ฝ้าเพดาน กับ การปลูกบ้าน

ฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดาน คือ แผ่นวัสดุที่ช่วยปิดบังพื้นที่บริเวณใต้หลังคาหรือใต้พื้นชั้นบน โดย ฝ้าเพดาน จะคอยช่วยปิดบังความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ยังซ่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยุ่งเหยิง เช่น ท่อน้ำ สายไฟ และนอกจากนี้ฝ้าเพดานยังมีคุณสมบัติเป็นวัสดุกันเสียง และทนไฟได้อีกด้วย การติดตั้งฝ้าเพดานในอาคารสำนักงาน หรือ ที่พักอาศัย จึงควรศึกษาข้อดีและข้อเสีย ความเหมาะสม ทั้งในแง่การใช้งาน ที่มาพร้อมกับความสวยงาม

ในบทความนี้จะพูดถึง ฝ้าเพดานบ้านกับการปลูกบ้าน แบบละเอียดสุดสุดไปเลย

 

สารบัญ

 

ฝ้าเพดาน

วัสดุของฝ้าเพดานนั้นมีหลากหลาย ซึ่งแต่ละชนิดวัสดุที่นำมาใช้นั้นต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อยซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่และหน้าที่ใช้งาน

  1. ฝ้าเพดานที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง

ติดฝ้าเพดานบ้านไม้

มีความแข็งแรงทนทาน สวยงามแบบธรรมชาติ แต่หายาก ราคาแพง ติดไฟง่าย มีปัญหาเรื่องปลวกและบิดงอง่ายถ้าคุณภาพไม่ดีพอซึ่งน่าจะเหมาะกับอาคารบ้านเรือนที่เน้นความเป็นธรรมชาติ

  1. ฝ้ากระเบื้องดีไซน์แผ่นเรียบ

ฝ้าเพดานเรียบ

มีคุณสมบัติทนน้ำและความชื้นได้ดี ข้อเสียที่เป็นกระเบื้องจึงเป็นวัสดุที่แตกง่ายและจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งแผ่น

  1. ฝ้าอลูมิเนียม

ฝ้าอลูมิเนียม

เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่ทนน้ำและความชื้นได้ดี แต่ก็ตามด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงและกันความร้อนได้ไม่ดี

  1. ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด

ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด

เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แถมทนไฟ และสามารถฉาบปิดรอยต่อได้อย่างเรียบเนียน แต่ข้อเสียคือไม่ทนน้ำ และอาจมีเชื้อราขึ้นได้หากอยู่ในที่ชื้น

ประโยชน์ของฝ้าเพดาน

  1. ปกปิด สิ่งต่าง ๆ ที่ติดอยู่กับเพดานสร้างความไม่เรียบร้อยเมื่อพบเห็น ได้แก่ โครงสร้างที่ฉาบปูนไม่เรียบร้อย
  2. ป้องกันความร้อน ซึ่งบริเวณบนฝ้าสามารถติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมได้ ลดการเกิดความร้อนสะสม
  3. ปกปิดความไม่สวยงาม ของ สายไฟ ท่อน้ำ ดวงไฟโคม
  4. ช่วยเก็บเสียง
  5. ช่วยเรื่องงานตกแต่ง ถ้าหากต้องการออกแบบไฟหลบ ไฟซ่อน เพิ่มสไตล์ต่าง ๆ
  6. ใช้เป็นวัสดุชะลอการลุกลามของไฟไหม้ไม่ให้ลุกลามไปชั้นต่าง ๆ ได้

 

จากครอบครัวช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุคุณภาพสูง งบไม่บานปลาย เสร็จตามเวลา ช่างไม่ทิ้งงาน วางใจถึงหลังส่งมอบ มีประกันงาน บริการสร้างบ้าน รับออกแบบบ้านสวยๆ ทุกสไตล์ บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ขนาดเล็กและใหญ่ ราคาเหมาะสม ตามงบประมาณ กับ TAMPBUILDER(แทมป์บิวเดอร์) บริษัทรับสร้างบ้าน

 

 

ได้บ้านในฝันตามงบประมาณ ราคายุติธรรม ช่างผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน

กด >> รับสร้างบ้าน

 

 

ฝ้าเพดาน มีกี่ประเภท

ฝ้าเพดาน มีกี่ประเภท และทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง โดยหลักๆเรา เราจะแบ่งฝ้าเพดานเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

ยุคเรเนซองส์  ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังฟื้นฟูศิลปวิทยาการ งานออกแบบเพดานได้รับการพัฒนาให้มีระดับความละเอียด และมีความหลากหลายมากขึ้น โดยแบ่งออกได้ 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ฝ้าเพดานรูปทรงเรขาคณิต

ฝ้าเพดานแบบไหนดี

มีทั้งรูปทรงกลมสี่เหลี่ยม รูปทรงแปดเหลี่ยม และฝ้าเพดานในลักษณะตัวแอล โดยชายขอบของฝ้าจะเต็มไปด้วยงานสลักที่สวยงาม

ประเภทที่ 2 ฝ้าเพดานโค้ง และฝ้าเพดานกึ่งโค้ง

ฝ้าเพดานหลังคา

โดยจะมีการทาสีตกแต่งที่ส่วนโค้งของเพดาน เพื่อเน้นให้ส่วนโค้งมีความโดดเด่น  จนมาถึงยุคบาโรกก็มีการใช้วัสดุใหม่ๆเข้ามาตกแต่งฝ้าเพดานโค้งได้อย่างสวยงามแปลกใหม่อย่างเช่น ม้วนกระดาษพิมพ์ (เป็นวัสดุรากฐานของการกำเนิดวอลเปเปอร์ในอดีต)

ประเภทที่ 3 ฝ้าเพดานที่ถูกพัฒนาโครงสร้างรับน้ำหนักให้แข็งแรงขึ้น

ฝ้าเพดานบ้านโมเดิร์น

ทำให้พื้นที่ฝ้าเพดานมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ในการตกแต่งงานศิลป์ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก และงานจิตรกรรมสามารถทำได้อย่างถึงขีดสุด อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีการทดลองวัสดุตกแต่งใหม่ๆเพิ่มเข้ามา จึงทำให้งานตกแต่งเพดานในยุคนี้มีความสวยงามวิจิตรตระการตา ดังเช่น ฝ้าเพดานในพระราชวัง Doges ในเมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี เป็นต้น

ฝ้าเพดานมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงยุคโมเดิร์นซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม การออกแบบเพดานในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้ถูกลดทอนรายละเอียดต่างๆลงค่อนข้างมาก ประกอบกับมีการตัดองค์ประกอบที่ฟุ่มเฟือยหลายๆอย่างออก จึงทำให้ฝ้าเพดานในยุคนี้มีความเรียบง่ายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การออกแบบเพดานในยุคโมเดิร์น

การออกแบบเพดานในยุคโมเดิร์น ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1.เพดานแบบแขวน (เน้นความสวยงามเรียบร้อยของสเปซ) 

ฝ้าเพดานกันน้ำ

เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาฝ้าเพดานที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นฝ้าเพดานที่อยู่ในระยะที่ต่ำกว่าโครงสร้างพื้นชั้นบน สถาปนิกในยุคนั้นพยายามออกแบบเพดานขึ้นมาอีกชั้นเพื่อปกปิดท่อต่างๆของงานระบบ เพื่อทำให้สเปซภายในห้องมีความเรียบร้อยสวยงาม

2.เพดานแบบเปิด (เน้นความเป็นสัจจะของวัสดุ และสเปซ)

ฝ้าเพดานบ้านสวยๆ

คือ ไม่มีอะไรมาปกปิดท่องานระบบ ได้รับความนิยมในงานออกแบบเช่นเดียวกัน โดยจะเน้นการโชว์ให้เห็นกลิ่นอายยุคอุตสาหกรรมที่สะท้อนผ่านท่อต่างๆของงานระบบอาคาร และความเป็นสัจจะธรรมชาติของการใช้วัสดุในสเปซนั้นๆ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าฝ้าเพดานถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่ออาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรม ฝ้าเพดานถูกใช้ประโยชน์เพื่อปิดบังท่องานระบบ และอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่น่าดูใต้พื้นชั้นบนเหนือฝ้าเพดาน อีกทั้งยังช่วยป้องกันฝุ่น ป้องกันแมลง ช่วยรักษาสมดุลอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ และทำให้พื้นที่ภายในห้องนั้นๆดูเรียบร้อยสะอาดตา ซึ่งมีหลายๆวัสดุให้เลือกใช้ตามแต่ความต้องการ

ปกติแล้วฝ้าเพดานจะถูกแบ่งตามลักษณะการใช้งานหลักๆก็คือ ฝ้าภายใน และฝ้าภายนอก แต่ก็ยังสามารถแบ่งตามประเภทย่อยได้อีกดังนี้

1.แบ่งประเภทฝ้าเพดานตามลักษณะการติดตั้ง

2.แบ่งประเภทฝ้าเพดานตามวัสดุการติดตั้ง

 

บริการเสริม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง TAMPBUILDER

บริษัทรับเหมาก่อสร้างของเราทำแบบครบวงจร ONE STOP SERVICE

  1. บริการรับสร้างบ้านหรู (สนใจ กด >> รับสร้างบ้านหรู luxury โมเดิร์น)
  2. บริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านยื่นขออนุญาต (สนใจ กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน)
  3. บริการหาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา (สนใจ กด >> หาผู้รับเหมา หาช่างรับเหมา)
  4. บริการรับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา (สนใจ กด >> รับทำBOQ รับถอดแบบและประมาณราคา)

 

 

แบ่งประเภท ฝ้าเพดานบ้าน ตามลักษณะการติดตั้ง

ฝ้าเพดานบ้าน แบ่งประเภทตามลักษณะการติดตั้ง ได้ 8 ประเภท ดังนี้

1. ฝ้าเพดานฉาบเรียบ

ฝ้าฉาบเรียบ

หากใครต้องการให้บ้านหรือคอนโดของเราดูเรียบร้อย มีดีไซน์ กลมกลืนไปกับการออกแบบมีสไตล์ตามที่เราตั้งใจไว้ ต้องนึกถึง ฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบ อย่างแน่นอน โดยวัสดุส่วนใหญ่ที่นิยมมาติดตั้งจะทำมาจากแผ่น ยิปซั่ม หรือไม่ก็ไฟเบอร์ซีเมนต์ เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา และติดตั้งง่าย โดยฝ้าเพดานประเภทนี้จะเป็นการติดตั้งแบบถาวรจึงต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าต้องการดีไซน์แบบนี้จริง ๆ ส่วนวิธีการติดตั้งคือ จะยึดเข้ากับโครงคร่าวอลูมิเนียมที่ติดตั้งไว้กับเพดานหรือโครงหลังคาอีกทีหนึ่ง

หลักจากติดตั้งฝ้าเพดานเสร็จ ช่างจะทำการฉาบเรียบแต่ละแผ่นโดยจะฉาบปิดรอยต่อด้วยปูนสำหรับฉาบปิดรอยต่อฝ้า แล้วปิดทับรอยต่อด้วยผ้าด้ายดิบ เมื่อเสร็จทั้งหมดแล้วก็จะทาสีทับอีกครั้ง จึงมองเห็นแผ่นฝ้าเพดานเรียบเป็นผืนเดียวกันตลอดแนวของห้อง

2. ฝ้าเพดานแขวน หรือ ฝ้า T-Bar

ฝ้าเพดานทีบาร์

ฝ้าเพดานประเภทนี้เป็นที่นิยมค่อนข้างมากเพราะการติดตั้งไม่ซับซ่อน แถมยังมีราคาถูกกว่าบรรดาฝ้าในแบบอื่น ๆ อีกทั้งง่ายต่อการ Maintenance สายไฟ และท่อน้ำต่าง ๆ ได้ แถมหากฝ้าเพดานชิ้นใดเกิดชำรุดก็สามารถเปลี่ยนที่ชำรุดได้เลยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหมดเหมือนกับฝ้าฉาบเรียบ

ฝ้าเพดานชนิดนี้ จะมีการติดตั้งโครงคร่าวอลูมิเนียมที่เป็นรูปตัว T คว่ำ ที่ยึดด้วยลวดโครงคร่าวกับหลังคาหรือเพดาน ก่อนที่จะติดตั้งฝ้าเพดาน ซึ่งโครงคร่าวรูปตัว T คว่ำนี้จะแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมตามขนาดของแผ่นฝ้าเพดาน โดยจะมี 2 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ 60 x 60 ซม. และขนาด 60 x 120 ซม. เป็นขนาดมาตรฐานของแผ่นยิปซั่ม

การติดตั้งฝ้าเพดานประเภทนี้เหมาะกับอาคารสำนักงานที่ต้องการซ่อมบำรุงของส่วนเพดานได้ง่าย หรือจุดใดจุดหนึ่งของอาคารเกิดความเสียหาย อย่างเช่น น้ำรั่วจึงทำให้ฝ้าเพดานบริเวณนั้นเกิดความเสียหายได้ ซึ่งก็สามารถเปลี่ยนแผ่นฝ้าเพดานได้ใหม่เฉพาะจุดนั้นได้เลย จึงไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเท่าที่ควร แต่ไม่เหมาะกับอาคารสำนักงานสูง (ที่บางอาคารเปิดหน้าต่างรับลม) เพราะถ้าหากว่ามีลมพัดแรงมาก ๆ อาจจะโดนฝ้า และทำให้ฝ้าเพดานหลุดร่วงได้ และอีกอย่างเลยก็คือ หากอาคารมีการสั่นไหวจากแรงแผ่นดินไหว (อาจจะเกิดกับประเทศไทยได้น้อย) อาจจะทำให้ฝ้าเพดานหลุดลงมาเป็นอันตรายต่อคนในอาคารได้

นอกจากนี้ฝ้าเพดานชนิดนี้ไม่ควรติดตั้งที่ห้องน้ำ หรือพื้นที่ครัว เพราะฟังก์ชั่นนี้มีความชื้นสูง ทางที่ดีควรจะใช้ฝ้าเพดาน และโครงคร่าว  T-Bar แบบกันชื้น ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ฝ้าเพดานมีความชื้นและเกิดเชื้อราได้

3. ฝ้าเพดานแบบเล่นระดับ หรือ ฝ้าหลุม

ฝ้าเพดานแบบเล่นระดับ หรือ ฝ้าหลุม

ฝ้าเพดานประเภทนี้จะมีดีไซน์ที่แปลกตา แถมมีการเล่นไฟให้เกิดความสวยงามอีกด้วย ซึ่งจะห้องประชุมในสำนักงาน คอนโด หรือหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ จะมีดีไซน์ลักษณะนี้ แต่จะแตกต่างในเรื่องขนาด และการออกแบบ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตกแต่งฝ้าเพดานแบบนี้ดึงดูดสายตาได้ดี ดูมีมิติ และยังให้ความรู้สึกว่าความสูงระหว่างพื้นถึงฝ้าสูงมากขึ้นไปอีก  หากฝ้าเพดานเล่นระดับนี้นำมาออกแบบเพิ่มกับการเลือกใช้คิ้วบัวตกแต่งผสมผสานร่วมด้วย ก็จะยิ่งได้สไตล์คลาสสิคสวยงาม

4. ฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟ หรือ ไฟหลืบ ไฟซ่อนฝ้า

ฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟ หรือ ไฟหลืบ ไฟซ่อนฝ้า

ฝ้าเพดานประเภทนี้ ไม่ต่างจากฝ้าประเภทฝ้าหลุมแต่อาจจะเว้นช่องเพื่อไปใส่หลอดไฟขนาดเล็ก เพื่อส่องสว่างเนียน ๆ ได้แสงที่สม่ำเสมอ นุ่มนวล และดูสบายตา ในการเปิดใช้งาน โดยส่วนมากมักจะใช้เพื่อสร้างบรรยากาศ และตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงามหรูหราให้กับพื้นที่นั้น ๆ

5. ฝ้าเพดานดูดซับเสียง หรือ ฝ้าอะคูสติก

ฝ้าเพดานดูดซับเสียง หรือ ฝ้าอะคูสติก

เดิมทีฝ้าเพดานประเภทนี้ เป็นฝ้าเพดานที่นำมาผสมผสานกับโคร่งคร่าวแบบฝ้าแบบ T-Bar โดยเปลี่ยนจากฝ้ายิบซั่มบอร์ดมาใช้ฝ้าเพดานแบบดูซับเสียงแทน ซึ่งสามารถป้องกันเสียงสะท้อนได้ อย่างเช่น Acoustic Board มีผิวสัมผัสขรุขระ ช่วยในการดูดซับเสียงไม่ให้สะท้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนิยมใช้ในห้อง ที่มีการใช้เสียง อย่างเช่น ห้องประชุมสัมมนา, ภายในอาคารสำนักงาน หรือ ห้องแสดงมหรสพต่าง ๆ

แต่ในปัจจุบันนอกจากโครงเคร่าฝ้าแบบ T-Bar แล้ว ได้มีการพัฒนาระบบโครงเคร่าฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบ ที่สามารถใช้ผสมผสานกับแผ่นฝ้า Acoustic Board ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น

6. ฝ้าเพดานโปร่ง หรือ ฝ้าระแนง

ฝ้าเพดานโปร่ง หรือ ฝ้าระแนง

ฝ้าเพดานประเภทนี้ใช้ตกแต่งและพรางระบบท่อ และสายไฟต่าง ๆ ได้ระดับหนึ่ง แต่ยังซ่อมบำรุงได้ง่าย เพราะเห็นจุดเสียที่จะซ่อมได้อย่างชัดเจน และยังทำให้สไตล์การออกแบบโดยรวมดูทันสมัยอีกด้วย ส่วนใหญ่มักใช้กับอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น โถงตามโรงแรม, อาคารสำนักงาน, สถานีรถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้า ฯลฯ

7. ฝ้าเพดานติดตั้งพิเศษ

ติด ฝ้าเพดานบ้านไม้

ฝ้าประเภทนี้ เป็นฝ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความสวยงาม หรือ สร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างให้กับพื้นที่นั้นๆ เช่น ล็อบบี้โรงแรม หรือ ภายในรีเทลช๊อป ที่ต้องการประสบการณ์ในการรับรู้ที่แปลกใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจ ลักษณะของฝ้าประเภทนี้จะมีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะต่างจากฝ้าทั่วไป และอาจมีการผสมผสานในด้านการใช้วัสดุที่หลากหลายขึ้น เช่น กระจก ,อะคริลิค ,ผ้าใบ ,ผ้าตกแต่ง ,แผ่นอลูมิเนียม หรือ ไม้จริง เป็นต้น ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้งมากกว่าฝ้าแบบทั่วไป

8. ฝ้าชายคา หรือ ฝ้าเพดานภายนอก

ฝ้าชายคา หรือ ฝ้าเพดานภายนอก

ฝ้าเพดานประเภทนี้ เป็นฝ้าที่ใช้ปิดเพดาน และชายคาที่อยู่นอกอาคาร มีจุดประสงค์หลักในการป้องกันสัตว์ต่างๆเข้ามาใต้เพดาน ป้องกันความร้อนจากภายนอก และช่วยระบายอากาศจากใต้หลังคา เราจึงมักเห็นฝ้าที่ออกแบบให้มีร่องระบายอากาศสำหรับใช้ภายนอกอยู่บ่อยๆนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม หลังคาบ้าน

 

แบ่งประเภท ฝ้าเพดาน ตามวัสดุการติดตั้ง

ฝ้าเพดาน แบ่งประเภทตามวัสดุการติดตั้งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. ฝ้าเพดานที่ทำจากวัสดุยิปซั่ม

ฝ้าเพดานที่ทำจากวัสดุยิปซั่ม

แผ่นฝ้าเพดานที่ทำมาจากยิปซั่มนี้ถูกผลิตมาจากผงแร่ยิปซั่มที่ถูกอัดและปิดทับหน้าหลังด้วยกระดาษ เราเห็นจึงมีพื้นผิวที่มีความเรียบเนียน โดยปกติแล้วแผ่นยิปซั่มจะมีความหนาที่หลากหลายแต่ที่นิยมใช้กันในท้องตลาด ได้แก่ ขนาด 9 มม., 12 มม. และ 15 มม. ขนาดแผ่นกว้าง 1.20 ม. ยาว 2.40 ม. และยังมีราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับชนิด และความหนา โดยจะมีราคาตั้ง 140 – 300 บาท ต่อแผ่น โดยแผ่นฝ้าเพดานยิปซั่มแบ่งประเภทตามรูปแบบของการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้

  1. แผ่นยิปซั่มรุ่นมาตรฐานจะมีสีขาว ทำฝ้าเพดานต่าง ๆ และสามารถทำผนังได้
  2. แผ่นยิปซั่มทนความชื้นจะมีลักษณะเป็นพื้นผิวที่เขียว เหมาะกับฟังก์ชั่นที่มีความชื้นสูง เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา ซึ่ง

ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว หรือฝ้าภายนอกก็ตาม

  1. แผ่นยิปซั่มทนไฟจะมีลักษณะเป็นสีชมพู เหมาะกับการใช้งานสำหรับห้องที่มีความร้อนค่อนข้างสูง หรือการ

ป้องกันไม่ให้เกิดการลามไฟไปยังจุดอื่นๆ  (สามารถทนเพลิงไหม้ได้ 3 ชั่วโมง โดยไม่ร่วงหล่น) เหมาะกับห้องห้องคอมพิวเตอร์ หรือช่องลิฟท์ทางหนีไฟ และยังสามารถติดตั้งผนังอาคารต่าง ๆ ได้ด้วย

  1. แผ่นยิปซั่มกันร้อนติดอลูมิเนียมฟอยล์ฝ้าประเภทนี้สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 95% ติดไว้ด้านหลังของแผ่นยิปซั่ม ช่วยลดความร้อนภายในได้ดี นิยมติดตั้งบริเวณฝ้าของห้องใต้หลังคา
  2. แผ่นยิปซั่มสำหรับดัดโค้งฝ้าประเภทนี้มีความหนา 6 มม. เป็นความหนาที่ดัดโค้งในรัศมีที่แคบได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ ช่วยเลย

คุณสมบัติเด่น ฝ้าเพดาน ยิปซั่ม

  1. น้ำหนักเบา ทั้งแผ่นยิปซัมและโครงคร่าวอลูมิเนียม
  2. แผ่นยิปซั่มแข็งแต่เปราะจากของมีคม ใช้คัตเตอร์ในการตัด เจาะได้
  3. ติดตั้งง่าย และรวดเร็ว
  4. ผิวเนียนเรียบ ไร้รอยต่อ
  5. หาวัสดุ และช่างติดตั้งได้ง่าย
  6. ช่วยลดเสียง และลดความร้อนได้ด้วย

คุณสมบัติด้อย ฝ้าเพดาน ยิปซั่ม

  1. เนื้อยิปซั่มมีโอกาสเปราะหักง่าย ต้องระมัดระวังในการใช้งาน
  2. ซื้อให้เหมาะกับพื้นที่ที่ใช้งาน เพราะบางประเภททนต่อความชื้นได้ไม่ดี

2. ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์

ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์

ฝ้าเพดานไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือคนทั่วไปเรียกว่าแผ่นฝ้าสมาร์ทบอร์ด ถูกผลิตมาจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คุณสมบัติของฝ้าชนิดนี้มีความทนทานสูงขึ้น โดยแผ่นฝ้าเพดานไฟเบอร์ซีเมนต์ในท้องตลาดมีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่โดยมีขนาดต่าง ๆ ดังนี้

  1. ขนาด120×240 ซม. มีความหนาที่ 4, 6, 8, 10, 12, 16, 18, 20 มม.
  2. ขนาด60×120 ซม. มีความหนาที่ 4 และ 6 มม.
  3. ขนาด60×240 ซม. มีความหนาที่ 4 มม.
  4. ขนาด120×120 ซม. มีความหนาที่ 4 มม.

โดยมีราคาในทัองตลาดตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภท และขนาด

คุณสมบัติเด่น ฝ้าเพดาน ไฟเบอร์ซีเมนต์

  1. น้ำหนักเบา และติดตั้งได้ง่าย
  2. ช่วยให้บ้านเย็น ลดความร้อนเข้าบ้านเนื่องด้วยทำมาจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงช่วยให้บ้านประหยัดค่าไฟฟ้า
  3. ปลวกไม่กินอย่างแน่นอน เพราะทำมาจากปูนซีเมนต์ และส่วนผสมชนิดพิเศษอื่นๆ
  4. ไม่ลามไฟ ฉะนั้นจึงช่วยยืดระยะเวลาในการหนีได้
  5. มีความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกสูง
  6. สามารถนำมาดัดโค้งได้ดีในระดับหนึ่ง ช่วยเพิ่มลูกเล่นในการตกแต่งบ้านได้
  7. ทนแดด ทนน้ำ ทนฝน ได้นานนับหลายสิบปีโดยไม่มีเปื่อย
  8. สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก

คุณสมบัติด้อย ฝ้าเพดาน ไฟเบอร์ซีเมนต์

  1. เห็นรอยต่อระหว่างแผ่นชัดเจน เวลาต่อกันและนำมาฉาบเรียบอาจจะไม่เนียนเหมือนกับใช้ยิปซัมบอร์ด
  2. พื้นผิวไม่ค่อยสวยงาม ซึ่งจะทำให้ทาสีไม่ค่อยเรียบเนียนเท่าไร

3. ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไม้เทียมพลาสติกคอมโพสิต (Wood Plastic Composite)

ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไม้เทียมพลาสติกคอมโพสิต

ฝ้าเพดานไม้เทียมพลาสติกคอมโพสิต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WPC โดยวัสดุนี้มีส่วนผสมของไม้ และพลาสติกเข้าด้วยกัน โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ คือ หน้าตัดแบบกลวง และหน้าตัดแบบตัน การนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของห้อง และขนาด ถ้าแบบหน้าตัดตันก็จะมีการแอ่นตัวได้น้อยกว่านั้นเอง

นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตยังสามารถแบ่งประเภทของส่วนผสมต่างๆ ได้ดังนี้

  1. ไม้สังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของ Polyethylene (PE based) ผสมกับผงไม้
  2. ไม้สังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของ Polypropylene (PP based) ผสมกับผงไม้
  3. ไม้สังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของ Polyvinyl chlolide (PVC based) ผสมกับผงไม้

สำหรับขนาดไม้ระแนง WPC สำหรับทำฝ้า (แบบกลวง) ที่นิยมในท้องตลาดนั้นมีหน้าตัดความกว้างตั้งแต่ 2 – 12 เซนติเมตร และมีความยาวตั้งแต่ 1 – 3 เมตร ราคาในท้องตลาดตั้งแต่ 200 จนถึง 1,000 บาทต่อชิ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาด ลวดลาย และเกรดของวัสดุ

คุณสมบัติเด่น ฝ้าเพดาน ไม้เทียมพลาสติกคอมโพสิต

  1. เนื่องจากวัสดุมีส่วนผสมของพลาสติกจึงไม่มีมอด และแมลงรบกวน
  2. มีความแข็งแรงทนทานใช้งานได้นาน และมีน้ำหนักที่เบากว่าไฟเบอร์ซีเมนต์ขณะที่ขนาดเท่ากัน
  3. ทนทานต่อความชื้น (ขึ้นอยู่กับส่วนผสมระหว่างไม้กับพลาสติก)
  4. เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีสีและลวดลายเรียบร้อย จึงลดขั้นตอนในการทาสี
  5. สวยงาม สามารถตัดแต่งได้เหมือนไม้จริง
  6. สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
  7. ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ
  8. สามารถทำเป็นโครงสร้างเพราะรับน้ำหนักบางประเภทได้

คุณสมบัติด้อย ฝ้าเพดาน ไม้เทียมพลาสติกคอมโพสิต

  1. หากบริเวณที่ติดตั้งโดนแดดจัด ๆ จะทำให้เนื้อวัสดุสีซีดจางลง
  2. ไม่สามารถทาสีทับได้ หากต้องการสีที่เฉพาะเจาะจง

4. ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไวนิล

ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไวนิล

ฝ้าเพดานที่ทำจากไวนิล ซึ่งปัจจุบันเป็นวัสดุที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในท้องตลาดเรื่อย ๆ โดยผลิตมาจาก UPVC หรือ Unplasticized Polyvinyl Chloride หรือพูดง่าย ๆ คือเป็นเนื้ออะคริลิกประเภทหนึ่ง โดยฝ้าเพดานไวนิลนี้เหมาะกับทั้งอาคารในร่ม และกลางแจ้งขนาดใหญ่ เช่น ปั๊มน้ำมัน, อาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า และอาคารสาธารณะ

ซึ่งราคาจะถูกหรือแพงนี้ขึ้นอยู่กับขนาด และลวดลายของแผ่นฝ้าไวนิลเป็นสำคัญ แต่สำหรับขนาดที่คนทั่วไปนิยมนำไปใช้ จะมีขนาดตั้งแต่กว้าง 14 – 25 เซนติเมตร หนา 1 – 8 มิลลิเมตร และมีความยาวมาตรฐาน 4, 5, 6 เมตร (สามารถสั่งความยาวได้สูงสุดถึง 12 เมตร)

คุณสมบัติเด่น ฝ้าเพดาน ไวนิล

  1. ติดตั้งได้ง่ายได้ไว เนื่องจากการดีไซน์ที่นำมาติดตั้งมีการเข้าลิ้นกันในแต่ละชิ้น
  2. พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ จึงสามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน
  3. มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก
  4. สามารถกันน้ำ และยังกันปลวกได้อีกด้วย
  5. มีลายมากมายให้เลือก
  6. ดูแลรักษา เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย

คุณสมบัติด้อย ฝ้าเพดาน ไวนิล

  1. หากใช้งานไปนาน ๆ และติดตั้งในพื้นที่ที่มีแดดจัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีได้
  2. เนื้อวัสดุอ่อนตัวได้น้อยกว่าวัสดุแผ่นอื่น ๆ จึงทำงานดีไซน์โค้งได้ยากกว่า
  3. มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ

5. ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุอะลูมิเนียม

ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุอะลูมิเนียม

ฝ้าเพดานอะลูมิเนียม ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแผ่นระแนง หรืออาจจะถูกดีไซน์เป็นแบบตะแกรงก็ได้ มีคุณสมบัติดีที่ไม่ก่อให้เกิดสนิม ทนฝน หากวัสดุมีส่วนผสมของอะลูมิเนียมเกรดสูง ๆ สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้อย่างดีเลยล่ะ และยังทนความร้อนได้ดี มีมวลโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน บิดงอผิดรูปได้ยาก เหมาะกับบ้านหรือคอนโดแบบโมเดิร์น

ซึ่งจะพบเห็นการนำฝ้าเพดานอะลูมิเนียมมาใช้กับอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ อย่างเช่น สถานีขนส่ง สนามบิน อาคารสำนักงาน เพื่อซ่อนงานระบบได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้สามารถเห็นการเกิดข้อผิดพลาดของระบบ และสามารถซ่อมได้ง่าย

คุณสมบัติเด่น ฝ้าเพดาน อะลูมิเนียม

1.เป็นวัสดุที่ไม่บิดตัว มีความทนทาน ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานนับสิบ ๆ ปี

2. พื้นผิวหน้ามีความเรียบตึง ให้ความสวยงามทันสมัย และมีให้เลือกหลายสี

3. มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก และทำให้ติดตั้งได้ง่ายในเวลาที่รวดเร็ว

4. ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น และไม่เป็นสนิม

5. ดูแลรักษาทำความสะอาด และซ่อมแซมได้ง่าย

6. ทนต่อการลามไฟได้ดีในระดับหนึ่ง

คุณสมบัติด้อย ฝ้าเพดาน อะลูมิเนียม

1. สามารถรับแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง หากเสียหายผิดรูปแล้ว มักจะซ่อมแซมได้ยาก

2. ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่นิยมนำมาใช้ในอาคารบ้านเรือน

 

สถาปนิกมืออาชีพออกแบบบ้านตามสไตล์คุณ วิศวกรเซ็นต์เพื่อยื่นขออนุญาต

กด >> รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน

 

 

เลือกฝ้าเพดานอย่างไร ให้เหมาะกับแต่ละห้อง

คนส่วนใหญ่มักมองข้ามความสำคัญในการเลือกฝ้าเพดาน และเลือกใช้ฝ้าเพดานชนิดเดียวกันทั้งหมดในการติดตั้ง แต่จริงๆ แล้วฝ้าเพดานมีหลากหลายชนิดทั้ง ฝ้าเพดานแผ่นยิปซัม ฝ้าเพดานไม้ กระเบื้องแผ่นเรียบและฝ้าเพดานอลูมิเนียม

1. ห้องนอน

ฝ้าห้องนอน

ปัจจุบันมักออกแบบห้องนอนด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้วไว้ใต้หลังคาควบคู่กับฝ้าเพดาน แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นฝ้าเพดานที่มีฉนวนแบบโฟมติดตั้งมาด้วยจะป้องกันความร้อนได้มากกว่า แถมยังช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศทำให้ประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย

ห้องนอนเป็นห้องที่ต้องการความเย็น และ ความสงบ โดยสามารถใช้เป็นแผ่นฝ้ายิปซั่มป้องกันความร้อน มีคุณสมบัติป้องกันการส่งผ่านความร้อนโดยบุแผ่นสะท้อนรังสีความร้อนไว้ด้านหลัง และสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 90%

2. ห้องครัว

เพดานห้องครัว

ควรเลือกฝ้าเพดานทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้สิ่งที่ควรใส่ใจอีกเรื่องหนึ่งคือ กันชื้น การออกแบบห้องครัวที่ดีควรคำนึงถึงความชื้นจากไอน้ำและควันที่มาจากการปรุงอาหารและสภาพอากาศ เพราะความชื้นเป็นปัจจัยทำให้เกิดเชื้อราและไรฝุ่นต่างๆ ดังนั้นควรเลือกใช้แผ่นฝ้าแบบเรียบไม่เก็บฝุ่น ทนชื้นได้ดีควบคู่กับแผ่นฝ้ากันไฟพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย ในอนาคต สามารถเลือกใช้ฝ้าเพดานแบบเดียวกันกับที่ใช้ในห้องน้ำก็ได้

ฝ้าเพดานที่เหมาะสมกับห้องนี้จึงควรทนทานต่อความร้อน ไม่อมความชื้น และมีพื้นผิวที่ทำความสะอาดได้ง่าย โดยเฉพาะเหล่าคราบน้ำมันต่างๆ ที่ระเหยไปตามควัน นอกจากนี้ยังต้องช่วยป้องกันคราบเชื้อราและฝุ่นได้ดีอีกด้วย จึงเหมาะสมกับฝ้ายิปซั่มชนิดพิเศษแบบเคลือบพื้นผิวและฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์

3. ห้องน้ำ

เพดานห้องน้ำ

ห้องน้ำเป็นห้องที่มีความชื้นภายในห้องน้ำสูง การออกแบบห้องน้ำควรเน้นเรื่องการกันชื้นและการรั่วซึมของน้ำเพราะเป็นบริเวณที่มีความชื้นสูงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ซึ่งแผ่นฝ้ายิปซั่มเอง ก็มีรุ่นแบบทนความชื้น จึงเหมาะสมกับฝ้ายิปซั่มชนิดพิเศษแบบเคลือบสารที่พื้นผิวและฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยเพิ่มคุณสมบัติทนความชื้นในเนื้อของยิปซั่ม ที่มีการผสมสารป้องกันการดูดซึมความชื้น ทำให้ดูดซึมน้ำไม่เกิน 5% ทั้งนี้หากจะใช้โครงคร่าวในพื้นที่ส่วนนี้ ควรจะเลือกใช้โครงคร่าวที่ชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการเกิดสนิม

4. ห้องนั่งเล่น/ห้องรับแขก

เพดานห้องนั่งเล่น

สำหรับบ้านชั้นเดียว ควรติดฝ้าเพดานที่มีฉนวนกันความร้อนเพราะได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง อาจนำฝ้าเพดานสำหรับกันเสียงมาติดตั้งกับผนังเพื่อซับเสียงไม่ให้ออกไปรบกวนบ้านข้างเคียง ห้องรับแขกเป็นห้องที่ต้องการความสวยงามเพราะเป็นพื้นที่ที่ ทุกคนที่มาภายในบ้านจะต้องผ่าน การเลือกใช้ฝ้าเพดาน จึงจะคำนึงถึงความสวยงามโดยแนะนำให้ใช้ฝ้าเพดาน แบบฉาบเรียบ เพราะจะทำให้ ฝ้าเพดานดูมีความเรียบร้อยและสวยงาม โดยมีเคล็ดลับการตกแต่งง่ายๆ อย่างเทคนิคฝ้าหลุม หรือการเล่นระดับของฝ้า เพื่อให้รับกับการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  นิยมเลือกวัสดุฝ้าเป็น  ฝ้ายิปซั่ม, ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ และฝ้าเพดานไม้

อ่านเพิ่มเติม ฝ้าเพดาน มีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี

 

วิธีการดูแลรักษาฝ้าเพดานบ้าน

ขั้นตอนวิธีการทำความสะอาดฝ้าเพดานสามารถทำได้ดังนี้

1. จัดการของภายในห้อง

ควรเริ่มจากการเก็บสิ่งที่อยู่ภายใต้ฝ้าเพดานที่จะทำความสะอาดก่อน หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ของชิ้นใหญ่ควรมีผ้าคลุมให้เรียบร้อย ก่อนทำความสะอาดฝ้าเพดาน

2. เตรียมอุปกรณ์

2.1 เครื่องดูดฝุ่น หรือไม้กวาด

2.2 ไม้ที่มีความยาวสูงถึงฝ้าเพดาน

2.3 ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ

2.4 น้ำส้มสายชู

2.5 หน้ากากอนามัย

2.6 แว่นตาหรือหน้ากากป้องกันดวงตา

3. กำจัดฝุ่นเบื้องต้น

ง่าย ๆ เลยก็คือเราสามารถใช้ไม้กวาดหยากไย่มาทำความสะอาด หรือสามารถใช้เครื่องดูดฝุ่นได้โดยเฉพาะตามมุมห้องจะมีฝุ่นและหยากไย่มากเป็นพิเศษ

4. เช็ดทำความสะอาด

ถ้าสังเกตได้ว่าเพดานมีเชื้อราขึ้น ใช้วิธีโดยการนำผ้าชุบน้ำส้มสายชุบ แล้วเช็ดบริเวณที่มีเชื้อราขึ้น เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถกำจัดเชื้อราได้

5. ทำความสะอาดส่วนอื่น ๆ

นอกจากฝ้าเพดานแล้ว ส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝ้าเพดานก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน เช่น พัดลมระบายอากาศที่ติดกับฝ้า เพราะจุดนี้มีการพัดพาอากาศมากเป็นพิเศษ จึงมีฝุ่นในบริเวณนี้จำนวนมากสามารถกำจัดฝุ่นเหล่านี้ได้ด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่น ซึ่งอาจจะต่อยาวมากขึ้น และใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด

ฝ้าเพดานนั้นมีประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งด้านความสวยงาม การตกแต่ง การบดบังสายตาจากสิ่งที่ไม่เรียบร้อยต่าง ๆ อย่างท่อน้ำ หรือสายไฟตามแนวเพดาน รวมไปถึงการช่วยลดเสียงจากห้องด้านบนได้อีกด้วย ดังนั้น เราควรจะใส่ใจกับเรื่องของเพดานห้องของเราด้วย ทั้งเรื่องของวัสดุที่ควรใช้ รวมไปถึงวิธีการทำความสะอาดฝ้าเพดานที่ถูกต้องด้วย เพื่อที่ฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญภายในห้องของเรา จะได้ไม่ชำรุดและอยู่กับเราไปได้นานๆ

งานบริการยอดนิยมจาก บริษัทTAMPBUILDER ออกแบบ เขียนแบบ ถอดแบบ รับเหมาก่อสร้างบ้านและอาคาร ครบวงจร

หาผู้รับเหมา หาช่างก่อสร้าง รับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน รับทำ BOQ ถอดแบบประมาณราคา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!