การเลือก วัสดุปูพื้นบ้าน เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เพราะบรรยากาศภายในห้องและการใช้งานจะเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับการเลือกวัสดุปูพื้นห้องนี่แหละ โดยวัสดุปูพื้นมากมายหลายอย่างให้เลือกใช้ แต่ละประเภทก็ยังแบ่งได้อีกหลายแบบ หลายลวดลายให้เลือกใช้ เรามาดู วัสดุปูพื้นบ้าน ยอดนิยมกัน
สารบัญ
- พื้นไม้จริง
- พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
- กระเบื้องยาง หรือ กระเบื้องไวนิล
- กระเบื้องเซรามิค
- พื้นไม้ปาร์เกต์
- พื้นไม้ลามิเนต
- ข้อควรรู้
วัสดุปูพื้นบ้าน
วัสดุปูพื้นบ้าน ภายในบ้าน ที่นิยมในปัจจุบัน มี 6 ประเภท ดังนี้
1. พื้นไม้จริง
เป็นพื้นไม้ที่มีความสวยงามและให้ความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ใกล้ธรรมชาติ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายตา ส่วนใหญ่ไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นไม้ปูพื้น ได้แก่ ไม้สักทอง ไม้สักขี้ควาย ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้ตะแบก และไม้ตะเคียน นอกจากนั้นยังนิยมใช้ไม้ปูพื้นที่มีราคารองลงมา เช่น ไม้เต็ง และไม้รกฟ้าอีกด้วย ซึ่งการเลือกใช้ปูพื้นนั้นส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของห้อง ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย หรือสีของไม้
ข้อดีของพื้นไม้จริง
- แข็งแรง คงทน
- ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย อบอุ่น เป็นธรรมชาติ
ข้อเสียของพื้นไม้จริง
- มีราคาสูง
- เป็นวัสดุหายาก
- มีความยืด-หดตามสภาพอากาศ
- มีปัญหาเรื่องปลวกและไม่ทนความชื้น
อ่านเพิ่มเติม พื้นไม้จริง
2. พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
เป็นพื้นไม้อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้ โดยพื้นไม้เอ็นจิเนียร์จะเป็นการผสมผสานกันระหว่างไม้จริงกับวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ คือ ใช้พื้นไม้จริงที่มีขนาดความหน้า 3 มม. ปิดทับไม้เนื้อแข็งที่ทำการอัดสลับกับเสี้ยนไม้ จากนั้นปิดทับด้วยยูวีอะคริลิคแลคเกอร์อีกชั้นในการเคลือบหน้าผิว เพื่อความสวยงามและทนทานต่อแรงขีดข่วนต่อพื้นไม้
ข้อดีของพื้นไม้เอนจิเนียร์
- มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน
- หาได้ง่ายตามท้องตลาด
- ให้ผิวสัมผัสเสมือนไม้จริง
- แข็งแรงคงทน
- มีราคาให้เลือกตามเกรดวัสดุ
ข้อเสียของพื้นไม้เอนจิเนียร์
- ไม่สามารถนำกลับมาขัดหน้าแผ่นไม้ใหม่ได้เหมือนกับไม้จริง
อ่านเพิ่มเติม พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
3. กระเบื้องยาง หรือ กระเบื้องไวนิล
เป็นกระเบื้องที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับใช้การตกแต่งภายใน ปูพื้น ปูผนังได้ เป็นกระเบื้องที่ผลิตมาจากยางธรรมชาติหรือโพลิเมอร์ กระเบื้องยาง มีราคาถูก เป็นกระเบื้องที่ทนความชื้นได้ดี ไม่แตกหัก เพราะพื้นทำมาจากยาง มีความนุ่ม ดูแลรักษาง่าย กันน้ำ มีความสวยงาม มีความเรียบแต่หรูหรา มาพร้อมกับอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 10 – 15 ปี
ข้อดีของกระเบื้องยาง
- มีความทนทาน กันน้ำ และป้องกันปลวก
- ราคาถูก หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด
- ทนความชื้น การขีดข่วน ป้องกันการลื่น
- รองรับน้ำหนักได้ดี
- มีลวดลายให้เลือกมากมาย
- ติดตั้งง่ายและใช้เวลาน้อย
- สามารถปูทับพื้นเดิม
- ซ่อมแซมเองได้
ข้อเสียกระเบื้องยาง
- ในการติดตั้งจะต้องติดตั้งกับพื้นที่เรียบ และมีความสะอาดเท่านั้น
- ไม่ได้ให้ความสัมผัสถึงไม้จริง
- ถ้าติดตั้งทับพื้นกระเบื้องเซรามิก ต้องยาแนวให้เรียบก่อน
อ่านเพิ่มเติม กระเบื้องยาง
4. กระเบื้องเซรามิค
เป็นกระเบื้อง ที่เราพบเห็นได้ตามตัวอาคารทั่ว ๆ ไป พื้นกระเบื้องมีความแน่นและแข็งแกร่งค่อนข้างสูง มีคุณสมบัติใกล้เคียงหิน แต่แตกหักได้ง่าย เพราะส่วนใหญ่มักจะทำออกมาเป็นแผ่นบาง กระเบื้องเซรามิกมีลวดลายบนตัวกระเบื้องเนื่องจากมีการพิมพ์ลายลงบนเนื้อ กระเบื้องเซรามิกมีการแยกประเภทสำหรับใช้ปูพื้นหรือใช้ปูผนัง เวลาไปเลือกซื้อจึงต้องระบุชนิดของกระเบื้องให้ดี ส่วนราคาของกระเบื้องเซรามิกถือว่าราคาไม่สูง มีตั้งแต่ราคา 10 กว่าบาทขึ้นไปจนถึงราคาหลักร้อย
ข้อดีของกระเบื้องเซรามิก
- สีสัน ลวดลายมีให้เลือกหลายขนาด
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับคุณภาพ
- หาซื้อได้ง่าย
ข้อเสียของกระเบื้องเซรามิก
- เวลาเปียกน้ำมักมีความลื่น
- รื้อแล้วนำมาปูใหม่ไม่ได้
- แตกหักง่าย
อ่านเพิ่มเติม กระเบื้องปูพื้น
5. พื้นไม้ปาร์เกต์
เป็นพื้นไม้จริงที่มีขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดความกว้าง 2-4 นิ้ว มีความยาวอยู่ระหว่าง 8-18 นิ้ว และมีความหนาไม่เกิน 1.8 เซนติเมตร ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นไม้และชนิดของไม้ปาร์เกต์
ปาร์เกต์เป็นไม้ชิ้นเล็ก ๆ ที่นำมาต่อกันคล้ายกับ โมเสค การปูพื้นด้วยปาร์เกต์เป็นการตกแต่งบ้านให้ดูมีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ พื้นไม้ปาร์เกต์ยังมีจุดเด่น คือ ไม่เก็บฝุ่น ทำให้ไม่เกิดการสะสมแหล่งของโรคภูมิแพ้ และพื้นปาร์เกต์ยังสามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย ปาร์เกต์สามารถทำขึ้นได้จากไม้หลายชนิด เช่น ปาร์เกต์ไม้แดง ปาร์เกต์ไม้สัก ปาร์เกต์ไม้เทียม เป็นต้น
ข้อดีของพื้นไม้ปาร์เกต์
- ลวดลายสวยงาม
- ไม่กักเก็บฝุ่น
- ติดตั้งง่าย
ข้อเสียของพื้นไม้ปาร์เกต์
- ไม่ทนความชื้น
- ปลวกสามารถกัดกินไม้ได้ง่าย
- เป็นรอยง่าย
อ่านเพิ่มเติม เปรียบเทียบชนิด วัสดุปูพื้น ที่นิยมในปัจจุบัน
6. พื้นไม้ลามิเนต
เป็นพื้นไม้สังเคราะห์ที่ทำขึ้นมาเพื่อทดแทนไม้จริง พื้นผิวสัมผัสให้ความรู้สึกเสมือนไม้จริง แต่มีราคาถูกกว่า โดยพื้นไม้ลามิเนตประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
– Wear Layer หรือชั้นเคลือบผิว เป็นชั้นที่อยู่บนสุด ทำหน้าที่ในการเคลือบชั้นผิวของพื้นไม้ให้มีความคงทน ป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดจากการใช้งาน
– Pattern Layer หรือชั้นลวดลายไม้ เป็นแผ่นวัสดุพิมพ์ลายเลียนแบบสีและลวดลายของไม้ชนิดต่างๆ ใช้ในการปกปิดส่วนที่เป็นแกนไม้หลักที่สังเคราะห์ขึ้น (Substrate Later)
– Substrate Later หรือชั้นแกนหลัก เป็นวัตถุสังเคราะห์ทดแทนเนื้อไม้จริง ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยสังเคราะห์ เศษไม้ กาว และเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ (เช่น ทนความร้อน ทนปลวก ทนความชื้น) บีบอัดเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็นแผ่นไม้
– Backing Layer หรือชั้นแผ่นรองพื้น ซึ่งใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบล่างสุด ทำหน้าในการป้องกันความชื้นให้กับเนื้อไม้ในการปูพื้น
ข้อดีของพื้นไม้ลามิเนต
- ติดตั้งได้เร็ว น้ำหนักเบา และทนทาน
- ให้ผิวสัมผัสเหมือนไม้จริง
- ราคาถูก ค่าบำรุงรักษาน้อยกว่าไม้จริง
- สวย ลายไม้มีความเหมือนจริง
- ปูทับพื้นเดิมได้
ข้อเสียของพื้นไม้ลามิเนต
- ต้องระวังเรื่องความชื้น เพราะไม้มิเนตไม่ทนความชื้น
- ซ่อมแซมเองไม่ได้ ต้องเป็นช่างเท่านั้น
- ระวัง ปลวก มอด ชอบพื้นแบบนี้
อ่านเพิ่มเติม พื้นไม้ลามิเนต
ข้อควรรู้
6 ข้อควรรู้ก่อนจะปูวัสดุปูพื้นภายในบ้านชนิดไม้ มีดังนี้
1. กำหนดพื้นที่ที่ต้องการใช้พื้นไม้
ขั้นตอนนี้จะต้องคิดตั้งแต่ตอนออกแบบบ้าน เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เห็นภาพรวม รวมไปถึงคาดการงบประมาณ ในการสร้างหรือรีโนเวทบ้านได้
2. เลือกโทนสีและลายไม้ จากสไตล์ที่ตัวเองชอบ
สไตล์การออกแบบ ส่งผลต่อการเลือกสีและลวดลาย หากต้องการตกแต่งในสไตล์ โมเดิร์น(Modern) หรือ มินิมอล(Minimal) ให้เลือกสีโทนอ่อนมีลวดลายไม่เด่นมากนักหรือหากต้องการตกแต่งสไตล์ร่วมสมัย ก็สามารถเลือกสีของไม้ได้หลากหลาย แล้วแต่ความชอบเลยค่ะ
3. เลือกประเภทของพื้นไม้
พื้นไม้มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น พื้นไม้สัก พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ พื้นไม้ลามิเนต เป็นต้น
4. ลำดับของการเข้างานพื้น
งานพื้นควรจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการก่อสร้าง หรือรีโนเวท การที่เข้างานพื้นเป็นลำดับสุดท้ายจะเป็นการช่วยลดโอกาสที่ช่างจะทำพื้นเสียหาย
5. ลองวางพื้นไม้เพื่อดูสีและลวดลายก่อนติดตั้งจริง
ก่อนทำการติดตั้งพื้นไม้ ควรนำมาเรียงบนพื้นที่หน้างานจริงก่อน เพื่อเป็นการเช็คในเรื่องของสี และลวดลาย ว่าเป็นอย่างที่เราต้องการหรือไม่ วิธีการนี้จะทำให้ได้สีและลวดลายตามที่เราต้องการก่อนทำการติดตั้งจริงนั่นเอง
6. การป้องกันพื้นหลังจากติดตั้งเสร็จ
ถึงเราจะปูพื้นเป็นอันดับสุดท้าย แต่ก็ยังต้องคลุมพื้นด้วยกระดาษลูกฟูก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เศษหิน หรือ กรวดเม็ดเล็ก ๆ ที่มีอยู่ทุกบริเวณที่ก่อสร้าง เข้ามาบริเวณพื้นที่ติดตั้งเสร็จ เพราะอาจจะทำให้พื้นเป็นรอย เกิดความเสียหาย ดังนั้นควรป้องกันไว้ก่อน จนกว่าจะมีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ หลังจากที่เก็บงานทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ถึงจะเอากระดาษลูกฟูกที่คลุมไว้ออก
อ่านเพิ่มเติม รู้จัก ‘5 วัสดุ’ ที่ใช้ปูทับพื้นเก่าได้โดยไม่ต้องรื้อ
บริการของเรา
กดที่นี่!! >> บริษัทรับสร้างบ้าน
กดที่นี่!! >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน
งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร