหนารวมของแผ่นกระเบื้องอยู่ที่ 3-4 มม. และมีความหนาของชั้น Wear Layer อยู่ที่ 0.3-0.55 มม. เท่านั้น แต่ด้วยความแข็งของวัสดุจึงทนต่อแรงกระแทก แรงกดทับ และการขีดข่วนได้มาก เรียกว่าแทบไม่เกิดรอยให้กวนใจ ทั้งยังสามารถใช้งานในที่เปียกชื้นอย่างห้องน้ำได้สบาย ๆ โดยมีการติดตั้งแบบ Click ที่ยึดแน่นได้ดีกว่า LVT หรือ WPC อีกด้วย
จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน
ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน
กด >> รับสร้างบ้าน
ลักษณะของกระเบื้องยาง
กระเบื้องยาง มีหลากหลายประเภทให้เลือกสรรให้เหมาะแก่การใช้งาน โดยกระเบื้องยางแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. กระเบื้องยางแบบแผ่น
มีลักษณะเป็นทั้งกระเบื้องยางแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปแบบอื่น ๆ มีหลากหลายขนาดความใหญ่ และความหนาให้เลือก โดยความหนาของกระเบื้องยางแบบแผ่นมักมีความหนาตั้งแต่ 2 – 12 เซนติเมตร แล้วแต่จุดประสงค์การใช้งาน
2. กระเบื้องยางแบบม้วน
ที่มีลักษณะเป็นม้วนใหญ่ หน้ากว้าง 1.0 – 1.20 เมตร ยาว 10 – 15 เมตร แล้วแต่รุ่นและการผลิต โดยกระเบื้องยางแบบนี้สามารถติดตั้งได้ไวโดยเชื่อมรอยต่อด้วยความร้อน ทำให้ไม่มีร่องรอยต่อให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ทำความสะอาดได้ง่าย จึงมักนิยมใช้กันในโรงพยาบาลเป็นส่วนมาก เพียงแต่ต้องอาศัยผู้ชำนาญในการติดตั้ง
ส่วนประกอบ ของกระเบื้องยาง
กระเบื้องยางจะมีอยู่ 6 ชั้น ด้วยกัน แต่ละชั้นจะมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. UV Coating ชั้นที่ 1
จะอยู่ชั้นบนสุดของกระเบื้องยาง จะเป็นชั้นที่เคลือบด้วย PU เพื่อ ปกป้องสีซีดจางจากแสงแดด ทำให้กระเบื้องยางมีสีสดใหม่เสมอ
2. Wear Layer ชั้นที่ 2
กันสึก เป็นแผ่น โพลีเมอร์ ที่มีคุณสมบัติ ปกป้องสี และ ลวดลายของกระเบื้องยาง ไม่ว่าจะเป็น ลายไม้ หรือ ลายปูนก็ตาม
3. Printing Layer ชั้นที่ 3
ส่วนจะแสดง ลวดลาย และ สี ของกระเบื้องยาง ที่สวยงาม โดยกระเบื้องยาง ของ ดับเบิลฟลอร์ มีให้เลือกหลากสี และ หลายลวดลาย ทั้งลายไม้ และ ลายปูน โดยแต่ละสีและ ลวดลายของกระเบื้องยาง ได้ถูกออกแบบ และ คัดเลือกจากดีไซเนอร์ ชื่อดัง ทำให้ไม่ว่าจะเลือกกระเบื้องยาง สีไหน ของดับเบิลฟลอร์ ก็สามารถแต่งพื้นห้องให้สวยได้ง่าย
4. Fiberglass ชั้นที่ 4
จะอยู่ชั้นกลางของกระเบื้องยาง เป็น signature ตัวชูโรงความมีคุณภาพโดดเด่น ของ ดับเบิลฟลอร์ ที่เราผลิตโดยใส่ส่วนผสมของ ไฟเบอร์กราส เพื่อช่วยลดอัตราการยืด หด ขยายตัวของ วัสดุกระเบื้องยาง ทำให้กระเบื้องยางของดับเบิลฟลอร์ ทนต่อสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงได้ดี
5. Middle Layer ชั้นที่ 5
ชั้นไวนิลที่กำหนดความหนาของกระเบื้องยาง และ มีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก และ มีส่วน support ลด การยืดหด ของกระเบื้องยางอีกด้วย
6. Balance Layer ชั้นที่ 6
ชั้นล่างสุด ของกระเบื้องยาง ชั้นนี้มีคุณสมบัติ ลดการยืดหด และ เพิ่มการยึดสัมผัส กับพื้นผิวที่ติดตั้ง
การเลือกใช้งานกระเบื้องยางและกระเบื้องยางไวนิล
การเลือกใช้งานกระเบื้องยางและกระเบื้องยางไวนิล มีดังนี้
1. พื้นที่หน้างาน
2. โทนสีของกระเบื้องยางที่ต้องการ
3. การใช้งานของพื้นที่ ความแข็งแรงของพื้นที่
4. งบประมาณสำหรับติดตั้งกระเบื้อง
5. อายุการใช้งาน
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการใช้งานของกระเบื้องยาง คือ กาวปูกระเบื้องยาง ซึ่งตัวกระเบื้องยางเองมีอายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป แต่ตัวกาวมีอายุราว 5 ปี จึงทำให้ต้องปูทับใหม่ หรือเลือกเป็นกระเบื้องยางที่ประกอบด้วยการล็อก
ลายกระเบื้องยาง
ด้วยคุณสมบัติที่ติดตั้งง่าย จึงมักมีผู้นำกระเบื้องยางมาใช้กับงานปูพื้นและปูผนัง ทางผู้ผลิตจึงได้ออกแบบลายกระเบื้องยางที่ตอบโจทย์ดีไซน์ของการตกแต่งประเภทต่าง ๆ โดยกระเบื้องยางมีลวดลายที่นิยม ดังนี้
- กระเบื้องยางลายไม้
- กระเบื้องยางลายหินอ่อน
- กระเบื้องยางลายหินขัด
- กระเบื้องยางลายหินธรรมชาติ
- กระเบื้องยางลายปูนเปลือย
- กระเบื้องยางลายปูนขัดมัน
- กระเบื้องยางลายอิฐ
สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต
กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน
ราคาระหว่างกระเบื้องยางกับกระเบื้องยางไวนิล
สิ่งที่ทำให้ราคาของกระเบื้องยางและกระเบื้องยางไวนิลต่างกันคือ “สี” และ “คลิกล็อก” สองอย่างนี้จะทำให้กระเบื้องยางประเภทนั้นมีราคาสูงขึ้น เพราะทำยากขึ้นและใช้เทคนิคประกอบมากขึ้น
1. กระเบื้องยางสีที่เป็นความต้องการตลาด มีการผลิตออกมามากราคาก็จะถูกกว่า สีที่นิยม ได้แก่ กระเบื้องยางสีไม้อ่อน, กระเบื้องยางลายอิฐ, กระเบื้องยางลายหินอ่อน
2. กระเบื้องยางแบบประกอบตัวล็อก จะมีราคาสูงกว่า เพราะช่างต้องใช้อุปกรณ์มาช่วยตัดให้พอดี เนื่องจากเนื้อวัสดุหนากว่ากระเบื้องยางทั่วไป
3. สีสั่งผลิตเพิ่มเติมจะทำให้กระเบื้องยางแต่ละแบบมีราคาสูงขึ้น
ข้อดีและข้อเสียของพื้นกระเบื้องยาง
ข้อดีของกระเบื้องยาง
1. ตัววัสดุสามารถทนน้ำและทนความชื้นได้ดี
2. ไม่มีปัญหาเรื่องปลวกเนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของไม้
3. ติดตั้งได้ง่าย เวลาปูกระเบื้องยางจะใช้เวลาน้อยกว่ากระเบื้องทั่วไปไม่เกิดฝุ่นและไม่มีเสียงรบกวน
4. สามารถปูทับวัสดุเดิมเพื่อปรับโฉมให้บ้านเก่า
5. ราคาไม่แพงกระเบื้องยางจะมีราคาทีถูกกว่ากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งราคาไม่สูงเท่าวัสดุที่ทำจากธรรมชาติจริงอย่างไม้หรือหินอ่อน
6. ทำความสะอาดได้ง่ายแต่ไม่ควรทิ้งคราบไว้นานจนเกินไป ถ้าเป็นได้ถ้ามีคราบทำความสะอาดเลยจะดีมาก
7. ไม่มีสาร Formaldehyde ที่มักตกค้างหรือแฝงตัวอยู่ตามเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์ตกแต่ง หรือเครื่องใช้สำนักงาน ทำให้ไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว
8. มีลวดลายหลากเลยแบบ
9. ยืดหยุ่นสูงไม่หักง่าย
10. ยึดเกาะดีเวลาเดินไม่ลื่น
11. เดินแล้วไม่เกิดเสียง
12. รอยต่อของกระเบื้องจะปิดสนิทหากมีปัญหาเรื่องฝุ่นในบ้าน กระเบื้องชนิดนี้จะตอบโจทย์ได้ดีมาก เวลาปัดกวาดบ้าน ไม่ต้องกังวลว่าฝุ่นจะอยู่ตามรอยต่อของกระเบื้อง โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดูดฝุ่น
ข้อเสียของกระเบื้องยาง
1. จำเป็นต้องปรับพื้นให้เรียบก่อนทำการการปูทับวัสดุเดิมเพราะความหนาของกระเบื้องยางยิ่งบางเท่าไรยิ่งต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบมากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ได้ระดับที่เท่ากัน
2. กระเบื้องยางอาจเกิดการหดตัวเมื่อใช้งานกระเบื้องยางไปเป็นเวลานานสามารถมีการหดตัวเกิดขึ้น ทว่าการหดตัวของกระเบื้องยางก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายขนาดนั้น เพื่อน ๆ จะสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เมื่อใกล้ครบอายุการใช้งาน หลังจากนั้นก็ทำเพียงเปลี่ยนประเบื้องยางชุดใหม่เท่านั้นเอง
3. เกิดรอยขีดข่วนได้ หากโดนการกระแทกค่อนข้างแรง
4. ไม่ทนต่อกรดและด่าง
การติดตั้งกระเบื้องยางแบบแผ่น
จากที่กล่าวไปว่ากระเบื้องยางแบบม้วนนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งเพื่อให้กระเบื้องยางมีขนาดพอดีกับพื้นที่ แต่สำหรับกระเบื้องยางแบบแผ่นนั้นสามารถแบ่งออกตามการติดตั้งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. แบบ Dry Back หรือ Glue Down
เป็นการติดตั้งด้วยการใช้กาวทาลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้องยาง วิธีการนี้สามารถใช้ติดตั้งได้ทั้งกระเบื้องยางแบบแผ่นและแบบม้วน โดยการติดตั้งกระเบื้องยางแบบแผ่นจะเริ่มจากกลางห้องไล่ออกไปจนถึงขอบผนัง เป็นการติดตั้งที่เหมาะกับพื้นที่ต่อเนื่องขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในบ้านที่ผนังโดยรอบยังไม่เรียบร้อย มีช่องว่างที่ขอบล่างของผนัง หรือพื้นที่ที่มีการสัญจรมากอย่างอาคารสาธารณะต่าง ๆ
2. แบบ Peel and Stick
กระเบื้องยางที่ด้านล่างหรือด้านหลังของแผ่นกระเบื้องยางจะมีชั้นกาวลักษณะเหมือนสติกเกอร์มาด้วย ทำให้สามารถติดตั้งได้เร็วกว่าเพราะลดขั้นตอนการทากาวบนพื้นและรอกาวเซตตัว เพียงแค่ลอกแผ่นสติ๊กกอร์ออกแล้วติดตั้งลงไปได้เลย เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง
3. แบบ Loose Lay
วิธีการติดตั้งนี้จะต่างจากสองวิธีแรกคือไม่ใช้กาวในการติดตั้ง แต่จะอาศัยความหนืดของพื้นผิวด้านล่างของกระเบื้องยางเป็นตัวเสียดทานเพื่อป้องกันการขยับหรือลื่นไถลของตัวกระเบื้องยาง และอาจใช้กาวหรือเทปกาวสองหน้าควบคู่ด้วยตามแนวขอบห้องหรือพื้นที่ โดยวิธีการติดตั้งแบบนี้สามารถใช้ได้ทั้งในการติดตั้งกระเบื้องยางแบบแผ่นและแบบม้วน บางครั้งเรียกว่า Floating Installation
วิธีนี้เป็นการติดตั้งที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว สามารถรื้อแผ่นกระเบื้องยางหรือบริเวณที่เสียหายออกเพื่อเปลี่ยนกระเบื้องยางแผ่นใหม่ทดแทนได้ง่าย นิยมใช้ในงานแปลงโฉมวัสดุปูพื้น หรือก็คือปูทับไปกับห้องที่มีผิวพื้นหรือผนังเรียบร้อยดีอยู่แล้ว
4. แบบ Click-Lock
วิธีการติดตั้งอีกรูปแบบที่ไม่ต้องใช้กาว แต่อาศัยการล็อกกันระหว่างแผ่นกระเบื้องยาง สามารถพบได้ในกระเบื้องยางรุ่นที่มีการออกแบบขอบกระเบื้องให้มีลิ้น หรือเป็นร่องเกี่ยวกัน สามารถปูบนพื้นเรียบโดยทั่วไปได้เลย หรือปูแผ่นโฟมรองก่อนเป็นการช่วยเรื่องปรับระดับพื้น หรือเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันเสียง
การติดตั้งวิธีนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ที่ติดตั้งต่อเนื่องกันไม่มากเท่าการติดตั้งโดยใช้กาว ซึ่งขนาดที่เหมาะสมจะเป็นไปตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายกำหนดไว้
ความเหมาะสมของการใช้งานกระเบื้องยาง
เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงแรม สำนักงาน อาคาร พื้นที่ใช้สอยทั่วไปและที่พักอาศัยต่างๆและสถานที่อื่นๆ ที่ ต้องการเน้นความหรูหรา เรียบง่าย ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้นคือ เหมาะกับที่ๆมีการสัญจรตลอดเพราะโพลิเมอร์มีแรงหนืดทำให้เกิดการยึดเกาะที่ดี การทำความสะอาดก็ง่าย แต่ต้องระวังในการใช้สารเคมีเพราะกระเบื้องยางก็มีข้อจำกัด เรื่องการเกิดรอย เพราะกระเบื้องยางนั้น เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคิดเปรียบเทียบกันราคาแล้วก็จัดว่าคุ้มค่า
กระเบื้องยางไวนิลกับอันตรายต่อสุขภาพ
กระเบื้องยางไวนิลเป็นวัสดุที่ไม่เป็นพิษ (Non Toxic) และไม่มีส่วนผสมของใยหิน(Non Asbestos) กระเบื้องยางไวนิลผลิตออกมาจะไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน (Asbestos Free) วัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนตัวโครงสร้างภายในจะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ ซึ่งวัสดุที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน(Asbestos) จะเกิดการแตกหักง่าย และถ้าวัสดุเจอความร้อนดังกล่าวจะระเหยออกมา ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่ทำให้ก่อเกิดการเป็นมะเร็งได้
ความทนทานของกระเบื้องยาง
วัสดุสามารถทนอุณหภูมิเย็นได้ -15 °C และทนอุณหภูมิร้อน 50 °C ซึ่งอากาศในประเทศไทยนั้นมันไม่ถึงขนาดนั้นอยู่แล้วนอกจากเสียว่าเราจะนำไปตากแดดไว้เวลานานๆซึ่งมันจะสอดคล้องที่ว่ากระเบื้องยางนิยมติดตั้งที่ไหน คำตอบมันก็เลยเป็นไปตามนั้นคือ นิยมติดตั้งในอาคารเสียมากกว่าติดตั้งข้างนอกตัวอาคาร ที่สำคัญวัตถุดิบหลักสำคัญที่เป็นส่วนประกอบตรงชั้นแกนกลางคือ “พีวีซี บริสุทธิ์” (Pure Virgin PVC) ไม่มีการยืดหดตัวและแตกหัก
พอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (Polyvinylchloride : PVC) คือ พอลิเมอร์ที่สำคัญที่สุดในกลุ่มไวนิลด้วยกัน มักเรียกกันทั่วไปว่า พีวีซี เนื้อพีวีซีมักมีลักษณะขุ่นทึบแต่ก็สามารถผลิตออกมาให้มีสีสันได้ทุกสี ตัวมันเองเป็นสารที่ทำให้ไฟดับจึงไม่ติดไฟ มีลักษณะทั้งที่เป็นของแข็งคงรูปและอ่อนนุ่มเหนียว มีคุณสมบัติทั่งไปดังนี้
1. มีความแข็งแรงดี
2. ต้านทานต่อสารเคมี และน้ำ
3. ทนทานต่อสภาวะอากาศ และสิ่งแวดล้อมปกติ
4. ของแข็งคงรูป และอ่อนนุ่มเหนียว
และตัวกระเบื้องยางไวนิลนั้นมีส่วนผสมของ PVC ประมาณ 70% ใช้เม็ดพลาสติกหลอมให้เป็นแผ่น และประสาน กันสองชั้น ไม่ผ่านการอบร้อนอบเย็น จึงสามารถขยายตัวได้ พื้นผิวด้านบนยังให้ความเป็นธรรมชาติอีกด้วย
อายุการใช้งานของกระเบื้องยาง
อายุการใช้งานของกระเบื้องยางนั้นอยู่ได้มากกว่า 10 ประมาณ 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปูให้ถูกวิธีและคุณภาพของตัวกระเบื้องยางอีกด้วย
กระเบื้องยางกับการทนน้ำทนความชื้น
ทนทานต่อความชื้นดีกว่าพื้นไม้ลามิเนต น้ำไม่สามารถซึมลงไปในกระเบื้องยางได้ รวมถึงไม่ซึมผ่านร่องระหว่างข้อต่อของกระเบื้องยาง
วิธีการดูแลรักษาพื้นกระเบื้องยาง
1. ทำความสะอาดคราบสกปรกด้วยผ้าชุบน้ำที่ผสมกับน้ำยาทำความสะอาดพื้นที่มีฤทธิ์เป็นกลาง
2. ห้ามเทน้ำหรือ น้ำสบู่เพื่อล้างพื้นโดยตรง โดยเฉพาะบนพื้นที่ปูกระเบื้องยางใหม่ ๆ ไม่ถึง 1 อาทิตย์
3. หากมีรอยกาวเปื้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำมันก๊าด ผสมกับน้ำเช็ดทำความสะอาดทันที
4. ควรใช้ wax ชนิดน้ำ เคลือบผิวหน้ากระเบื้องยาง 1-2 ครั้ง ต่อเดือน
5. ห้ามใช้ ทินเนอร์ เบนซิน เช็ดล้างทำความสะอาดพื้นกระเบื้องยาง
6. ขจัดคราบฝังลึกด้วยน้ำยาขัดเงาชนิดครีมเหลว
7. คราบสีน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดเช็ด
8. คราบสีน้ำมัน ให้ขัดด้วยน้ำยาขัดเงาแบบครีมเนื้อแข็ง โดยใช้แผ่นใยขัดโลหะช่วยขจัดคราบ
9. ลบรอยถลอกและรอยส้นรองเท้าบนพื้นไวนิล ด้วยผ้าชุบสารแอลกอฮอล์หรือน้ำมันสน หรือ ขัดรอยออกด้วยผ้าชุบน้ำยาขัดเงาชนิดครีมเหลว
10. รอยไหม้ โดยใช้กระดาษทรายเนื้อละเอียดขัด ถ้ารอยไหม้ยังเห็นชัด ตัดส่วนที่เสียหายออก แล้วสอดชิ้นใหม่ลงไปแทน
สรุป
กระเบื้องยาง จะเป็นกระเบื้องที่ติดตั้งได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องทั่วไป เดี๋ยวนี้จะมีลวดลายสวยงามหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นลายไม้ ลายหินอ่อน ลายปูนขัดมัน สีพื้น เป็นต้น มีทั้งแบบเป็นม้วนปูได้พื้นที่กว้าง โดยไม่มีรอยต่อ แบบแผ่นที่ใช้กาวติดตั้งและแบบแผ่นที่มีกาวในตัวอยู่แล้ว
ที่สำคัญหลายๆ คนเลือกใช้กระเบื้องยางนั้น เป็นเพราะมีราคาถูก คงทน ทำความสะอาดได้ง่ายๆ และยังมีความสวยงามอีกด้วย จะเหมาะบ้านหลายๆ แนว แต่ก่อนที่เลือกนั้นเราควรทำความรู้จักกระเบื้องยางกันก่อนเพื่อง่ายในการใช้งาน และใช้งานอย่างถูกต้อง ช่วยยืดอายุกระเบื้องให้ได้นานยิ่งขึ้น
1. ปูทับกระเบื้องเดิมได้เลย
หากต้องการเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ โดยไม่ต้องรื้อกระเบื้องออกให้หมดเลย เพราะกระเบื้องยางสามารถปูทับได้เลย อาจต้องทำความสะอาดอีกหน่อย ก็สามารถปูทับได้เลย เพียงแค่ต้องเป็นพื้นเรียบเท่านั้น
2. สามารถนำไปติดผนังหรือเพดานได้
กระเบื้องยางนั้นไม่ใช่แค่ปูพื้นเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปติดที่ผนังบ้าน หรือบนเพดานบ้านได้ บ้านจะมีลวดลายเดี่ยวกัน ดูกลมกลืนมากขึ้น ทำให้บ้านน่าอยู่ และสวยงามไม่เหมือนใคร ส่วนเรื่องการติดตั้งนั้น จะเหมือนกับการปูกระเบื้องบนพื้นเลย และไม่ยากเกินไป
3. สามารถติดตั้งเองได้ง่ายๆ
หากใครที่ไม่อยากเสียเงินจำนวนเพิ่มนั้น สามารถติดตั้งกระเบื้องยางได้ง่ายๆ แต่ต้องดูด้วยว่าพื้นบ้านเราเป็นแบบไหน หากดูแล้วเราพอจะทำได้ ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก ถ้าหากว่าพื้นบ้านเรายังไม่ทำอะไรเลยนั้น เราควรจ้างผู้ชำนาญทำจะดีกว่า เพื่อไม่เกิดความเสียเพิ่ม จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกด้วย
4. อายุการใช้งาน
หากพูดเรื่องอายุการใช้งานของกระเบื้องยางไม่แพ้กระเบื้องทั่วไปเลย โดยจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ 10 – 15 ปี เลย แต่จะต้องดูความหนาของชั้นเคลือบด้วย หากยิ่งเคลือบผิวชั้นนอกหนาเท่าไร ก็ยิ่งมีอายุการใช้งานนานขึ้น แต่จะมีราคาแพงกว่า ด้วยความหนาของชั้นเคลือบด้วย
งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร